mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “กระดาษสาทนน้ำ” ยกระดับเพิ่มมูลค่าการใช้งานเทียบเท่าถุงพลาสติก

นวัตกรรม “กระดาษสาทนน้ำ” ยกระดับเพิ่มมูลค่าการใช้งานเทียบเท่าถุงพลาสติก

0

              ใครที่คิดว่า “กระดาษสา” มีไว้เพียงทำสมุดโน้ต หรือกระดาษห่อของขวัญ คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่เสียแล้ว เมื่อบริษัท ซิมพลิ เด็คคอร์ จำกัด โรงงานกระดาษบ้านต้นเปา จังหวัดเชียงใหม่ หันมาใช้นวัตกรรมผสานภูมิปัญญาพัฒนา “กระดาษสาทนน้ำ” ยกระดับเพิ่มมูลค่าการใช้งานเทียบเท่าถุงพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ โปรแกรม ITAP (Innovation and technology assistance program) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

             นายธนากร สุภาษา กรรมการผู้จัดการบริษัทซิมพลิ เด็คคอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายกระดาษจากใยธรรมชาติแบรนด์ “ปาป้า เปเปอร์ คราฟท์ (Papa Paper Craft)” เล่าว่า ด้วยพื้นเพเป็นคนเชียงใหม่ และเป็นทายาทรุ่นที่สอง ที่สืบทอดธุรกิจกระดาษสาจากครอบครัวในหมู่บ้านต้นเปา จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งผลิตกระดาษสาครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทย ดังนั้นเมื่อใครที่อยากทำกระดาษสา หรือเส้นใยเกี่ยวกับกระดาษมักจะนึกถึงชุมชนหมู่บ้านต้นเป้าเป็นอันดับแรกเสมอ

              ทว่าแม้ปัจจุบันวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก จะเป็นตัวแปรผลักดันให้คนทั่วโลกลดการใช้พลาสติก และหันกลับมาใช้สินค้าจากธรรมชาติมากขึ้น แต่ด้วยจุดอ่อนของกระดาษสาที่ขาดง่ายเมื่อโดนน้ำ ยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคมากนัก แนวคิดการพัฒนา ‘กระดาษสาทนน้ำ’ จึงอาจเป็นหนทางปรับจุดอ่อนเป็นข้อได้เปรียบ เพื่อให้แข่งขันกับตลาดทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้น

             “เราอยากเพิ่มมูลค่ากระดาษสาให้มีสมบัติกันน้ำได้ แต่ด้วยเราไม่มีองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงไปปรึกษาทาง สวทช. ภาคเหนือ และได้รับคำแนะนำให้เข้าร่วมโปรแกรม ITAP ซึ่งเขามีบริการให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี ตลอดจนจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งก็ได้แนะนำให้พบกับ ดร.มาโนช นาคสาทา คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ที่จะเข้าให้คำปรึกษาการพัฒนากระดาษสาทนน้ำ”

นายธนากร สุภาษา กรรมการผู้จัดการบริษัทซิมพลิ เด็คคอร์ จำกัด

              ที่ผ่านมาการผลิตกระดาษสาของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงใช้กระบวนการแบบดั้งเดิมซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของกระดาษสา แต่หากสามารถพัฒนาให้กระดาษสามีสมบัติพิเศษ เช่น การทนน้ำ จะทำให้ประยุกต์การใช้กระดาษสาได้กว้างขึ้น

                ดร.มาโนช นาคสาทา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า เทคโนโลยีกระดาษสากันน้ำ เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาด้วยทุนวิจัยของ สวทช. เครือข่ายภาคเหนือ เมื่อผู้ประกอบการในพื้นที่ทำธุรกิจกระดาษสามีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นกระดาษสากันน้ำ จึงขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีและเข้าโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี กับทางโปรแกรม ITAP สวทช.

              “โดยธรรมชาติเส้นใยกระดาษชอบน้ำมาก ประกอบกับช่องว่างขนาดเล็กในกระดาษมีจำนวนมาก ทำให้กระดาษอุ้มน้ำเหมือนกับฟองน้ำ ดังนั้นเมื่อมีการหยดน้ำหยดลงบนกระดาษ น้ำจึงแพ่รกระจายไปบนผิวกระดาษเป็นวงกว้างพร้อมทั้งซึมผ่านเข้าไปในเนื้อกระดาษได้อย่างรวดเร็ว การทำให้กระดาษสามารถกันน้ำได้ เช่น การลดช่องว่างในตัวกระดาษ โดยการเติมแป้งพร้อมกับมีกระบวนการอัดให้เส้นใยของกระดาษอยู่ชิดกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้กระดาษหนาและแข็ง

                อีกกระบวนการหนึ่งคือการเติมสารที่ไม่ชอบน้ำลงไป สารพวกนี้จะทำให้มุมสัมผัสของหยดน้ำโตมากทำให้น้ำไม่สามารถเปียกเส้นใย และไม่สามารถซึมผ่านกระดาษได้ ซึ่งในการวิจัยพัฒนา เราใช้วิธีเติมสารไม่ชอบน้ำ ซึ่งเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการทดลองพบว่าช่วยให้กระดาษสากันน้ำได้ดี หยดน้ำสามารถกลิ้งไปมาบนกระดาษได้เหมือนที่กลิ้งบนใบบัว ที่สำคัญกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ผู้ประกอบการยังสามารถทำได้ด้วยวิธีการเดิม ไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง”

              ปัจจุบัน บริษัท ซิมพลิ เด็คคอร์ จำกัด รับถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตกระดาษสาทนน้ำ โดยการนำสารไม่ชอบน้ำ ซึ่งเป็นสารสกัดธรรมชาติ เข้ามาใช้ในกระบวนการปั่นเยื่อก่อนนำขึ้นไปขึ้นรูปเป็นกระดาษสา และมีการนำมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อวางจำหน่ายเชิงพาณิชย์

               นายธนากร เล่าว่า กระดาษสาทนน้ำที่ผลิตได้มีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จาน กล่องเครื่องสำอาง และถุงกระดาษ เน้นการออกแบบรูปทรงและการตัดเย็บให้ดูทันสมัย ความพิเศษของผลิตภัณฑ์กระดาษสาทนน้ำ คือ เมื่อเทน้ำลงไป น้ำจะขังอยู่ในผลิตภัณฑ์จนกว่าจะเทน้ำออก การดูดซับน้ำจะมีเฉพาะผิวกระดาษชั้นนอก และกระดาษจะค่อยๆ คายน้ำออกมาจนแห้งในเวลาไม่นาน เช่น ถุงกระดาษสาทนน้ำ เราไม่ได้ทดสอบแค่เทน้ำใส่ถุงเพียง 5-10 วินาทีเท่านั้น แต่เทน้ำทิ้งไว้ในถุงเป็นวัน ซึ่งก็ไม่พบการรั่วซึม ขณะที่ถุงกระดาษสาทั่วไป เมื่อเทน้ำลงไปกระดาษจะดูดซึมน้ำ เปื่อยและฉีกขาดทันที ที่สำคัญถุงกระดาษสาทนน้ำยังนำมาใช้ซ้ำได้มากกว่า 1 ปี เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้วสามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ

              ผลิตภัณฑ์กระดาษสาทนน้ำเริ่มวางจำหน่ายออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก papapaperfactory ซึ่งได้รับการตอบรับจากอยู่ค้าอย่างดี ทั้งลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดยุโรปที่เริ่มมีการสั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยข้อได้เปรียบการเป็นสินค้ารักษ์โลก และยังตอบโจทย์การพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG

              “ผมมีความเชื่อว่าตลาดจะตอบรับเรา เพราะกระดาษสาทนน้ำเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์แนวคิดทั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และโมเดลเศรษฐกิจของ BCG ที่ภาครัฐกำลังให้การสนับสนุน เพราะต้องการลดการใช้พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single use) โดยกระบวนการผลิตกระดาษสาทนน้ำของเรา ไม่เพียงใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ตอบโจทย์เศรษฐกิจชีวภาพแล้ว ในกระบวนการผลิตกระดาษสายังเน้นใช้สีธรรมชาติ ทำให้นำน้ำกลับมาใช้หมุนเวียนในกระบวนการผลิตได้เกือบ 100% แทบไม่มีการปล่อยออกเสียสู่สิ่งแวดล้อม เป็น zero waste ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ถือเป็นแต้มต่อในการทำธุรกิจที่เท่าทันตอบโจทย์กระแสโลก และด้วยกระบวนการทำธุรกิจแบบนี้ เชื่อว่าจะทำให้ชุมชนและบริษัทอยู่ได้ รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน”

                 นวัตกรรมกระดาษสาทนน้ำนับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมรักษ์โลกที่เกิดจากการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับภูมิปัญญาแห่งบ้านต้นเปา จังหวัดเชียงใหม่ ให้ยังคงสืบสานจากรุ่นสู่รุ่น และยังสร้างโอกาสทางธุรกิจ สร้างรายได้ให้ชุมชนและผู้ประกอบการ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล

Share1Tweet1Share
Previous Post

Keep Di แพลตฟอร์มบริการอินชัวรันส์บูโรบนบล็อกเชน ตอบโจทย์ความท้าทายในธุรกิจประกันภัย

Next Post

ม.อ.พัฒนา 5 แพลตฟอร์มอัตโนมัติ ช่วย SMEs บริหารจัดการธุรกิจ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

4 months ago
30
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

4 months ago
37
แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

4 months ago
19
วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล

5 months ago
29
Load More
Next Post
ม.อ.พัฒนา 5 แพลตฟอร์มอัตโนมัติ ช่วย SMEs บริหารจัดการธุรกิจ

ม.อ.พัฒนา 5 แพลตฟอร์มอัตโนมัติ ช่วย SMEs บริหารจัดการธุรกิจ

นวัตกรรม “กำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นวิทยุ” เผยกำจัดแมลงได้ 100% โดยไม่ใช้สารเคมี

นวัตกรรม “กำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นวิทยุ” เผยกำจัดแมลงได้ 100% โดยไม่ใช้สารเคมี

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.