mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “หุ่นยนต์ปรับหน้าดินอัตโนมัติ” ช่วยชาวนาเกลือประหยัดแรงงาน

นวัตกรรม “หุ่นยนต์ปรับหน้าดินอัตโนมัติ” ช่วยชาวนาเกลือประหยัดแรงงาน

0

             ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์ และยานยนต์พลังงานไฟฟ้ามาใช้งานในชีวิตประจำวันของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นในหลายด้านและหลายภาคส่วน ล่าสุด มีความพยายามในการนำเทคโนโลยีทั้ง 2 มาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรโดยเฉพาะเกษตรกรชาวนาเกลือ โดยนายนรวิศว์ หนังสือ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือ ฟีโบ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้คิดค้นและพัฒนา “หุ่นยนต์ปรับหน้าดินอัตโนมัติ 5G Zero Carbon สำหรับเกษตรกรชาวนาเกลือ” เพื่อช่วยชาวนาเกลือประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิง สามารถปรับหน้าดินในนาเกลือให้เรียบและแน่นขึ้น และยังช่วยลดมลภาวะรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมี รศ. ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ดร.ปราการเกียรติ ยังคง และ ผศ. ดร.ถวิดา มณีวรรณ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผลงานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนในส่วนของตัวรถที่เอาไว้ใช้ในการดัดแปลงจากนายอาภรณ์ หนังสือ และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

             นายนรวิศว์ เจ้าของผลงานหุ่นยนต์ปรับหน้าดินอัตโนมัติ เปิดเผยว่า หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นรถหุ่นยนต์ไร้คนขับ เพื่อตอบโจทย์นวัตกรรมการปรับหน้าดินนาเกลือของคุณพ่อ โดยได้ดัดแปลงมาจากรถปรับหน้าดินหรือรถกลิ้งนาเกลือเดิมที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในและใช้แรงงานคนในการขับ เบื้องต้นรถหุ่นยนต์คันนี้เป็นรถขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า โดยเปลี่ยนจากเครื่องยนต์มาเป็นมอเตอร์ที่ใช้พลังงงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ โดยกระบวนการทำงานของรถหุ่นยนต์ตัวนี้จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือกระบวนการวางแผนซึ่งจะทำหน้าที่วางเส้นทางการเคลื่อนที่สำหรับรถโดยคำนึงถึงกลศาสตร์ที่สอดคล้องกับรถ รวมถึงการสร้างเส้นทางเพื่อให้เกิดรัศมีการเลี้ยวที่สั้นที่สุด ส่วนกระบวนการถัดมาคือกระบวนการควบคุมรถหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ไปตามเส้นที่กำหนดไว้(จากกระบวนการที่แล้ว)

              ซึ่งตัวควบคุมจะค่อยๆ ทำการปรับความเร็วเพื่อป้องกันการกระชาก นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยี RTK (Real Time Kinematic Positioning) มาประยุกต์ใช้สำหรับการระบุตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูง และ Inertial Measurement Unit (IMU) สำหรับการระบุทิศทางของรถรถหุ่นยนต์คันนี้มีหน้ากว้าง 1.5 เมตรน้ำหนักรวมประมาณ 240 กิโลกรัม (น้ำหนักโครงรถ 160 กก.+ น้ำหนักแบตเตอรี่80 กก.) และมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 เมตรต่อวินาที (ระดับความเร็วขึ้นอยู่กับมอเตอร์ที่ใช้)

              นายนรวิศว์ เล่าต่อว่า ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาเกลืออยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และมีการประกอบกิจการตั้งแต่รุ่นปู่ ปัจจุบันครอบครัวก็ยังทำนาเกลืออยู่ สำหรับกระบวนการถ่ายโอนน้ำทะเลในนาเกลือจะมีอยู่ 4 นาตามลำดับ คือ นาขัง นาแผ่ นาเชื้อ และนาวาง เมื่อน้ำที่เค็มจนถึงจุดอิ่มตัวถูกแดดเผาในนาวางก็จะเกิดผลึกเกลือบนผิวดิน เมื่อผลึกเกลือมีความหนา 1-3 ซม. ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

              หลังจากการเก็บเกี่ยวจะต้องทำการชะล้างหน้าดินและปรับหน้าดินให้แน่นและเรียบก่อนเริ่มทำการถ่ายน้ำจากนาเชื้อเข้าสู่นาวางอีกครั้ง สาเหตุที่ต้องทำการปรับหน้าดิน เนื่องจากพื้นที่ในนาวางหลังเก็บเกี่ยวแล้วจะมีความขรุขระไม่แน่น ไม่สม่ำเสมอ หากปล่อยไว้จะทำให้เกลือที่เก็บเกี่ยวขึ้นมามีเศษดินปะปนอยู่จำนวนมาก โดยวิธีการปรับหน้าดินที่ชาวนาเกลือใช้กันมานาน คือ การกลิ้งนาเกลือ

               โดยแต่เดิมชาวนาจะใช้แรงงานคนจำนวน 2-4 คนต่อการลากลูกกลิ้งหนึ่งลูกต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นการใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในโดยใช้คนขับหนึ่งคนนั่งอยู่บนรถ ซึ่งโดยปกติจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อรอบการกลิ้งที่ครอบคลุมทั่วกระทงนา (1 กระทงนา มีขนาดพื้นที่ประมาณ 100 x 50 เมตร หรือเท่ากับ 5,000 ตารางเมตร) จึงมองว่าปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ

             “หากสามารถพัฒนารถปรับหน้าดินนาเกลือด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ก็น่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับชาวนาเกลือซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคการเกษตรของไทย นอกจากจะช่วยลดแรงงานคน และลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแล้ว ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกสู่บรรยากาศและไม่มีการรั่วไหลของน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเชื้อเพลิงลงสู่กระทงนาอีกด้วย” นายนรวิศว์ กล่าว

              ทั้งนี้ หุ่นยนต์ปรับหน้าดินอัตโนมัติ 5G Zero Carbon ได้มีการทดสอบวิ่งบนพื้นที่นาเกลือ พบว่า สามารถใช้งานขับเคลื่อนถอยหลังเดินหน้าได้เหมือนรถทั่วไปแต่ไร้คนขับ และสามารถดูการทำงานได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ อย่างไรก็ตาม ผลงานชิ้นนี้ ยังถือเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบตัวแรกที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อตอบโจทย์ชาวนาเกลือ จากไอเดียของคุณพ่อและการพัฒนาโดยนักศึกษารุ่นใหม่ที่ไม่ทิ้งอาชีพดั้งเดิมของครอบครัว นำมาต่อยอดขยายผลเพิ่มมูลค่าโดยใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “จุลินทรีย์ขจัดคราบน้ำมันในทะเล” ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

Next Post

นวัตกรรม “บอร์ดเกม The Plantstery ปริศนาพฤกษาสู้โรค” ส่งเสริมชุมชนรู้ค่าถุงยังชีพจากธรรมชาติ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

4 months ago
8
Load More
Next Post
นวัตกรรม  “บอร์ดเกม The Plantstery ปริศนาพฤกษาสู้โรค” ส่งเสริมชุมชนรู้ค่าถุงยังชีพจากธรรมชาติ

นวัตกรรม "บอร์ดเกม The Plantstery ปริศนาพฤกษาสู้โรค" ส่งเสริมชุมชนรู้ค่าถุงยังชีพจากธรรมชาติ

นวัตกรรมรักษ์โลก “รถ mobile refill station” ช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

นวัตกรรมรักษ์โลก "รถ mobile refill station" ช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.