mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มรภ.สวนสุนันทา คิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรดปัตตาเวียและบรรจุภัณฑ์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร

มรภ.สวนสุนันทา คิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรดปัตตาเวียและบรรจุภัณฑ์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร

0

               สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ( วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในการผลิตคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรดปัตตาเวียและบรรจุภัณฑ์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาสินค้าล้นตลาดและราคาตกต่ำในฤดูการเก็บผลผลิตโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่การปลูกสับปะรดแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศ นอกจากนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้ผู้ค้าสับปะรดต่างจังหวัดไม่เข้ามารับซื้อสับปะรดในจังหวัดระยอง ทำให้ปริมาณสับปะรดเกินความต้องการของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ อีกทั้งโรงงานยังประสบปัญหาการส่งออกต่างประเทศ

                จึงได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารฟังก์ชันมาประยุกต์ใช้ เสริมศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านที่มีอยู่เดิม พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันคณะผู้วิจัยยังมีแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อต่อยอดให้เกิดประโยชน์ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นแนวทางหนึ่งในการลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการทำการเกษตรของชุมชน โดยการนำใบสับปะรดมาผลิตเป็นกระดาษ ภาชนะ และบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถนำไปสร้างรายได้ เพื่อเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG

              ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่ากลไกสำคัญที่ช่วยพยุงราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำคือการนำมาทำผลิตภัณฑ์แปรรูปโดยใช้องค์ความรู้ด้านคุณค่าทางอาหารมาช่วยเสริมศักยภาพการสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูป ซึ่งสอดคล้องกับนวัตกรรมของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ได้เล็งเห็นคุณค่าทางโภชนาการของสับปะรดปัตตาเวีย ในจังหวัดระยอง มาพัฒนาเป็นสินค้าแปรรูปสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยการสร้างศูนย์การเรียนรู้ขึ้นในชุมชนมีการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาด การสร้างตราสินค้า การทำตลาดออนไลน์ เพื่อให้ธุรกิจชุมชนสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง ยกระดับรายได้ครัวเรือน ให้เศรษฐกิจของชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                ดร.พลอยทราย โอฮาม่า อาจารย์จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่าได้ร่วมกับ ผศ.ดร.จิตรลดา ชูมี ดร.เสาวณีย์ คำพันธ์ และผศ.ดร.รินรดา พัฒนใหญ่ยิ่ง ในการคิดค้นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปสับปะรดปัตตาเวีย และบรรจุภัณฑ์จากใบสับปะรดเหลือทิ้ง โดยผลจากการวิจัยพบว่าสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย จัดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น สารประกอบฟีนอลิกและเบต้าแคโรทีน ซึ่งจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันส่วนเกินและคอเลสเตอรอล จึงได้นำองค์ความรู้ทางเทคโนโลยี และคุณค่าทางอาหารมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์แปรรูป อาทิ ไซรัปสับปะรด คีเฟอร์น้ำสับปะรด

              ขณะเดียวกันเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าตามแนวคิด zero-waste หรือ “ของเสียเหลือศูนย์” ทีมวิจัยยังได้นำวัตถุดิบที่เหลือจากกระบวนการทำไซรัป มาต่อยอดแปรรูปเป็นแยมสับปะรด และคุกกี้ไฟเบอร์สับปะรด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับ food waste โดยเฉพาะแกนสับปะรดที่ปกติชาวบ้านจะทิ้งไปในกระบวนการแปรรูปนี้มีเอนไซม์โบรมีเลน ซึ่งมีสมบัติช่วยย่อยอาหาร เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ซึ่งผลิตภัณฑ์ชุมชนเหล่านี้ใช้วัตถุดิบธรรมชาติล้วน และไม่ใส่วัตถุกันเสีย ​นอกจากนี้ทีมวิจัยยังนำน้ำสับปะรดมาพัฒนาเป็นเครื่องดื่ม “คอมบูชา” ที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ มีส่วนช่วยรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย เป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมของผู้บริโภคปัจจุบัน สร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน

              สำหรับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ได้แก่ เปลือกมะพร้าว ชานอ้อย ฟางข้าว ทางทีมวิจัยได้มีการนำองค์ความรู้ทางเทคโนโลยี มาพัฒนาประยุกต์ผลิตกระดาษจากใยสับปะรด ซึ่งพบว่ากระดาษสับปะรดมีคุณสมบัติพิเศษคือมีความนุ่มเหนียว และทำได้บางกว่ากระดาษจากใยพืชชนิดอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานคราฟต์ และงานหัตถกรรมได้ดี และเมื่อนำไปอัดด้วยความร้อนจะได้เป็นภาชนะและบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

               ส่วนแนวทางในการขยายผลต่อยอดซึ่งขณะนี้พื้นที่เป้าหมายในจังหวัดระยองที่กลุ่มเกษตรกรได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมสินค้าชุมชนจากผลิตภัณฑ์สับปะรดแปรรูปนี้คือ กลุ่มเกษตรกรทำไร่สับปะรดพนานิคม อำเภอนิคมพัฒนา กลุ่มเกษตรกรปลูกสับปะรดทางเกวียนอำเภอแกลง และวิสาหกิจชุมชนไร่บ้านอ้อ อำเภอปลวกแดง ซึ่งนอกจากจะช่วยยกฐานะเศรษฐกิจฐานรากแล้ว ยังมีการพัฒนาในเชิงพาณิชย์โดยร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดระยอง และสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง ที่จะนำแผนงาน องค์ความรู้ ผลสำเร็จของงานไปใช้ประโยชน์ในการสร้างนโยบายในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตทางการเกษตรด้วยนวัตกรรม และการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรตามนโยบาย BCG ก่อให้เกิดการลงทุน ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน และการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ShareTweetShare
Previous Post

“KUBOTA FARM FEST 2022 ฟาร์มเพาะสุข” โชว์นวัตกรรมเพื่อการเกษตรแห่งอนาคต

Next Post

ม.มหิดล ค้นพบยาใหม่ยับยั้ง “เชื้อวัณโรคสายพันธุ์ L1.2”

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

“แหนแดง” ตัวช่วยลดต้นทุน ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกระดับการผลิตข้าวเหนียวลุ่มน้ำโขง
นวัตกรรมด้านเกษตร

“แหนแดง” ตัวช่วยลดต้นทุน ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกระดับการผลิตข้าวเหนียวลุ่มน้ำโขง

2 days ago
3
ทรู ดิจิทัล ลงทุน HiveGround พร้อมส่ง “ไทเกอร์โดรน” เจาะกลุ่มเกษตรกรไทยเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรยุคดิจิทัล
นวัตกรรมด้านเกษตร

ทรู ดิจิทัล ลงทุน HiveGround พร้อมส่ง “ไทเกอร์โดรน” เจาะกลุ่มเกษตรกรไทยเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรยุคดิจิทัล

4 days ago
4
นวัตกรรมเครื่องสีเปลือกแมคคาเดเมีย  เพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับรายได้ชุมชน
นวัตกรรมด้านเกษตร

นวัตกรรมเครื่องสีเปลือกแมคคาเดเมีย เพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับรายได้ชุมชน

1 month ago
9
“Smart Hive” นวัตกรรมแอบฟังผึ้งคุยกัน แจ้งเตือนเจ้าของฟาร์ม
นวัตกรรมด้านเกษตร

“Smart Hive” นวัตกรรมแอบฟังผึ้งคุยกัน แจ้งเตือนเจ้าของฟาร์ม

1 month ago
12
Load More
Next Post
ม.มหิดล ค้นพบยาใหม่ยับยั้ง “เชื้อวัณโรคสายพันธุ์ L1.2”

ม.มหิดล ค้นพบยาใหม่ยับยั้ง “เชื้อวัณโรคสายพันธุ์ L1.2”

วช. ยกระดับ “หมามุ่ย” สกัดเป็นเซรั่มบำรุงผม ช่วยให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมหงอกก่อนวัย

วช. ยกระดับ “หมามุ่ย” สกัดเป็นเซรั่มบำรุงผม ช่วยให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมหงอกก่อนวัย

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    52 shares
    Share 21 Tweet 13
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    50 shares
    Share 20 Tweet 13
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    42 shares
    Share 17 Tweet 11
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    39 shares
    Share 16 Tweet 10
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    38 shares
    Share 15 Tweet 10

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

นักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลอง 2 ไอเดียเยาวชนไทยบนสถานีอวกาศนานาชาติ

January 27, 2023
4

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

January 27, 2023
7

นวัตกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพ “ซอสซ่อนผัก” กินพอเหมาะช่วยลดเสี่ยงสารก่อมะเร็ง

January 27, 2023
7

“แหนแดง” ตัวช่วยลดต้นทุน ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกระดับการผลิตข้าวเหนียวลุ่มน้ำโขง

January 26, 2023
3

อว. มอบนวัตกรรมฝีมือนักวิจัยไทย “เท้าเทียมไดนามิกส์” เป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้พิการฟรี

January 26, 2023
4
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.