mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “กำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นวิทยุ” เผยกำจัดแมลงได้ 100% โดยไม่ใช้สารเคมี

นวัตกรรม “กำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นวิทยุ” เผยกำจัดแมลงได้ 100% โดยไม่ใช้สารเคมี

0

              มทส.เปิดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างเครื่องต้นแบบ “การกำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ” สำเร็จ เผยกำจัดแมลงได้ 100% โดยไม่ใช้สารเคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนการผลิต คงคุณภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ เตรียมขยายผลสู่กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รองรับการขยายตัวการผลิตข้าวอินทรีย์พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย

              รศ.ดร.อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า ผลงานวิจัยและนวัตกรรม “การกำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ” เป็นผลงานของคณะผู้วิจัย มทส. ที่ได้ร่วมกันวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดยเร่งด่วนในเรื่องข้าว โดยศึกษาวิจัยการควบคุมแมลงศัตรูข้าวเปลือก และวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ได้นำเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งประสบความสำเร็จในการกำจัดมอดข้าวสาร มาดัดแปลงและพัฒนาต่อยอดให้สามารถใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูข้าวเปลือก

               นับเป็นการวิจัยที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชทั้งในส่วนของเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ สรีรวิทยาของพืช และกีฏวิทยา สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร กับสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งยังเป็นการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างใกล้ชิด ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชื่อมโยงกับสังคมและชุมชน สามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปเผยแพร่ให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

             ผศ.ดร.กมลชนก อำนาจกิติกร หัวหน้าโครงการวิจัยฯ เปิดเผยว่า โครงการวิจัย “การกำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ” ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของ “ข้าว” พืชเศรษฐกิจหลักในการส่งออกของประเทศ นอกจากนี้ ข้าวยังเป็นอาหารหลักของชาวไทย

             จากการเก็บข้อมูลพบว่า หลังการเก็บเกี่ยวขั้นตอนการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวมักมีการสูญเสียทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนมูลค่าทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมจากการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชหลายชนิดในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งส่งผลต่ออัตราการงอก โดยในแต่ละปีสามารถทำความเสียหายให้เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นจำนวนมาก

             จากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของตลาดการผลิตข้าวอินทรีย์ตามกระแสการให้ความสำคัญ ดูแล ห่วงใย และรักสุขภาพของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้ความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลอดสารเคมีเพิ่มสูงขึ้นตามมา ได้มองถึงปัญหาต้นทางตั้งแต่การเข้าทำลายเมล็ดพันธุ์ของแมลงศัตรูพืชและการสูญเสียคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวระหว่างการเก็บรักษา ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาในปัจจุบันมักจะใช้สารเคมีในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวเปลือกเหล่านี้ ทำให้ไม่สามารถนำเมล็ดพันธุ์ข้าวดังกล่าวมาใช้ในระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ได้

              และโดยทั่วไปการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นเวลานานปัญหาตามมาคือ การเกิดมอดและแมลงศัตรูที่มากัดกินและวางไข่ไว้ในเมล็ดพันธุ์ข้าว ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกมักใช้วิธีการเคลือบหรือรมควันด้วยสารเคมี ต้องใช้เวลานานกว่า 5-7 วัน ทำการรมยาทุกๆ 2 เดือน และยังต้องใช้พื้นที่จัดเก็บในขั้นตอนการรมควันขนาดใหญ่ ทั้งส่งผลลดการงอกของเมล็ดพันธุ์และยังเป็นตัวการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

             คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ของไทย จึงได้ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาการกำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี และยังคงคุณภาพของการงอกที่สูงขึ้นกับข้าวพันธุ์ที่มีความสำคัญมากทางเศรษฐกิจของไทย 6 พันธุ์ คือ ขาวดอกมะลิ 105 กข 15 กข 6 กข 31 ปทุมธานี 1 และสันป่าตอง 1 ด้วยการนำเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุซึ่งประสบความสำเร็จในการกำจัดมอดข้าวสารและแมลงศัตรูพืชมาดัดแปลงและพัฒนาต่อยอด ให้สามารถใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูข้าวเปลือกที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อข้าวเปลือก มอดหัวป้อม และด้วงงวง

              สำหรับ “เครื่องกำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุ” ที่ใช้กำจัดศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ เป็นผลงานของ รศ.ดร.ชาญชัย ทองโสภา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และคณะ ซึ่งเป็นต้นแบบนวัตกรรมเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ที่สะดวกต่อการใช้งาน มีประสิทธิภาพสูงและประหยัดเวลา สามารถรองรับการผลิตข้าวอินทรีย์แปลงใหญ่ในอนาคต ด้วยเทคนิคการกำจัดแมลงศัตรูเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยคลื่นความถี่วิทยุระหว่าง 31.25-41.25 MHz โดยมีอัตราการไหลอยู่ที่ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ต้นทุนการผลิตเครื่องต้นแบบอยู่ที่ 450,000 บาท

             สำหรับอายุการใช้งาน 4 ปี ค่าไฟฟ้า 80 บาท/ตัน เกิดค่าใช้จ่ายในการกำจัดแมลงอยู่ที่ประมาณ 84 บาท/ตัน ซึ่งต่ำกว่าการใช้สารเคมีซึ่งมีค่าใช้จ่ายระหว่าง 84-190 บาท/ตัน โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านเครื่องฆ่าแมลงดังกล่าว สามารถกำจัดแมลงได้ 100% ภายหลังจากการผ่านคลื่นวิทยุแล้วเป็นเวลา 63 วัน

              ถือเป็นเทคโนโลยีแรกๆ ที่มีการยืนยันประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ผลการวิจัยยืนยันชัดเจนว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผ่านการกำจัดแมลงด้วยวิธีนี้ไม่มีความเสียหายระดับเซลล์ รวมทั้งไม่กระทบต่ออายุการเก็บรักษา การเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวที่มีความสำคัญมากทางเศรษฐกิจของไทย

              จากผลสำเร็จของโครงการวิจัยจะนำไปสู่การเผยแพร่เทคโนโลยีนี้แก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใช้ผลการวิจัยในการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติต่อไป

Share1Tweet1Share
Previous Post

ม.อ.พัฒนา 5 แพลตฟอร์มอัตโนมัติ ช่วย SMEs บริหารจัดการธุรกิจ

Next Post

มหิดล คิดค้นนวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยวัดตำแหน่งผ่าตัดสำหรับเปลี่ยนข้อสะโพก คาดใช้ได้จริงในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

4 months ago
8
Load More
Next Post
มหิดล คิดค้นนวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยวัดตำแหน่งผ่าตัดสำหรับเปลี่ยนข้อสะโพก คาดใช้ได้จริงในอีก 2 – 3 ปีข้างหน้า

มหิดล คิดค้นนวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยวัดตำแหน่งผ่าตัดสำหรับเปลี่ยนข้อสะโพก คาดใช้ได้จริงในอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า

ม.มหิดล สร้างสรรค์โลกดิจิทัล แทนร่าง “อาจารย์ใหญ่” สอนนักศึกษาแพทย์

ม.มหิดล สร้างสรรค์โลกดิจิทัล แทนร่าง "อาจารย์ใหญ่" สอนนักศึกษาแพทย์

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.