mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
อุปกรณ์วัดการเดินจากการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและแรงกดที่ฝ่าเท้า ตัวช่วยเก็บข้อมูลการเดินของผู้ป่วยจากนักวิจัยม.มหิดล

อุปกรณ์วัดการเดินจากการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและแรงกดที่ฝ่าเท้า ตัวช่วยเก็บข้อมูลการเดินของผู้ป่วยจากนักวิจัยม.มหิดล

0

             ชีวิตที่สะดวกสบายด้วยเทคโนโลยี มีโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารดิจิทัลเหมือนเป็นแขนขา ทำให้แทบไม่ต้องออกจากบ้าน และเดินน้อยลง ทั้งๆ ที่ยังมีแขนขาปกติ จนทำให้เกิดโรคจากการขาดการออกกำลังกาย เทคโนโลยีใหม่ในโลกยุคปัจจุบันจึงมักถูกพิพากษาว่าเป็นเหมือน “ดาบสองคม”

              ในขณะคนที่เคยเดินได้ พูดได้ แต่แล้วด้วยอุบัติเหตุชีวิตที่พลิกผัน ทำให้สิ่งที่เคยทำได้ กลับทำไม่ได้ แล้วต่อมาได้พบกับปาฏิหาริย์ จากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยทำให้กลับมาเดินได้ และสื่อสารได้อีกครั้งดั่งฝัน จะซาบซึ้งดีถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในเชิงสร้างสรรค์ว่า “สำคัญที่การใช้”

              รองศาสตราจารย์ ดร.สุดสงวน งามสุริยโรจน์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทุ่มเทเวลาเพื่อพิสูจน์ว่า เทคโนโลยีไม่ได้เป็นเพียงดาบสองคมที่จะต้องมาคอยกลัว หรือเฝ้าระวัง จนไม่กล้าเข้าไปทดลองสัมผัส แต่หากรู้จักใช้ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ ก็จะสามารถทำให้เกิดประโยชน์โภชน์ผลต่อไปได้อีกมากมายมหาศาล

              ในฐานะอาจารย์นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเทคโนโลยีสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.สุดสงวน งามสุริยโรจน์ ได้ฝากผลงานด้านไอทีที่เป็นประโยชน์ และตอบโจทย์สังคมมากมาย โดยได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานแบบบูรณาการร่วมกับนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือแม้แต่ด้านการท่องเที่ยว

             หนึ่งในผลงานนวัตกรรมที่ภาคภูมิใจ เป็นผลงานร่วมกับ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวารี จิรอดิศัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างสรรค์ “อุปกรณ์วัดการเดินจากการเคลื่อนไหวของข้อเข่าและแรงกดที่ฝ่าเท้า” (Walking Gait Measurement via Knee Movement and Foot Pressure Plantar) จนสามารถคว้ารางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประเภทรางวัลประกาศเกียรติคุณ จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในงานวันนักประดิษฐ์ ปี 2563 โดยเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นจากโจทย์ที่ได้รับจากผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งต้องพบกับปัญหาการทรงตัวในการเดิน จากการเจ็บป่วยด้วยโรคอัมพฤกษ์-อัมพาต อุบัติเหตุ ฯลฯ

              จุดเด่นของนวัตกรรม คือ การประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ไม่ยุ่งยาก พกพาได้ และราคาไม่แพง เข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลการเดินของผู้ป่วยในลักษณะต่างๆ และใช้เทคโนโลยีด้าน Machine Learning ในการประมวลผลและวิเคราะห์ท่าทางการเดินของผู้ป่วยในลักษณะต่างๆ เป็นข้อมูลให้แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ใช้ประกอบการวินิจฉัย เพื่อให้การรักษาและบำบัดที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย

               นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สุดสงวน งามสุริยโรจน์ ยังได้ให้ความสนใจร่วมฟื้นฟูผู้ป่วยที่ประสบปัญหาจากการพูด จากการเจ็บป่วยบางโรค และอุบัติเหตุทางสมอง ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ โดยได้สร้างสรรค์แอปพลิเคชันเพื่อช่วยในการสื่อสาร ร่วมกับ อาจารย์ ดร. นายแพทย์ปรเมษฐ์ ฉายารัตนศิลป์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (ติดตามได้ทาง https://aphasia.ict.mahidol.ac.th/)

               รวมทั้งเป็นเบื้องหลังสำคัญในการสร้างสรรค์เว็บไซต์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ในชุมชนละแวกใกล้เคียงกับ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา (ติดตามได้ทาง
https://mahasawat.com/) ตลอดจนได้จัดให้นักศึกษาของคณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ลงพื้นที่ถ่ายทอดทักษะทางดิจิทัลที่จำเป็นแก่ชุมชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุดในรูปแบบ “Train the Trainer” ต่อไปอีกด้วย

               ทุกผลงานนวัตกรรมที่ผ่านมาของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุดสงวน งามสุริยโรจน์ ล้วนสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาในพระราชดำรัสแห่ง พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

              “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”

               จึงทำให้เกิดสิ่งดีๆ จากการสร้างสรรค์เทคโนโลยีดิจิทัลเกิดขึ้นมากมายจากนี้ และต่อจากนี้ไปอีกตราบนานเท่านาน

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

วช. หนุนทีมวิจัย ม.มหิดล พัฒนา “ต้นแบบเครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบอัตโนมัติ”

Next Post

มหิดล เปิดตัวนวัตกรรม “กล่องนับเข็มผ่าตัด (MU Needle Box)” แม่นยำสูง โดยไม่ต้องพึ่ง AI

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

10 months ago
58
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

10 months ago
32
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

10 months ago
127
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

10 months ago
62
Load More
Next Post
มหิดล เปิดตัวนวัตกรรม “กล่องนับเข็มผ่าตัด (MU Needle Box)” แม่นยำสูง โดยไม่ต้องพึ่ง AI

มหิดล เปิดตัวนวัตกรรม "กล่องนับเข็มผ่าตัด (MU Needle Box)" แม่นยำสูง โดยไม่ต้องพึ่ง AI

มหิดลค้นพบวิธีตรวจเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในขั้นตอนเดียว เตรียมประยุกต์ใช้ตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์

มหิดลค้นพบวิธีตรวจเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในขั้นตอนเดียว เตรียมประยุกต์ใช้ตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    99 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.