mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ม.วลัยลักษณ์ ผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจร สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน

ม.วลัยลักษณ์ ผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจร สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน

0

              ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ประสบความสำเร็จในการผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกครบวงจรเป็นแห่งแรกของภาคใต้ตอนบน แก้ปัญหาความขาดแคลนในการใช้รักษาผู้ป่วยโรคตาและโรคอื่นๆ

               ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากโครงการ “ผลิตแผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์” โดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ร่วมกับศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ ม.วลัยลักษณ์ โดยเยื่อหุ้มรกที่ผลิตมีคุณสมบัติช่วยส่งเสริมเนื้อเยื่อบุผิว ยืดอายุเซลล์ต้นกำเนิด ยับยั้งการอักเสบ และไม่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ถือเป็นเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์แบบสำหรับการปลูกถ่าย ใช้ในการรักษาโรคตาบางชนิด และสามารถใช้ปิดแผลไฟไหม้ในบริเวณอื่นนอกเหนือจากตาได้อีกด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า อุดมเวช อาจารย์ประจำสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และจักษุแพทย์ ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า “การใช้เยื่อหุ้มรกเพื่อการรักษาทางการแพทย์อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ต้องอาศัยความพร้อมของอุปกรณ์ และสารเคมีที่มีราคาสูง ผนวกกับต้องมีความพร้อมของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ปัจจุบันยังพบปัญหาการขาดแคลนเยื่อหุ้มรกบ่อยครั้ง เนื่องจากหน่วยงานที่มีความพร้อมในการผลิตเยื่อหุ้มรกยังมีจำนวนน้อย รวมถึงการขนส่งทำได้ยาก และต้องจัดเก็บภายใต้ความเย็น -80 องศาเซลเซียสตลอดเวลา”

              อย่างไรก็ตามถือเป็นความโชคดีของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคใต้ตอนบน ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เมื่อมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน จึงสามารถผลิตและจัดเก็บเยื่อหุ้มรกอย่างครบวงจรได้ นับเป็นแห่งที่ 2 ในภาคใต้ ที่สามารถดำเนินการได้ต่อจากคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาวะความขาดแคลนเยื่อหุ้มรกและช่วยพัฒนามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยของ จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่ภาคใต้ตอนบน และทั่วประเทศ โดยได้รับการติดต่อขอรับบริการไกลถึงจังหวัดมหาสารคามแล้ว

              “ความพิเศษของเยื่อหุ้มรก คือ ร่างกายของผู้ป่วยจะไม่คิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัด อีกทั้งยังมีคุณสมบัติหลายประการช่วยให้แผลหายดีขึ้น แพทย์จึงสามารถใช้เป็นทางเลือกแทนการนำเนื้อเยื่อของผู้ป่วยออกจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ในแง่ของการรักษาโรคตา โดยการผ่าตัดที่ใช้บ่อยสุดคือ ต้อเนื้อ ภาวะแผลไฟไหม้หรือสารเคมีเข้าตา และภาวะอื่นๆ ที่มีการสูญเสียเยื่อบุตา แผลกระจกตาที่เสี่ยงต่อการทะลุ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการฯ ต้องขอขอบคุณ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย รพ.จุฬาลงกรณ์, ภาควิชาจักษุวิทยา ม.สงขลานคริทร์, และหน่วยเภสัชกรรม รพ.สงขลานครินทร์ ที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จในครั้งนี้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ลั่นหล้า กล่าว

               สำหรับประชาชนที่สนใจ และต้องการคำแนะนำ โครงการผลิตแผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์ ได้เปิดรับสั่งจอง “แผ่นเยื่อหุ้มรกสำหรับการผ่าตัดทางการแพทย์” แล้วที่ชั้น 3 อาคารวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันและเวลาราชการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-7567-2587 เว็บไซต์: สถาบันส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://riie.wu.ac.th/?p=20436 หรือ เว็บไซต์: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://www.wu.ac.th/th

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรมชุดกรองไฟฟ้าสถิต ดักจับฝุ่น PM2.5 จากไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล ลดปัญหามลพิษทางอากาศ

Next Post

นวัตกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยเลือดเพียงหยดเดียว ทราบผลใน 90 วินาที

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
80
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
นวัตกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยเลือดเพียงหยดเดียว ทราบผลใน 90 วินาที

นวัตกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยเลือดเพียงหยดเดียว ทราบผลใน 90 วินาที

นวัตกรรมเครื่องผลิตปุ๋ยหมักลดขยะอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสามพราน

นวัตกรรมเครื่องผลิตปุ๋ยหมักลดขยะอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสามพราน

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
98

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.