mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ม.สวนดุสิตผุด “หอมขจรฟาร์ม” แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ เพิ่มรายได้เกษตรกร

ม.สวนดุสิตผุด “หอมขจรฟาร์ม” แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ เพิ่มรายได้เกษตรกร

0

              กองทุน ววน.หนุนนักวิจัยม.สวนดุสิตผุดโครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ “หอมขจรฟาร์ม” นำร่องในพื้นที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรีเพื่อเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ เน้นพืชผักสวนครัวและไม้ผลโดยเฉพาะเมลอนสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่ใช้น้ำไม่มาก เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเฉลี่ยครัวเรือนละ 1.8 หมื่นบาท

             นายเฉลิมชัย แสงอรุณ ผู้อำนวยการกองอาคารสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เปิดเผยถึง การสนับสนุน “หอมขจรฟาร์ม” เป็นโครงการแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะบนเนื้อที่กว่า 50 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรแนวใหม่ โดยนำองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปถ่ายทอดแก่เกษตรกรในชุมชน เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สร้างอาชีพสร้างรายได้แก่ชุมชน โดยมุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ยังเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของสุพรรณบุรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถมาพักผ่อนได้อีกด้วย

              โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ รศ. ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยทำความร่วมมือกับจังหวัดสุพรรณบุรีและหน่วยงานภายใต้กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รวมทั้งโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) เพื่อพัฒนาโครงการฯ ให้เป็นแหล่งให้ความรู้ศึกษาดูงานของเกษตรกร ผู้ที่สนใจ และนักเรียน นักศึกษา

               ที่มาของชื่อโครงการมาจากดอกขจรซึ่งเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยพื้นที่ของหอมขจรฟาร์มแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ “โรงเรือนอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นพื้นที่วิจัยทั้งต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ แบบกึ่งอัจฉริยะ แบบปกติทั่วไป และโรงเรือนขนาดเล็กสำหรับบริการวิชาการแก่ชุมชน ซึ่งสาธิตการปลูกเมลอนสายพันธุ์ญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่อำเภอเมืองสุพรรณบุรีมีรายได้ นอกจากนี้ยังมี “สวนหอมขจร” อันเป็นพื้นที่เปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำการเกษตร โดยเน้นพืชผักสวนครัวและไม้ผลต่าง ๆ เช่น อินทผลัมซึ่งให้ผลผลิตดีในพื้นที่ที่เป็นดินเค็มและน้ำกร่อย

             “หอมขจรคอสเมติก” นำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเกรดพรีเมียม เช่น เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เจลอาบน้ำ ซึ่งใช้วัตถุดิบจากว่านหางจระเข้ปลอดสารเคมี “แปลงอนุรักษ์พันธุกรรมพืช” จำพวกไม้หายาก เป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจ นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการทำการเกษตรแบบง่าย ๆ โดยร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รวมกว่า 20 ชนิด และเตรียมจดทะเบียนเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายแกนกลางของภาคกลางในการอบรมเรื่องการเกษตรปลอดภัยแบบครบวงจร

              ซึ่งมหาวิทยาลัยจะรับซื้อผลผลิตเมลอนจากเกษตรกรในราคากิโลกรัมละ 50-60 บาท โดยในปี 2565 ได้เริ่มนำร่อง 4 ครัวเรือนในพื้นที่ 4 ตำบลในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี และขยายอีก 8 ครัวเรือน โดยลงทุนสร้างโรงเรือนขนาด 72 ตารางเมตร มูลค่า 5.5 หมื่นบาท ให้ก่อนแล้วให้เกษตรกรผ่อนชำระคืนโดยไม่คิดดอกเบี้ย สามารถปลูกเมลอนได้ 180 ต้นต่อโรงเรือน โดยประมาณการรายได้จากการปลูกเมลอนเฉลี่ย 1.8 หมื่นบาทต่อครัวเรือน ภายใน 1 ปีปลูกได้ 3 ครั้ง ส่วนในฤดูฝนจะสลับไปปลูกผักสลัดและมะเขือเทศแทน นับเป็นทางเลือกที่ดีแก่เกษตรกรที่ต้องการเพิ่มรายได้จากการปลูกพืชที่ไม่ต้องใช้ปริมาณน้ำเยอะเกินไป โดยใช้น้ำเพียงวันละ 1.5 ลิตรต่อต้นเท่านั้น

              ขณะที่นายธนากร บุญกล่ำ เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวเพิ่มเติมถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเมลอนว่าควบคุมด้วยระบบ IoT และได้รับมาตรฐาน GAP เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นเมลอนเกรดพรีเมียม นอกจากนี้ยังมีว่านหางจระเข้ที่เริ่มโครงการมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว เนื่องจากปลูกได้ในทุกสภาพดิน และนำสารสกัดสำคัญไปเป็นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งเลมอนพันธุ์ฮาวายที่ปลูกในบ่อซีเมนต์เพื่อควบคุมการตัดแต่งทรงต้น ง่ายต่อการจัดการและเก็บเกี่ยว โดยใช้ระบบน้ำสปริงเกอร์ทำให้ใช้น้ำไม่มากในการเพาะปลูก

              ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่เพจหอมขจรฟาร์ม หรือไลน์ @Homkhajorn หรือโทร.0 22445049

ShareTweetShare
Previous Post

เครื่องผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในบ้าน

Next Post

นวัตกรรม “ธุรกิจสู้ฝุ่น บ้านสู้ฝุ่น” ต้นแบบแก้ปัญหาฝุ่นควันเขตเมืองทั่วประเทศ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

3 months ago
23
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

3 months ago
18
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

3 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

3 months ago
8
Load More
Next Post
นวัตกรรม “ธุรกิจสู้ฝุ่น บ้านสู้ฝุ่น” ต้นแบบแก้ปัญหาฝุ่นควันเขตเมืองทั่วประเทศ

นวัตกรรม “ธุรกิจสู้ฝุ่น บ้านสู้ฝุ่น” ต้นแบบแก้ปัญหาฝุ่นควันเขตเมืองทั่วประเทศ

ม.มหิดล เตรียมผลักดันเทคโนโลยีใหม่ T-cells รักษามะเร็ง สู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง

ม.มหิดล เตรียมผลักดันเทคโนโลยีใหม่ T-cells รักษามะเร็ง สู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.