mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มจธ. พัฒนานวัตกรรมเครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด-19 ด้วยรังสี UVC

มจธ. พัฒนานวัตกรรมเครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด-19 ด้วยรังสี UVC

0

               เครื่องฆ่าเชื้อโควิด-19 นวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นมาจากหลักการง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบจะดูดอากาศในห้องที่มีเชื้อโรคแล้วส่งผ่านแสงยูวีเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะปล่อยอากาศที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วออกมา เหมาะสำหรับใช้ในห้องผู้ป่วย ห้องบุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาลต่างๆ การรักษาตัวเองที่บ้าน หรือในห้องที่คาดว่าจะมีเชื้อโรคอยู่

              จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2563 ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ รศ. ดร.วันชัย อัศวภูษิตกุล นายธวัชชัย เขียวคำรพ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ ผศ.สิทธิชัย วงษ์ธนสุภรณ์ จากบริษัท เอ.ซี.เทค จำกัด ได้ออกแบบและพัฒนา “บอร์ดเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีชุดบำบัดอากาศสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ” และ “เครื่องครอบผู้ป่วยความดันลบที่ใช้ในการผ่าตัด” เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยได้มอบให้กับโรงพยาบาลที่มีความต้องการ จากประสบการณ์การพัฒนาเครื่องที่ผ่านมา ล่าสุดทีมได้ออกแบบและพัฒนา “เครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด-19 ด้วยรังสี UVC” ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้ฆ่าเชื้อโรคสำหรับห้องทั่วไป หรือติดตั้งเพื่อทำห้องความดันลบ (Negative pressure room) และห้องความดันบวก (Positive pressure room) เครื่องดังกล่าวยังเหมาะสำหรับรองรับสถานการณ์การรักษาตัวเองที่บ้าน (Home isolation) หรือใช้ในห้องผู้ป่วย ห้องบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาล เป็นต้น

             ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ กล่าวว่า “เครื่องดังกล่าวได้มาจากประสบการณ์ที่ทีมได้พัฒนาเครื่องครอบผู้ป่วยความดันลบ (Negative pressure) โดยการบำบัดอากาศด้วยรังสี UVC และแผ่นกรอง HEPA Filter การปั๊มอากาศให้วิ่งผ่านแผ่น HEPA Filter ที่มีขนาดรูเล็ก ทำให้เกิดความดันตกคร่อมสูงมาก ทำให้ต้องใช้พัดลมที่มีกำลังสูง ประกอบกับขนาดของเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กกว่ารูของ HEPA Filter ดังนั้น แนวคิดการออกแบบและพัฒนาเครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด-19 นี้ จึงเลี่ยงการใช้แผ่นกรอง HEPA Filter และหาทางใช้เทคนิคอื่นที่สามารถทำความสะอาดอากาศในห้องได้รวดเร็วแต่มีประสิทธิภาพ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก”

             เครื่องฆ่าเชื้อโควิด-19 นวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นมาจากหลักการง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักการทำงานของเครื่องคือ ระบบจะทำการดูดอากาศในห้องที่มีเชื้อโรค แล้วส่งผ่านรังสี UVC เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนที่จะปล่อยอากาศที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วออกมา

              “หลักการทำงานสำคัญของเครื่องตัวนี้คือ การทำให้อากาศที่ไหลอยู่ภายในอุปกรณ์มีเวลาสัมผัสกับรังสี UVC ที่มาจากหลอด UVC ที่ติดตั้งอยู่ที่แกนกลางของท่อให้มากที่สุด เพื่อฆ่าเชื้อโรคให้ได้มากที่สุด โดยภายในจะมีแผงกั้น (Baffle) ลักษณะคล้ายๆ กับที่ใช้ในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบเปลือกและท่อ โดยอากาศจะหมุนวนเวียนกลับไปกลับมาตามช่อง เพื่อให้เชื้อโรคในอากาศเข้าไปใกล้หรือโดนรังสี UVC ซ้ำๆ ทำให้สุดท้ายอากาศที่ถูกปล่อยออกมาจะสะอาดขึ้น ด้วยอัตราการไหลของอากาศที่สูง จึงสามารถทำให้เกิด Air Change ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำความสะอาดอากาศภายในห้อง ได้มีการนำเครื่องไปทดสอบที่ห้องปฏิบัติการของภาคเอกชน พบว่า ภายใน 2 ชั่วโมงเครื่องนี้สามารถฆ่าเชื้อในอากาศได้ถึง 99 เปอร์เซ็นต์” ศ.ดร.สมชาย กล่าว

              “เครื่องฆ่าเชื้อโควิด-19” ประกอบด้วย กระบอกสเตนเลส หลอด UVC มอเตอร์ และพัดลม ขนาดของกระบอกมีความยาว 120 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร เครื่องมีน้ำหนัก 22.5 กิโลกรัม พร้อมล้อเลื่อนสะดวกในการเคลื่อนย้าย ตัวเครื่องมีปุ่มปิด-เปิด และสามารถปรับระดับความแรงของพัดลมได้ 3 ระดับ อัตราการใช้ไฟฟ้าไม่สูงเพราะมีอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเพียงสองตัว คือ มอเตอร์กับหลอด UVC ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยากเพียงกดปุ่มเปิด และเลือกระดับความแรงของพัดลมตามความต้องการ

                ศ.ดร.สมชาย กล่าวอีกว่า “นอกจากจุดเด่นด้านประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโควิด-19 ในอากาศด้วยรังสี UVC แล้ว ยังมีจุดเด่นที่ “การใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก”และ“เน้นใช้งานได้ทั่วไป” ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการออกแบบและพัฒนาเครื่อง อายุการใช้งานของอุปกรณ์ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งาน “อุปกรณ์ประกอบต่างๆ สามารถหาซื้อได้ง่าย” เช่น หลอด UVC มอเตอร์ พัดลม “สามารถถอดเปลี่ยนเองได้” “สะดวกในการบำรุงรักษา” ทำให้เครื่องฆ่าเชื้อโควิด-19 ในอากาศด้วย UVC เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในยุค New Normal ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ภายในบ้านหรือห้องต่างๆ เครื่องดังกล่าวยังผ่านการทดสอบและรับรองจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โดยขณะนี้ภาคเอกชนได้เซ็นต์สัญญากับ มจธ. เพื่อนำทรัพย์สินทางปัญญานี้ไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์แล้ว”

              เครื่องดังกล่าวได้มีการนำไปติดตั้งและใช้งานจริงภายในโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีความต้องการแล้ว 129 เครื่อง และสถานปฏิบัติธรรม 10 เครื่อง ล่าสุดนำไปใช้ในห้องเรียนของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มจธ. จำนวน 15 เครื่อง เพื่อให้นักศึกษากลับมาเรียนและสอบในบางรายวิชาได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเมื่อไม่นานมานี้ มจธ.ได้มอบเครื่องฆ่าเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 2 เครื่อง ให้กับนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร

ShareTweetShare
Previous Post

รพ.นวเวช พัฒนาระบบ Stroke Fast Track รักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน

Next Post

นวัตกรรม “แขนกลรดน้ำแปลงผัก” ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้กับเด็กในชนบท

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
23
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

3 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
79
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
22
Load More
Next Post
นวัตกรรม “แขนกลรดน้ำแปลงผัก” ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้กับเด็กในชนบท

นวัตกรรม “แขนกลรดน้ำแปลงผัก” ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้กับเด็กในชนบท

นวัตกรรม “ไมโครนีดเดิลแบบละลายได้” ช่วยให้การฉีดยาเป็นเรื่องง่าย ไม่เจ็บ และทำเองได้

นวัตกรรม “ไมโครนีดเดิลแบบละลายได้” ช่วยให้การฉีดยาเป็นเรื่องง่าย ไม่เจ็บ และทำเองได้

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.