mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มหิดลค้นพบวิธีตรวจเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในขั้นตอนเดียว เตรียมประยุกต์ใช้ตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์

มหิดลค้นพบวิธีตรวจเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในขั้นตอนเดียว เตรียมประยุกต์ใช้ตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์

0

             ครั้งแรกในประเทศไทย ม.มหิดลค้นพบวิธีตรวจเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในขั้นตอนเดียว เตรียมประยุกต์ใช้ตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์ เพื่อพัฒนาสาธารณสุขไทย ผลงานอาจารย์นักวิจัยระดับเวิร์ลคลาส

             เมื่อนับจำนวนประชากรทั้งโลก กับจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่นับไม่ถ้วน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มจำนวนอย่างไม่รู้จบ จะพบว่ามีสัดส่วนที่นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ โดยเชื้อแบคทีเรียมีทั้งชนิดที่เป็นคุณและโทษต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งรอคอยการค้นพบเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์และป้องกันการเกิดโรค ทั้งที่เรื้อรัง และอุบัติใหม่ โดยจำเป็นต้องมีการพัฒนาวิธีการศึกษาค้นคว้าให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียต่อไปด้วย

              อาจารย์ ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยระดับโลก The Johns Hopkins University สหรัฐอเมริกา ซึ่งครองแชมป์กว่า 2 ทศวรรษขึ้นแท่นอันดับหนึ่งของโลกด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในฐานะผู้ทุ่มเทเวลากว่าครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัย “การพัฒนากรรมวิธีและระบบบ่งชี้ชนิดของเชื้อแบคทีเรียและทดสอบความไวของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะในขั้นตอนเดียว” จนสามารถคว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

            นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่สามารถวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้ในขั้นตอนเดียว ซึ่งพัฒนาจากวิธีการดั้งเดิมที่เพาะเชื้อและทดสอบดูการดื้อยาในแบคทีเรียแต่ละชนิดโดยตรง ด้วยกรรมวิธีใหม่ที่ค้นพบนี้ได้ใช้วิธีการทางอณูพันธุวิศวกรรมศาสตร์เข้าช่วยเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิดผลเร็วขึ้นจาก 1 คืน เหลือเพียง 2 – 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาได้เป็นอย่างยิ่ง

            โดย อาจารย์ ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ ได้อธิบายถึงในส่วนของวิธีการทางอณูพันธุวิศวกรรมศาสตร์ที่ใช้ในงานวิจัยว่า เป็นการใช้เทคนิคที่คล้ายกับการตรวจ RT-PCR ของการตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 แต่ต่างกันตรงที่ ในการตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 ใช้ mRNA หรือ DNA สังเคราะห์ ในขณะที่การตรวจเชื้อแบคทีเรียเพื่อดูการดื้อยาในที่นี้ ใช้การตรวจ DNA จริงจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเรียกว่า “วิธี PCR”

            สาเหตุที่ต้องใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย เพื่อดูการดื้อยาก่อนทำ PCR แทนที่จะตรวจดูยีนดื้อยาที่เชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิดโดยตรงเลย เนื่องจากวิธีการตรวจยีนโดยตรงให้ผลได้ไม่ถูกต้อง 100% เพราะไม่อาจวิเคราะห์ได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเชื้อแบคทีเรียดื้อยา

            “เป็นธรรมชาติของเชื้อแบคทีเรียเมื่อมากกว่า 1 ชนิดมาอยู่ด้วยกัน จะเกิดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน จนอาจส่งเสริมให้เกิดการดื้อยาได้มากขึ้นต่อไปด้วย” อาจารย์ ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ กล่าว

              นอกจากนี้ยังได้ค้นพบว่า การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ “ไมโครฟลูอิดิกส์” เพื่อทำการทดสอบใน volume ที่เล็กกว่า สามารถลดปริมาณน้ำยาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาได้ถึง 2 หมื่นเท่า จาก 20 ไมโครลิตร เหลือเพียง 1 นาโนลิตร ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากรที่ต้องใช้ในการทดสอบ และยังสามารถใช้ในการทดสอบเพื่อดูการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 1 ชนิดได้ในคราวเดียวกัน

              และยิ่งได้มีการนำ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาช่วยในการบันทึกและประมวลผล นอกจากจะให้ความรวดเร็ว แม่นยำ และเที่ยงตรงแล้ว ยังช่วยประหยัดทรัพยากรบุคคลได้อีกด้วย โดย อาจารย์ ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ ได้นำทักษะทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอีกสาขาที่เชี่ยวชาญมาประยุกต์ใช้ในการทำงานวิจัยด้วยตนเอง

              วิธีการตรวจเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในขั้นตอนเดียวที่ อาจารย์ ดร.ภรภัทร อัฐมโนลาภ ค้นพบนี้ สนับสนุนโดย National Institutes of Health; NIH สหรัฐอเมริกา และได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ณ สหรัฐอเมริกา เรียบร้อยแล้ว  รวมทั้งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกรวม 4 ฉบับ ในฐานะผู้วิจัยชื่อแรก (Q1) ในวารสาร Nature และ Analytical Chemistry และเตรียมต่อยอดร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศไทย พัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจวิเคราะห์การกลายของพันธุ์เชื้อไวรัส COVID-19 ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณสุขไทยต่อไปอีกด้วย

               คือความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ที่มาจากบริบทของมหาวิทยาลัยระดับโลก เพื่อพิสูจน์ว่านักวิจัยไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)

ออกแบบแบนเนอร์โดย วิไล กสิโสภา นักวิชาการสารสนเทศ

งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัย

ShareTweetShare
Previous Post

มหิดล เปิดตัวนวัตกรรม “กล่องนับเข็มผ่าตัด (MU Needle Box)” แม่นยำสูง โดยไม่ต้องพึ่ง AI

Next Post

“ทันตฯมหิดล” ผ่าตัดสร้างขากรรไกรโดยใช้กระดูกน่องพร้อมใส่ฟันปลอมยึดด้วยรากเทียม สำเร็จครั้งแรกในไทย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
82
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
“ทันตฯมหิดล” ผ่าตัดสร้างขากรรไกรโดยใช้กระดูกน่องพร้อมใส่ฟันปลอมยึดด้วยรากเทียม สำเร็จครั้งแรกในไทย

"ทันตฯมหิดล" ผ่าตัดสร้างขากรรไกรโดยใช้กระดูกน่องพร้อมใส่ฟันปลอมยึดด้วยรากเทียม สำเร็จครั้งแรกในไทย

ReadMe โปรแกรมดีฝีมือคนไทย แปลงเอกสารและรูปภาพเป็นข้อความดิจิทัล

ReadMe โปรแกรมดีฝีมือคนไทย แปลงเอกสารและรูปภาพเป็นข้อความดิจิทัล

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.