mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
ม.มหิดล ค้นพบสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชผักสวนครัว มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารในระดับหลอดทดลอง

ม.มหิดล ค้นพบสารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชผักสวนครัว มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารในระดับหลอดทดลอง

0

             โรคมะเร็ง คือ หนึ่งในโรคซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มาอย่างยาวนานเพื่อการค้นพบสู่ทางรอดของมวลมนุษยชาติ แม้จะอยู่แสนไกลเพียงใด ก็จะไปให้ถึง หากมียาดีที่รักษาโรคร้ายได้รออยู่ แต่ยาดีที่ว่านั้น อาจไม่ต้องไปไหนไกล หากพบได้จากแค่ใน “สวนหลังบ้าน”

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วงศ์วรุตม์ บุญญานุโกมล ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงผลงานวิจัยซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ระดับนานาชาติ “Medicina” เมื่อเร็วๆ นี้ โดยพบว่าน้ำมันหอมระเหยที่สกัดได้จากพืชผักสวนครัว “แมงลัก” และ “กะเพรา” มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารในระดับหลอดทดลอง (In vitro)

             ด้วยองค์ความรู้ทางด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์พบว่า เชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) แผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ส่วนต้น (Peptic Ulcer Disease) รวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer) ซึ่งถือว่าเป็นมะเร็งที่ค่อนข้างอันตราย และมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดีนัก ทีมวิจัยได้ทดลองสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชผักสวนครัวที่หาได้โดยทั่วไป อาทิ แมงลัก กะเพรา และ โหระพา พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารในห้องปฏิบัติการได้ตามลำดับ ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

             โครงการวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์นักวิจัยหลายภาคส่วน ได้แก่ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเคมีวิเคราะห์ (อาจารย์ ดร.พรพรรณ ประพัฒน์พงศ์) จากหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย การใช้เครื่อง GC-MS (Gas Chromatography – Mass Spectrometry) เพื่อวิเคราะห์หาสารประกอบที่สำคัญในน้ำมันหอมระเหยจากกะเพรา และแมงลัก

             อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโปรติโอมิกส์ (รองศาสตราจารย์ ดร.อรภัค เรี่ยมทอง) จาก คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ช่วยศึกษาทดลองเกี่ยวกับการแสดงออกของโปรตีนในเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร โดยการใช้เครื่องมือ LC-MS/MS (Liquid Chromatography – Tandem Mass Spectrometry) เพื่อวิเคราะห์กลไกระดับโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารในระดับหลอดทดลอง

              และที่สำคัญโครงการวิจัยนี้ยังได้รับความร่วมมือจากทีมนักวิจัยสาธารณรัฐเกาหลี (College of Medicine, Gyeongsang National University) ซึ่งเป็นคู่ความร่วมมือทางด้านการวิจัยมาอย่างยาวนาน

            นอกจากการค้นพบฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชผักสวนครัวทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวแล้ว ผู้วิจัยได้มีการศึกษาทดลองวิจัยน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรไทยชนิดอื่นๆ อีก เช่น ไพล (Zingiber cassumunar Roxb) ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยในระดับหลอดทดลองเพื่อทดสอบฤทธิ์น้ำมันหอมระเหยจากไพลในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Acinetobacter baumannii (A. baumannii) สายพันธุ์ดื้อยาปฏิชีวนะเกือบทุกชนิด (Extensively Drug Resistant / XDR) โดยพบว่าน้ำมันหอมระเหยจากไพลแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้ และที่น่าสนใจคือน้ำมันหอมระเหยจากไพลแสดงคุณสมบัติเสริมฤทธิ์การทำงานร่วมกับยาปฏิชีวนะในระดับหลอดทดลอง โดยงานวิจัยเรื่องนี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติแล้วเช่นกัน (Journal of Infection and Public Health)

            จากงานวิจัยที่ได้กล่าวมานั้นเป็นการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการหรือระดับหลอดทดลอง ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการนำไปศึกษาต่อยอดในอนาคต เพื่อการวิจัยหาสารสำคัญต่างๆ ทางด้านยาสู่การใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์อย่างกว้างขวางต่อไป

            สุดท้ายนี้ขอแนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหลักสูตรที่เปิดใหม่ล่าสุด ของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกแล้วในปีการศึกษา 2565 โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางห้องปฏิบัติการทางด้านโรคติดเชื้อ พิษวิทยา รวมถึงชีววิทยาระดับโมเลกุล สำหรับการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ของการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจ สำหรับการศึกษาค้นคว้าหาแนวทางเพื่อการตรวจวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรคได้อย่างตรงจุดในแต่ละบุคคลต่อไป

             ติดตามรายละเอียดของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ www.am.mahidol.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

ม.มหิดลภูมิใจ รับหน้าที่ “ด่านหน้า” นำวิชาการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากชุมชนโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล “U2T” กระทรวงอว.

Next Post

EmpowerME แชทบอทโค้ชจากจุฬาฯ ฝึกฝนทักษะอนาคตที่ใช่เพื่ออาชีพที่ชอบ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

10 months ago
57
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

10 months ago
32
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

10 months ago
123
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

10 months ago
62
Load More
Next Post
EmpowerME แชทบอทโค้ชจากจุฬาฯ ฝึกฝนทักษะอนาคตที่ใช่เพื่ออาชีพที่ชอบ

EmpowerME แชทบอทโค้ชจากจุฬาฯ ฝึกฝนทักษะอนาคตที่ใช่เพื่ออาชีพที่ชอบ

นวัตกรรมยางพาราผงสู่ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรกรถยนต์ มีประสิทธิภาพรับแรงเสียดทานและลดอัตราการสึกหรอ

นวัตกรรมยางพาราผงสู่ผลิตภัณฑ์ผ้าเบรกรถยนต์ มีประสิทธิภาพรับแรงเสียดทานและลดอัตราการสึกหรอ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    98 shares
    Share 39 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    78 shares
    Share 31 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    72 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    71 shares
    Share 28 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
195

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
78

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
53

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
47
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.