mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรมชุดกรองไฟฟ้าสถิต ดักจับฝุ่น PM2.5 จากไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล ลดปัญหามลพิษทางอากาศ

นวัตกรรมชุดกรองไฟฟ้าสถิต ดักจับฝุ่น PM2.5 จากไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล ลดปัญหามลพิษทางอากาศ

0

              สวทช. ต่อยอดนวัตกรรมเครื่องกรองฝุ่นละอองในอากาศ สู่การพัฒนาชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยหลักการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต ดักจับฝุ่นละออง PM2.5 ในไอเสียรถยนต์ก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม หวังช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศ ลดปัญหาสุขภาพ พร้อมจับมือเอกชนเตรียมพัฒนาใช้งานเชิงพาณิชย์

               ดร.พรอนงค์ พงษ์ไพบูลย์ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 บ่อยครั้งในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 คือไอเสียจากรถยนต์ดีเซล โดยก่อนหน้านี้ทีมวิจัยได้พัฒนาเครื่องกรองฝุ่นละอองและกำจัดเชื้อโรคในอากาศ ทำให้มีองค์ความรู้เรื่องการกรองฝุ่นละออง PM2.5 ด้วยเทคโนโลยีการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิตอยู่แล้ว จึงคิดนำเทคโนโลยีนี้มาปรับใช้กับการกรองฝุ่นละอองจากเครื่องยนต์ดีเซล เพื่อช่วยกรองไอเสียจากเครื่องยนต์และลดฝุ่นละอองที่จะถูกปล่อยออกมาสู่อากาศ

                ไอเสียที่ออกมาจากเครื่องยนต์ดีเซลโดยปกติจะมีความเร็วสูงประมาณ 30 เมตรต่อวินาที ซึ่งหากผ่านเข้าชุดกรองแบบไฟฟ้าสถิต จะทำให้ประสิทธิภาพการกรองค่อนข้างต่ำมาก กรองได้ประมาณร้อยละ 10-20 เท่านั้น เราจึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพการกรอง โดยลดความเร็วของไอเสียที่จะเข้าสู่ชุดกรองด้วยการเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของลมที่จะผ่านเข้ามา และทำให้สามารถกระจายได้ทั่วทั้งพื้นที่ของชุดกรอง ทีมวิจัยจึงออกแบบและพัฒนาชุดแผ่นกระจายลมซึ่งมีช่องเปิดเพื่อให้ลมหรือไอเสียค่อยๆ ทยอยผ่านช่องเปิดนี้เข้าไปยังส่วนต่างๆ ของชุดกรอง และจากการทดสอบแผ่นกระจายลมที่มีช่องเปิดรูปแบบต่างๆ พบว่าแผ่นกระจายลมที่มีช่องเปิดเป็นรูปวงกลมเหมาะสมมากที่สุด เพราะทำให้ลมกระจายได้ทั่วถึงและให้ประสิทธิภาพการกรองที่ดี

ดร.พรอนงค์ พงษ์ไพบูลย์ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สวทช.

              “ชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย ส่วนต่อท่อไอเสีย แผ่นกระจายลม ลวดปล่อยประจุ แผ่นดักจับฝุ่น และชุดควบคุม เมื่อนำไปติดตั้งเข้ากับท่อไอเสียรถยนต์จะสามารถช่วยกรองฝุ่นละอองในไอเสียรถยนต์ได้ โดยไอเสียจะผ่านเข้าสู่ชุดกรองที่มีแผ่นกระจายลมช่วยลดความเร็วของไอเสียที่เข้ามาและกระจายออกให้ทั่วในชุดกรอง ภายในมีลวดปล่อยประจุทำหน้าที่ปล่อยประจุให้ไปจับกับฝุ่นละออง และแผ่นดักจับฝุ่นทำหน้าที่ดักจับฝุ่นละอองที่มีประจุเหล่านี้ไว้ด้วยขั้วที่ตรงข้ามกัน จึงช่วยไม่ให้ฝุ่นละออง PM2.5 ผ่านออกมาสู่ภายนอกได้”

              ดร.พรอนงค์ กล่าวว่า จากการทดสอบประสิทธิภาพของชุดกรองไอเสียกับรถกระบะเครื่องยนต์ดีเซลเมื่อเร่งเครื่องสูงสุดพบว่าไอเสียที่ออกมาโดยไม่ผ่านชุดกรองมีค่าควันดำสูงถึงร้อยละ 99 ขณะที่ไอเสียที่ผ่านชุดกรองออกมานั้นมีค่าควันดำลดลงอยู่ที่ประมาณร้อยละ 27 เท่านั้น ซึ่งไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานใหม่ที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดที่ร้อยละ 30

            “นอกจากนี้ ชุดกรองไอเสียที่พัฒนาขึ้นยังมีอายุการใช้งานยาวนาน เพราะวัสดุที่ใช้เป็นสแตนเลสทั้งหมด จึงมีความทนทานสูงและไม่เป็นสนิม สามารถฉีดล้างทำความสะอาดได้ง่าย มีชุดควบคุมที่ตรวจสอบความชื้น ไอน้ำ ที่อยู่ภายใน ถ้าล้างแล้วภายในชุดกรองยังมีไอน้ำหรือความชื้นอยู่ ระบบจะยังไม่ทำงาน จนกว่าจะแห้งสนิท”

              ปัจจุบัน ศูนย์ NSD สวทช. มีความร่วมมือกับ บริษัทพนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ในการทดสอบชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิตที่พัฒนาขึ้น กับการใช้งานในรถแต่ละรุ่น โดยมุ่งเป้ากรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลของรถขนาดใหญ่ เช่น รถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะ เพื่อลดการปล่อยมลพิษสู่อากาศ

             “หากเราลดฝุ่นละออง PM2.5 ได้ตั้งแต่ต้นทางอย่างไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซล ก็จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ในอากาศ ลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม ลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคทางเดินหายใจ และช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น” นักวิจัยกล่าว

ShareTweetShare
Previous Post

กรมประมง ร่วมกับ สถาบันเอเชียศึกษา ฉีดฮอร์โมนพ่อแม่พันธุ์ปลาทูกระตุ้นการวางไข่ สำเร็จครั้งแรกของโลก

Next Post

ม.วลัยลักษณ์ ผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจร สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

4 weeks ago
15
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

1 month ago
27
แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

2 months ago
15
วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล

2 months ago
25
Load More
Next Post
ม.วลัยลักษณ์ ผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจร สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน

ม.วลัยลักษณ์ ผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจร สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน

นวัตกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยเลือดเพียงหยดเดียว ทราบผลใน 90 วินาที

นวัตกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยเลือดเพียงหยดเดียว ทราบผลใน 90 วินาที

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    49 shares
    Share 20 Tweet 12
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    44 shares
    Share 18 Tweet 11
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    44 shares
    Share 18 Tweet 11

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
8

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
10

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
15

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
10

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

February 21, 2023
10
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.