mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นักวิจัยไทยพัฒนา “ขลู่” สู่สินค้านวัตกรรม เพิ่มมูลค่าให้กับพืชท้องถิ่น

นักวิจัยไทยพัฒนา “ขลู่” สู่สินค้านวัตกรรม เพิ่มมูลค่าให้กับพืชท้องถิ่น

0

            ‘ขลู่’ คือ พืชท้องถิ่นที่พบได้ในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นพืชที่คนชุมชนบ้านไหนหนัง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ คุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะมีการนำมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ สร้างรายได้เสริมมายาวนาน โดยในวันนี้ผลิตภัณฑ์จากขลู่จะผ่านการยกระดับไปอีกขั้น เมื่อชุมชนไหนหนังร่วมมือกับนักวิจัยไทยพัฒนาขลู่สู่ ‘สินค้านวัตกรรม’ ที่คนในชุมชนสามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง

             วลีวัลย์ เอกนัยน์ นักวิจัยทีมวิจัยนาโนเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและเวชสำอาง กลุ่มวิจัยการห่อหุ้มระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อธิบายว่า ขลู่ หรือ Pluchea indica (L.) Less เป็นไม้พุ่ม วงศ์ Asteraceae พบได้บริเวณพื้นที่ชื้นแฉะของประเทศแถบเอเชีย ในใบขลู่มีสารสำคัญที่มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสารสำคัญในการดูแลร่างกาย คนในพื้นที่จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นชา และทำเป็นอาหาร เช่น ยำไหนหนังหรือยำใบขลู่ สำรับท้องถิ่นเพื่อสุขภาพสำหรับต้อนรับแขกผู้มาเยือน

             “ทั้งนี้ชุมชนบ้านไหนหนังมีความต้องการให้ทีมวิจัยนำขลู่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้โจทย์  ‘กระบวนการผลิตที่คนในชุมชนคุ้นเคย’ และผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นจะต้อง ‘เหมาะแก่การวางจำหน่ายในสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ของชุมชน’ จึงได้วิจัยและพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แชมพูและครีมอาบน้ำที่มีสารต้านอนุมูลอิสระจากใบขลู่ในรูปอนุภาคนาโนเป็นส่วนประกอบ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวสายดูแลสุขภาพที่มองหาผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผิวกาย และเป็นการเพิ่มประเภทของสินค้าเพื่อสุขภาพที่มีจุดเด่นเรื่องการนำพืชท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม”

ชาขลู่ ชุมชนบ้านไหนหนัง

             ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วลีวัลย์อธิบายว่า ทีมวิจัย (รวิวรรณ ถิรมนัส, ชุติกร พึ่งบุญ และสุภัชยา แจ่มใส) พัฒนากระบวนการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากใบขลู่ให้อยู่ในรูปอนุภาคนาโน เพื่อลดจุดอ่อนของการนำสารสกัดจากสมุนไพรมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ ทั้งเรื่องการแยกชั้น การตกตะกอนของสมุนไพร หรือการทำให้ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสี นอกจากนี้การพัฒนาสารสำคัญให้อยู่ในรูปอนุภาคนาโนยังช่วยให้สารออกฤทธิ์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงช่วยลดปริมาณการใช้สารสำคัญในผลิตภัณฑ์ให้เหลือเพียง 1% แตกต่างจากการใช้สารสำคัญทั่วไปที่ต้องใช้ในสัดส่วน 2-3% ซึ่งจะส่งผลดีในเรื่องในเรื่องการไม่กระทบต่อสูตรการผลิตผลิตภัณฑ์ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี

             “กระบวนการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากใบขลู่และพัฒนาให้อยู่ในรูปอนุภาคนาโน (Nano encapsulation) ทำได้ง่าย เพียงต้มวัตถุดิบในอุณหภูมิที่เหมาะสมและนำไปผสมกับองค์ประกอบอื่นๆ ตามสัดส่วนที่กำหนด จากนั้นจึงนำอนุภาคนาโนขลู่ที่ได้มาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตผลิตภัณฑ์แชมพูและครีมอาบน้ำโดยใช้กระบวนการกวน ซึ่งกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ คนในชุมชนมีทักษะ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีอุปกรณ์เป็นต้นทุนเดิมอยู่แล้ว”

             วลีวัลย์เสริมข้อมูลว่า ปัจจุบันนาโนเทคได้ทำวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ในขั้นตอนการเตรียมถ่ายทอดกระบวนการผลิตสู่ชุมชน โดยในอนาคตชุมชนตั้งเป้าผลิตเป็นสินค้านวัตกรรมเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม และใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมจุดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวของชุมชน อาทิ ให้บริการแก่ลูกค้าในโรงแรมและสปา และใช้เป็นหนึ่งในสินค้าของฝากที่ชูอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านไหนหนัง เพื่อหนุนเสริมการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

             “นาโนเทคพร้อมให้บริการการวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ผลิต โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ที่มุ่งใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียกระดับเศรษฐกิจฐานชีวภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม ลดการสร้างของเสีย ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” วลีวัลย์กล่าวทิ้งท้าย

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “ไส้ต้นมันสำปะหลังดูดซับคราบน้ำมัน” ไอเดียสุดเจ๋ง ! จากนศ.มจธ.

Next Post

นศ.เทคนิคสตูล คิดค้น หน้ากากอนามัยจากเส้นใยธรรมชาติ ย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

3 months ago
33
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

3 months ago
19
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

4 months ago
42
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

4 months ago
33
Load More
Next Post
นศ.เทคนิคสตูล คิดค้น หน้ากากอนามัยจากเส้นใยธรรมชาติ ย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นศ.เทคนิคสตูล คิดค้น หน้ากากอนามัยจากเส้นใยธรรมชาติ ย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จุฬาฯ  พัฒนา “แอม-ไฟน์” สเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรม

จุฬาฯ พัฒนา “แอม-ไฟน์” สเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
98

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.