mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “ไมโครนีดเดิลแบบละลายได้” ช่วยให้การฉีดยาเป็นเรื่องง่าย ไม่เจ็บ และทำเองได้

นวัตกรรม “ไมโครนีดเดิลแบบละลายได้” ช่วยให้การฉีดยาเป็นเรื่องง่าย ไม่เจ็บ และทำเองได้

0

             สตาร์ทอัพภายใต้การสนับสนุนจาก CU Innovation Hub ร่วมกับอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา “ไมโครนีดเดิลแบบละลายได้” นวัตกรรมช่วยให้การฉีดยาเป็นเรื่องง่าย ไม่เจ็บ ใครๆ ก็ทำให้ตัวเองได้ ทั้งยังลดขยะทางการแพทย์อีกด้วย

              คนกลัวเข็มและการฉีดยา มีเฮ! วันนี้ การฉีดยาจะไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหรือทำให้เราเจ็บตัวอีกต่อไป เพราะวันนี้เรามี “ไมโครนีดเดิลแบบละลายได้” (Detachable and Dissolvable Microneedle) นวัตกรรมแผ่นแปะเข็มฉีดยาขนาดจิ๋ว ที่สามารถฝังตัวและละลายใต้ผิวหนังของเราได้! ผลงานจากบริษัท ไมนีด เทคโนโลยี จำกัด สตาร์ทอัพภายใต้การสนับสนุนของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร. ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

              “การฉีดยาเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาและป้องกันโรคที่ทุกคนล้วนต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีน การฉีดอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวาน การฉีดยาเพื่อรักษาการอักเสบของสิว แต่ผู้ที่เป็นโรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) การฉีดยาทำให้เกิดความทุกข์ทางใจ และสำหรับผู้ป่วยบางกรณี การฉีดยาก็ทำให้เกิดความทรมานทางกาย อย่างผู้ป่วยโรคเหงื่อออกมาก (Hyperhidrosis) ที่ต้องฉีดยาใต้รักแร้ 30 จุดต่อข้าง” ศ.ดร.ศุภศร กล่าวถึงที่มาของการพัฒนาแผ่นแปะไมโครนีดเดิล

ไมโครนีดเดิลแบบละลายได้ (Detachable and Dissolvable Microneedle)

จากปัญหาสู่การพัฒนา “ไมโครนีดเดิลแบบละลายน้ำ”

              ไมโครนีดเดิลเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาระยะหนึ่งแล้วในต่างประเทศ แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ศ.ดร.ศุภศร เผยถึงปัญหาของไมโครนีดเดิลรุ่นที่ผลิตก่อนหน้านี้ว่า “ตัวเข็มไม่สามารถละลายได้ในทันที ทำให้ต้องแปะแผ่นทิ้งไว้บริเวณผิวหนังนาน 2-6 ชั่วโมง นอกจากนี้ สภาพความชุ่มชื้นบนผิวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้ตัวยาที่ฝังอยู่ในเข็มเข้าสู่ผิวของแต่ละคนได้ไม่เท่ากัน ตัวยาละลายไม่หมดบ้าง หรือไม่ฝังเข้าไปในผิวหนังของผู้ใช้ ดังนั้น เราจึงพัฒนานวัตกรรมชิ้นนี้ให้เมื่อแปะแผ่นเข็มลงไปแล้ว ตัวเข็มที่ฝังยาไว้สามารถเข้าไปในผิวหนังได้ทันที คล้ายๆ กับการฝังเสี้ยนเข้าไปในร่างกาย แต่ไม่เจ็บและใช้เวลาเร็วกว่า”

เข็มเล็กแต่เต็มประสิทธิภาพ

            นวัตกรรมไมโครนีดเดิลเป็นการนำตัวยาผสมเข้าไปในเข็มขนาดเล็กไม่เกิน 1 มิลลิเมตร (1,000 ไมครอน) สามารถละลายเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ความรู้สึกบนผิวหนังที่ได้รับตัวยาแตกต่างจากการให้ยาด้วยเข็มฉีดยา

คุณโชคชัย พวงศิริ หัวหน้าฝ่ายบริหารธุรกิจ บริษัท ไมนีด เทคโนโลยี จำกัด

            คุณโชคชัย พวงศิริ หัวหน้าฝ่ายบริหารธุรกิจ บริษัท ไมนีด เทคโนโลยี จำกัด ผู้ได้ทดลองใช้ไมโครนีดเดิล กล่าวถึงประสบการณ์การใช้แผ่นแปะว่า “แม้จะรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างสัมผัสอยู่กับผิว แต่ไม่ได้รู้สึกเจ็บเหมือนเวลาโดนเข็มฉีดยา เพียงแค่รู้สึกเหมือนโดนเทป “ตีนตุ๊กแก” มานาบบนผิวหนังเท่านั้น และยังสามารถใช้เองได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องเพิ่งผู้เชี่ยวชาญอีกต่อไป”

             นอกจากลดความรู้สึกเจ็บและความน่ากลัวของเข็มฉีดยาแล้ว ข้อดีอีกประการของการใช้ไมโครนีดเดิลคือปริมาณยาที่ใช้ลดลง ทั้งนี้ ศ.ดร.ศุภศร ยกตัวอย่างสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า “จากที่เราเห็นในข่าว การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มีอยู่ 2 ประเภท คือการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อและการฉีดวัคซีนใต้ผิวหนัง สำหรับการฉีดยาใต้ผิวหนังจะสามารถกระตุ้นภูมิได้ดีกว่าและใช้โดสยาน้อยกว่าการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ แต่การฉีดยาใต้ผิวหนังจะฉีดได้ยากกว่าและหากฉีดบ่อยๆ ด้วยเข็มฉีดยาจะทำให้เกิดแผลเป็นได้”

              นวัตกรรมไมโครนีดเดิลแบบละลายจึงช่วยให้การฉีดยาใต้ผิวหนังเป็นเรื่องเบาๆ และลบโอกาสที่จะเกิด “รอยแผลเป็น” จากเข็มฉีดยา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องฉีดยาใต้ผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้ การใช้ไมโครนีดเดิลแบบละลายยังมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะอันตรายทางการแพทย์อย่างเข็มฉีดยาได้อีกด้วย

ไมโครนีดเดิล ใช้ง่าย ใครๆ ก็ฉีดยาให้ตัวเองได้

            ไมโครนีดเดิลตอบโจทย์ให้ผู้ที่จำเป็นต้องฉีดยาใต้ผิวหนังบ่อยๆ จะได้ไม่ต้องเดินทางไปรับบริการจากบุคลากรทางการแพทย์ เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง นอกจากนี้ ก็ยังเหมาะกับผู้ที่กลัวเข็มหรือไม่กล้าฉีดยาให้ตัวเอง

            “ที่ผ่านมา ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนหนึ่งต้องเสียชีวิตเพราะไม่กล้าฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง ทำให้ไม่ได้รับยาเพื่อรักษาโรคอย่างเต็มที่ ดังนั้น ไมโครนีดเดิลจึงตอบโจทย์ในส่วนนี้ เพราะผู้ป่วยสามารถฉีดยาให้ตัวเองได้ง่ายๆ”

            “นอกจากนี้ ไมโครนีดเดิลยังตอบโจทย์การยืดอายุและเก็บรักษาตัวยาด้วย เนื่องจากไมโครนีดเดิลเป็นการนำของเหลวมาทำให้เป็นของแข็ง ดังนั้น จึงสามารถยืดอายุของยา ทำให้สามารถเก็บได้นานขึ้นถึง 1-2 ปี จะเป็นประโยชน์มากในการกักเก็บรักษาและยืดอายุของตัวยา”

             ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ของไมโครนีดเดิล คุณโชคชัย กล่าวว่านวัตกรรมนี้จะมีบทบาทช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการให้บริการการรักษาทางไกล (Telemedicine) โดยคนไข้ไม่ต้องเข้ามารับการฉีดยาเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ที่โรงพยาบาลในอนาคต

วิธีการใช้ “ไมโครนีดเดิล”

               ชุดไมโครนีดเดิลแบบละลายประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ชิ้น คือ แผ่นไมโครนีดิล และแผ่นน้ำที่มีลักษณะคล้ายแผ่นทิชชูเปียก โดยวิธีการใช้งานเริ่มจากแปะแผ่นไมโครนีดเดิลบนผิวหนังบริเวณที่ต้องการฉีดยา ใช้นิ้วมือกดให้ทั่วแผ่นเพื่อให้ตัวเข็มที่ฝังยาไว้ฝังตัวใต้ผิวหนัง จากนั้น นำแผ่นน้ำมาวางทาบลงบนบริเวณที่แปะแผ่นไมโครนีดเดิลไว้เพื่อให้ตัวเข็มละลาย ปล่อยทิ้งไว้ 2 นาที เพื่อให้ตัวยาละลายเข้าใต้ผิวหนัง แล้วจึงลอกแผ่นน้ำและแผนไมโครนีดเดิลออกเป็นอันเสร็จสิ้น ทั้งสะดวกและรวดเร็ว

               สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องอาการแพ้ ศ.ดร. ศุภศร อธิยายว่า “ตัวเข็มไมโครนีดเดิลทำมาจากสารไฮยาลูโรนิค แอซิด ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่อยู่ในร่างกายของเราอยู่แล้วจึงไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ตัวเข็มสามารถใช้ได้กับทุกคน แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดยาหรือวัคซีนที่ใช้ฉีดด้วย หากผู้ใช้แพ้ยาหรือแพ้วัคซีนก็มีโอกาสที่จะแพ้”

วิธีการใช้ไมโครนีดเดิลแบบละลายได้

กลุ่มยาที่เหมาะกับการทำไมโครนีดเดิล

             ไมโครนีดเดิลสามารถใช้ได้กับยาและวัคซีนทุกประเภทที่ฉีดเข้าทางผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นยาเฉพาะจุด เช่น ยารักษาสิว ยาแก้แผลเป็นนูน หรือยาที่ใช้กับระบบในร่างกาย เช่น ยารักษาเบาหวาน ยารักษาไมเกรน ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด เป็นต้น

            “สำหรับไมโครนีดเดิล เราสามารถควบคุมปริมาณยา ความลึกของชั้นผิวหนังที่ต้องการฉีดและเวลาที่จะให้ยาละลายได้ตามความเหมาะสมกับยาที่ต้องการใช้” คุณโชคชัย กล่าว

             ส่วนประเภทยาที่ไม่เหมาะที่จะใช้กับไมโครนีดเดิล คือ ยาบางประเภทที่ใช้โดสสูง เนื่องจากส่วนแผ่นแปะและเข็มมีขนาดที่จำกัด ทำให้ใส่ยาที่มีโดสสูงไม่พอ ปริมาณยาที่สามารถบรรจุได้คือ 1 มิลลิกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเซนติเมตร

ลู่ทางการตลาดของไมโครนีดเดิล

             คุณโชคชัย กล่าวถึงลู่ทางการพัฒนาไมโครนีดเดิลในปัจจุบันว่าอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตลาดเครื่องสำอาง และกลุ่มตลาดยา

              ในตลาดเครื่องสำอาง คุณโชคชัย เผยว่าผู้สนใจในประเภทของกลุ่มโรงพยาบาลและคลินิกเสริมความงาม ทั้งในและต่างประเทศ ได้สั่งผลิตและนำไมโครนีดเดิลไปใช้งานจริงแล้วกับวิตามินและสารบำรุงสำหรับผิว เป็นต้น ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียน FDA จากไทยและยุโรปเป็นที่เรียบร้อย ส่วนในอนาคต หากมีผู้สนใจที่มีสูตรยาก็สามารถนำมาให้บริษัทพัฒนาได้

            สำหรับตลาดยา ไมโครนีดเดิลอยู่ในขั้นตอนการทดสอบความเป็นไปได้ (Proof of Concept) และกำลังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อทำการวิจัยทางคลินิกก่อนวางขายตามร้านขายยาทั่วไป

           “เราได้ทำการทดสอบกับยาหลายประเภท เช่น ยาลดการอักเสบของผิวหนัง ยารักษาสิว รวมถึงยาลดระดับน้ำตาลในเลือดรักษาเบาหวาน ซึ่งได้ผลดี แต่ในการนำไปขายเป็นผลิตภัณฑ์ได้ต้องผ่านระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน” คุณโชคชัย กล่าว

ผลิตภัณฑ์แผ่นแปะสิวอักเสบ และแผ่นแปะสำหรับลดริ้วรอบ ที่ทำจากนวัตกรรมไมโครนีดเดิลแบบละลายได้

             นวัตกรรมไมโครนีดเดิลแบบละลายได้สามารถต่อยอดพัฒนาใช้ได้กับยาได้หลายประเภท เช่น แผ่นแปะสมุนไพรสำหรับแผลยุงกัด นอกจากนี้ ยังสามารถปรับคุณสมบัติและองค์ประกอบของตัวเข็มเพื่อให้เข้ากับคุณสมบัติของยาต่างๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น สารที่ใช้ฉีด ขนาดของเข็ม ระยะเวลาในการละลายสาร

            ไมโครนีดเดิลแบบละลายจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการรักษาและป้องกันโรคอย่างกว้างขวาง เพราะไม่ต้องกลัวเข็มและกลัวเจ็บอีกต่อไป ในตอนนี้ เรื่องเข็ม … ก็เป็นแค่เรื่องจิ๋วๆ เท่านั้น

            สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะนำสูตรยาที่มีอยู่มาทำเป็นไมโครนีดเดิลแบบละลายได้ หรือมีความคิดที่จะต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาเป็นไมโครนีดเดิลแบบละลายได้สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ไมนีด เทคโนโลยี จำกัด โทร. 096-974-8855 (คุณโชคชัย)

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “แขนกลรดน้ำแปลงผัก” ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้กับเด็กในชนบท

Next Post

เภสัช จุฬาฯ พัฒนาน้ำกระสายยาฟาวิพิราเวียร์ รสหวานเหมาะสำหรับเด็ก ลดภาระการเตรียมยา

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
เภสัช จุฬาฯ พัฒนาน้ำกระสายยาฟาวิพิราเวียร์ รสหวานเหมาะสำหรับเด็ก ลดภาระการเตรียมยา

เภสัช จุฬาฯ พัฒนาน้ำกระสายยาฟาวิพิราเวียร์ รสหวานเหมาะสำหรับเด็ก ลดภาระการเตรียมยา

เอ็มเทคพัฒนา “Well-Living Systems” ระบบดูแลผู้สูงอายุ ผู้ช่วยของลูกหลาน

เอ็มเทคพัฒนา “Well-Living Systems” ระบบดูแลผู้สูงอายุ ผู้ช่วยของลูกหลาน

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.