mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มธ. พัฒนาปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว ลดการเผาตอซังฟางข้าวในชุมชนเกษตรกร

มธ. พัฒนาปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว ลดการเผาตอซังฟางข้าวในชุมชนเกษตรกร

0

               ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า วช. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมมาจัดการความรู้ก่อนการนำไปถ่ายทอดให้แก่กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจึงทำการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความรู้จากผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้วและนำสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ตามความต้องการของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม วช.จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังและฟางข้าว เพื่อการใช้ประโยชน์ในชุมชนเกษตรกรรายย่อย เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร และลดการเผาตอซังฟางข้าว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเกิด PM.2.5

               รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. วิจัยและพัฒนาการผลิตปุ๋ยคอกอัดเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว เพื่อลดการเผาตอซังฟางข้าวในชุมชนเกษตรกร หลังจากนั้นได้รับทุนต่อเนื่องจาก วช. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยคอกให้แก่เกษตรกร และได้ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยดำเนินการในพื้นที่ 10 จังหวัด ภายใต้ความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ (2 พื้นที่) นครราชสีมา ขอนแก่น อำนาจเจริญ ภาคกลาง ได้แก่ กาญจนบุรี และนครนายก ภาคตะวันออก คือจังหวัดชลบุรี ในทุกพื้นที่จะมีแปลงนานำร่อง 5 ไร่ สำหรับสาธิตวิธีการดำเนินงาน และการอบรมให้ความรู้เกษตรกรในการผลิต การขยาย และรักษาเชื้อจุลินทรีย์ และวิธีการทำปุ๋ยเม็ด จนเกษตรกรสามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง พร้อมกันนี้ได้มอบเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยขนาดครัวเรือนให้เกษตรกรไปกลุ่มละ 1 เครื่อง เพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตปุ๋ยใช้ในชุมชน จนกระทั่งเกิดการขยายผลในทุกๆพื้นที่ๆ ละ 200 ไร่ 

                   ในส่วนของการใช้ปุ๋ยเม็ดมีวิธีดำเนินการคือ หลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว จะหว่านปุ๋ยเม็ดผสมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซังฟางข้าวในอัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ จากนั้นไถกลบฟางข้าว แล้วทิ้งไว้ 14 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ทำงาน เมื่อตอซังฟางข้าวย่อยสลายก็จะได้ปุ๋ยหมักที่มีธาตุอาหารทั้ง ไนโตรเจน (N) โปรตัสเซียม (P) และฟอสฟอรัส (K) ประมาณ 600-700 กิโลกรัม อยู่ในนาข้าว (จากปุ๋ยเม็ด 100 กิโลกรัม และฟางข้าวในนาที่ถูกย่อยสลาย ประมาณ 500-600 กิโลกรัมต่อไร่) ซึ่งเพียงพอสำหรับสำหรับใช้เป็นธาตุอาหารในการปลูกข้าวฤดูกาลถัดไป ระหว่างการเพาะปลูกเมื่อข้าวออกรวง จะให้เกษตรกรนำน้ำหมักของโครงการที่มีจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่คัดสรรมาฉีดเพื่อเพิ่มน้ำหนักรวงข้าว และที่สำคัญคือ ในช่วงการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจะไม่มีการเผากลบตอซังฟางข้าวเลย

             เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเพาะปลูกแบบเดิม เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าวจะให้ผลดี ดังนี้

1) ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาฝุ่น PM. 2.5 ที่เกิดจากการเผาตอซังหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 50 เปอร์เซนต์

2) สภาพพื้นดินร่วนซุยมากขึ้น ทำให้รากข้าวสามารถหาอาหารได้ดีขึ้น ตามปกติหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว เกษตรกรจะทิ้งตอซังฟางข้าวให้แห้งคาแปลงนาประมาณ 4-5 เดือน ดินจึงแห้งและแข็ง จนเมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่จึงเริ่มไถกลบและเผาตอซังฟางข้าวเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก แต่วิธีการที่โครงการลงไปให้คำแนะนำ เป็นการไถกลบหลังจากเก็บเกี่ยวไม่นาน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นทำให้ดินร่วนซุยได้มากกว่าวิธีที่เกษตรกรเคยทำ

3) ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 26/ไร่ จากที่เคยทดลองในแปลงข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวจาก 600 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 760 กิโลกรัม/ไร่

4) ลดการใช้ปุ๋ยได้ประมาณ 800-1,200 บาท/ไร่ เพราะตลอดฤดูกาลเพาะปลูกมีปุ๋ยจากตอซังฟางข้าว เกษตรจึงไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเพิ่ม

5) ผลจากการลดต้นทุุน เพิ่มผลผลิต ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 18% 6) เกษตรกรมีรายได้เสริมจากการผลิต-ขายปุ๋ยเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าว เท่าที่ทราบในขณะนี้มีกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการอบรมที่จังหวัดอุดรธานีให้ความสนใจผลิตปุ๋ยเม็ดผสมจุลินทรีย์เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม

             สำหรับแนวทางในอนาคตควรจะมีการขยายผล และรณรงค์ให้มีการใช้ปุ๋ยเม็ดผสมจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังฟางข้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยเพื่อใช้ในชุมชน ในส่วนของโครงการได้มีการอบรมเกษตรกรไปแล้วประมาณ 400 คน และทั้งหมดก็มีขีดความสามารถที่จะเป็นครูต้นแบบเพื่ออบรม ขยายผลความรู้นี้สู่เกษตรกรรายอื่นๆ

ShareTweetShare
Previous Post

โรงพยาบาลพญาไท3 ใช้หุ่นยนต์ช่วยรักษาคนไข้ข้อเข่าเสื่อม ผ่าตัดได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ

Next Post

ทีมวิจัยจุฬาฯ ค้นพบสารสกัดในทุเรียนอ่อนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เล็งผลิตเครื่องสำอาง

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

4 months ago
8
Load More
Next Post
ทีมวิจัยจุฬาฯ ค้นพบสารสกัดในทุเรียนอ่อนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เล็งผลิตเครื่องสำอาง

ทีมวิจัยจุฬาฯ ค้นพบสารสกัดในทุเรียนอ่อนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เล็งผลิตเครื่องสำอาง

นวัตกรรมผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์จากไม้ไก่ย่าง สู่ผลิตภัณฑ์ของดีชุมชนทุ่งกุลา

นวัตกรรมผลิตถ่านคาร์บอนกัมมันต์จากไม้ไก่ย่าง สู่ผลิตภัณฑ์ของดีชุมชนทุ่งกุลา

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.