mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มทร.ศรีวิชัย พัฒนา “ครีมกันแดดจากสารสกัดสาหร่ายขนนก” ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง

มทร.ศรีวิชัย พัฒนา “ครีมกันแดดจากสารสกัดสาหร่ายขนนก” ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคผิวหนัง

0

             ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนมีแสงแดดจัดเกือบตลอดปี และถึงแม้แสงแดดจะมีประโยชน์ แต่หากได้รับมากเกินไปก็เป็นอันตราย และเกิดผลเสียต่อผิวหนังได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดจึงเป็น สิ่งจำเป็นในการปกป้องผิวหนังจากแสงแดด เนื่องจากอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV radiation) ในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ กัน อาจทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย ผิวไหม้หรือทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นการเลือกผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับสภาพผิว

               ผศ.สุนันทา ข้องสาย อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของงานวิจัย “การพัฒนาครีมกันแดดโดยใช้อานุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ร่วมกับสารสกัดจากสาหร่ายขนนก” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)ว่า ปัจจุบันมีการนำสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นจำนวนมาก โดยมีสาหร่ายหลายชนิด ที่นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในรูปแบบครีมบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ต้านการเกิดริ้วรอยจากแสงแดด

             เนื่องจากอนุมูลอิสระมีบทบาทในการเกิดการอักเสบ และการทำลายเนื้อเยื่อ มีผลต่อความเสื่อมหรือการแก่ของเซลล์ ทำให้เป็นต้นเหตุของการที่ ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดโรคหลอดเลือดและมะเร็ง โดยมีการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่าเครื่องสำอางที่ผสมสาหร่ายและสารสกัดจากสาหร่ายเกลียวทองช่วยให้ผิวพรรณดีขึ้นและลดริ้วรอย ส่วนในประเทศไทยก็ได้มีบริษัทหลายแห่งที่ใช้สาหร่ายเกลียวทองเป็นเครื่องสำอางในรูปครีมบำรุงผิว ซึ่งสาหร่ายหลายชนิดที่นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในรูปแบบครีมบำรุงผิว โดยมีคุณสมบัติทำให้ผิวชุ่มชื้น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ต้านการเกิดริ้วรอยจากแสงแดด

            สำหรับการพัฒนาสูตรครีมกันแดดใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีการทางชีวภาพ (Green synthesis) ซึ่งใช้สารสกัดจากสาหร่ายขนนก (Caulerpa racemose) เป็นตัวรีดิวซ์ เนื่องจากสาหร่ายขนนก มีองค์ประกอบทางพฤกษเคมีที่สำคัญ ได้แก่ แทนนิน ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ แอลคาลอยด์ ไกลโคไซด์ และเทอร์พีนอยด์ ซึ่งมีสารที่สำคัญ เช่น คาร์บอนิล หรือกลุ่ม ไฮดรอกซี ที่สามารถให้อิเล็กตรอนแก่ซิงค์ได้ เพื่อลดความเป็นพิษเมื่อนำไปใช้ผสมในครีมกันแดด นอกจากนั้นสาหร่ายขนนกยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังได้ดี

             ทีมผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาการสังเคราะห์อนุภาคซิงค์นาโนออกไซด์เบื้องต้น โดยการใช้สารสกัดจากเปลือกกล้วยป่าโดยเทคนิคโซโนเคมี พบว่าได้อนุภาคที่มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว-เหลืองนวล และเมื่อนำไปศึกษาลักษณะอนุภาคด้วยเทคนิค SEM จะมีลักษณะอนุภาคเป็นทรงกลมหรือ spherical ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า เมื่อนำมาผสมในครีมกันแดดจะมีสมบัติป้องกันรังสียูวีได้

             โดยในการสังเคราะห์อนุภาคซิงค์ออกไซด์ เพื่อใช้ผสมในครีมกันแดดจะสังเคราะห์ให้มีขนาดอนุภาคในระดับนาโนเมตร ด้วยวิธีโซโนเคมีเป็นวิธีการสังเคราะห์ผลึกที่อาศัยคลื่นเสียง ความถี่สูงหรือคลื่นอัลตราซาวด์ เมื่อใช้อนุภาคซิงค์ออกไซด์ที่มีขนาดอนุภาคระดับนาโนเมตรจะช่วยทำให้การเกาะผิวดีไม่ทำให้เกิดความขาวบนผิว และไม่ทำให้เหนียวเหนอะหนะ ดังนั้นครีมกันแดดที่พัฒนาขึ้นจะมีการประเมินประสิทธิภาพ ได้แก่ ความเป็นเนื้อเดียวกัน สภาพกรดเบส ความสามารถในการดูดกลืนแสงยูวี ด้วยวิธีการศึกษาจากการฟอกสีย้อม เมทิลลีนบลู และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการป้องกันรังสียูวีกับครีมกันแดดในท้องตลาด

              ทั้งนี้ จากการสังเคราะห์ พบว่าอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์เจืออลูมิเนียม และอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์เจือโซเดียม จากสารสกัดจากสาหร่ายขนนก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH ได้ดีกว่าอนุภาคซิงค์ออกไซด์ และการศึกษาการย่อยสลายสีย้อมของเมทิลลีน บลู ของอนุภาคนาโนทั้ง 3 ชนิด พบว่า อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์เจืออลูมิเนียม และอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์เจือโซเดียม จากสารสกัดจากสาหร่ายขนนก มีประสิทธิภาพในการป้องกันแสงยูวีได้มากกว่าอนุภาคซิงค์ออกไซด์ จากสารสกัดจากสาหร่ายขนนก

              ผศ.สุนันทา กล่าวด้วยว่า ขณะนี้การพัฒนาครีมกันแดดยังอยู่ในช่วงระหว่างการทดลองทางห้องปฎิบัติการในเรื่องของความปลอดภัย ยังไม่ได้ทดสอบในผิวหนังของมนุษย์ โดยคาดการณ์ว่าจะทดสอบอีกครั้งในระยะต่อไป ทั้งนี้ในอนาคตจะพัฒนาสูตรครีมกันแดดที่มีความหลากหลายมากขึ้น และพัฒนาต่อยอดไปสู่สาหร่ายชนิดอื่นๆ

ShareTweetShare
Previous Post

เด็กเทคนิคแม่สอด คิดค้น “Home Care” ระบบติดตามช่วยเหลือประเมินผู้ป่วยโควิดแบบรักษาที่บ้าน

Next Post

ม.มหิดล คิดค้น “สต๊าซ STAAS หยุด-คิด-ถาม-ทำ” เกมออนไลน์เพื่อผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
ม.มหิดล คิดค้น  “สต๊าซ STAAS หยุด-คิด-ถาม-ทำ” เกมออนไลน์เพื่อผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ

ม.มหิดล คิดค้น “สต๊าซ STAAS หยุด-คิด-ถาม-ทำ” เกมออนไลน์เพื่อผู้สูงวัยรู้ทันสื่อ

นวัตกรรมฝีมือคนไทย “Smart Handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ รับมือชีวิตวิถีใหม่

นวัตกรรมฝีมือคนไทย “Smart Handy” อุโมงค์ฆ่าเชื้อโรคอัตโนมัติ รับมือชีวิตวิถีใหม่

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.