mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
ม.มหิดล พัฒนาเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์จากวัสดุเหลือทิ้ง สู้วิกฤติ COVID-19 และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ม.มหิดล พัฒนาเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์จากวัสดุเหลือทิ้ง สู้วิกฤติ COVID-19 และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

0

             ท่ามกลางวิกฤติโรคระบาด ทำให้ประชาชนต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อ ซึ่งปัญหาเรื้อรังของทุกชุมชนในช่วงหน้าฝน หนีไม่พ้นเรื่องการกำจัดขยะอินทรีย์

              อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (Center and Technology Development for Environmental Innovation – REi) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ค้นพบทางออกสำหรับปัญหาการกำจัดขยะอินทรีย์ของครัวเรือน โดยได้ประดิษฐ์ “เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม” ได้กล่าวถึงธรรมชาติของการย่อยสลายขยะอินทรีย์ มีความแตกต่างกันตามลักษณะของขยะแต่ละประเภท ซึ่งปัญหาขยะ ณ บางจุดทิ้งส่งกลิ่น เนื่องจากเกิดการตกค้าง รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงขาดความรู้เรื่องการจัดการกับขยะอย่างเหมาะสม

              ทางเลือกสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ จากการรู้วิธีการจัดการกับขยะอินทรีย์ คือ “การตัดตอน” ปัญหาการตกค้างของขยะของอินทรีย์ ด้วยเครื่องกำจัดขยะภายในครัวเรือน จาก “วัสดุเหลือทิ้ง” ที่นอกจากจะเป็นการนำทรัพยากรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังสามารถช่วยในการย่อยสลายภายในระยะเวลาก่อนที่ขยะจะแปรสภาพส่งกลิ่น

              “วัสดุเหลือทิ้ง” ที่ อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ เลือกนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน ได้แก่ ถังแก๊สรถยนต์ และถังหุงต้ม ที่สามารถหาได้ทั่วไปตามครัวเรือน และร้านขายของเก่า โดยได้นำมาติดอุปกรณ์ที่จะสามารถเติมออกซิเจนให้กับขยะ เพื่อลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ จากการย่อยสลายของเชื้อจุลินทรีย์ในขยะ รวมทั้งได้ติดตั้งเครื่องตั้งเวลา (Timer) เพื่อให้กระบวนการย่อยสลายเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องตามเวลาที่กำหนด

               ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการกำจัดขยะอินทรีย์ คือ วัสดุที่จะช่วยดูดซับความชื้นจากขยะ เพื่อให้กระบวนการย่อยสลายตามที่ผู้ประดิษฐ์ได้ออกแบบไว้เป็นไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะสามารถใช้ “ขี้เลื่อย” ที่ผ่านการทดลองแล้วพบว่าได้ผลดีที่สุดแล้ว ยังสามารถใช้ “ก้อนเชื้อเห็ด” ที่หมดอายุแล้ว หรือจะใช้ “ขุยมะพร้าว” ผสมกับ “ทางมะพร้าวสับ” ตลอดจนใบไม้แห้งบดละเอียด ในอัตราส่วนขยะ 1 ส่วน ต่อวัสดุดูดซับ 1 ส่วน ก็ย่อมสามารถนำมาใช้ได้

              อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ อธิบายว่า ผลงานที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้เป็นเครื่องช่วยในการย่อยสลายขยะ ไม่ใช่เครื่องทำปุ๋ย โดยสามารถใช้ได้กับขยะอินทรีย์ในลักษณะที่เป็นกาก ทั้งดิบและสุก ไม่ว่าจะเป็นเศษผัก หรือผลไม้ หรือก้างปลา ซึ่งหากมาในลักษณะที่เป็นน้ำ ควรมีการกรองเอาน้ำออกก่อน หรือถ้าเป็นขยะอินทรีย์ชิ้นใหญ่ เช่นกระดูกสัตว์อื่นๆ ก็สามารถใช้ได้หากสามารถทำให้เป็นชิ้นเล็กก่อน ซึ่งกระบวนการย่อยสลายอยู่ที่ภายใน 48 ชั่วโมง โดยผู้ใช้สามารถเติมขยะลงในเครื่องได้ โดยขี้เลื่อย หรือวัสดุดูดซับความชื้น สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะถึงเวลาจะต้องเปลี่ยนถ่ายภายในถัง จากการเสื่อมสลายของวัสดุ

              จุดมุ่งหมายสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรม คือ การส่งเสริมแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ให้กับนักศึกษา ซึ่งจะได้เรียนรู้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ โดยไม่ได้มุ่งหวังที่ผลกำไรเป็นตัวตั้ง

               อาจารย์ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ มองว่าในฐานะที่ตนเป็นอาจารย์ที่สอนด้านสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดจากเพียงการสอน แต่เกิดจากการให้นักศึกษาได้ลงมือทำด้วยตัวเอง เพื่อจะได้สามารถนำไปถ่ายทอด และขยายผลต่อไปได้ ซึ่งการจัดการกับขยะที่ยั่งยืนจะต้องจัดการที่ต้นทาง โดยที่ผ่านมาทีมวิจัยได้ออกแบบขนาดถังของเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยได้มีการทดลองนำไปใช้อย่างเห็นผลแล้วในชุมชน ตลอดจนตามโรงเรียนต่างๆ และได้พิสูจน์แล้วถึงประโยชน์ที่ตอบโจทย์สังคม จากการสามารถคว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น รางวัลระดับดี สาขาสังคมวิทยา ที่ผ่านมา

               ก้าวต่อไป ทีมวิจัยเตรียมขยายผลเพื่อใช้จัดการกับอาหารภายในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารเหลวสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มักพบอุปสรรคในการนำไปกำจัด โดยอาจนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการกับอาหารเหลวสำหรับผู้ป่วยติดเตียงตามครัวเรือนได้ต่อไปอีกด้วย

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรมตรวจเชื้อโรคในอาหาร ผลิตภัณฑ์คุมน้ำหนักโปรตีนจากพืชและโปรไบโอติก

Next Post

สุดยอดนวัตกรรมจาก ม.รังสิต เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

10 months ago
53
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

10 months ago
71
แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

10 months ago
34
วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล

11 months ago
38
Load More
Next Post
สุดยอดนวัตกรรมจาก ม.รังสิต เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด

สุดยอดนวัตกรรมจาก ม.รังสิต เครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด

ม.มหิดล วิจัยผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน

ม.มหิดล วิจัยผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    98 shares
    Share 39 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    78 shares
    Share 31 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    72 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    71 shares
    Share 28 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
195

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
78

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
53

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
47
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.