mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “กำแพงกันคลื่นแบบลอยตัว” ลดแรงของคลื่นน้ำที่เกิดจากการวิ่งของรถ

นวัตกรรม “กำแพงกันคลื่นแบบลอยตัว” ลดแรงของคลื่นน้ำที่เกิดจากการวิ่งของรถ

0

             ทีมนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำหลักการของ กำแพงกันคลื่น อุปกรณ์ติดตั้งริมทะเลเพื่อลดพลังงานของคลื่นที่พัดเข้ามากัดเซาะชายฝั่ง มาพัฒนาเป็น “กำแพงกันคลื่นแบบลอยตัว” ที่สามารถใช้ลดแรงของคลื่นน้ำ ที่เกิดจากการวิ่งของยานยนต์บนถนนที่ถูกน้ำท่วมได้ถึง 42.7 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงจุดเด่นที่เหนือกว่าการกันคลื่นด้วยแผงกั้นแบริเออร์หลายประการ

             นายวชิรวิทย์ รางแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มจธ.กล่าวถึงที่มาของ “โมดูลซับแรงกระแทกน้ำจากการขับรถในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม” (Water Shock-Absorbing Module from Driving A Flood Situation) ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นว่า เป็นชิ้นงานที่ทำขึ้นเพื่อเข้าร่วมประกวดในงาน “Ford+ Innovator Scholarship 2021” ซึ่งเป็นเวทีประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ ในหัวข้อ นวัตกรรมพลังบวกเพื่อโลกที่น่าอยู่ (Plus For A Better World Challenge) โดยโจทย์จะต้องเป็นงานเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถนำพัฒนาให้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งในช่วงนั้นมีข่าวและคลิปต่างๆ ที่สื่อถึงความทุกข์ของคนริมถนน ทั้งผู้ที่พักอาศัยในของอาคารบ้านเรือนและร้านค้า รวมถึงผู้คนที่เดินสัญจรไปมา ซึ่งนอกจากน้ำท่วมขังที่ต้องเผชิญแล้ว ยังต้องรับมือกับคลื่นน้ำ ที่เกิดจากการวิ่งของรถที่ซัดเข้ามาสร้างความเสียหายทั้งกับร่างกายและทรัพย์สิน

             “ด้วยเหตุนี้เราต้องการจะออกแบบกำแพงกันคลื่นที่สามารถลดพลังของคลื่นน้ำจากยานยนต์บนถนน ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าการกั้นคลื่นด้วยแผงกั้นแบริเออร์สีส้ม โดยโจทย์คือกำแพงกันคลื่นนี้จะต้องมีความโดดเด่นในเชิงความคิดสร้างสรรค์ สามารถพิสูจน์ประสิทธิภาพได้ในเชิงวิศวกรรม และมีความเป็นไปได้ในการนำไปผลิตใช้งานได้จริง”

              ความท้าทายของงานชิ้นนี้ในเชิงวิศวกรรม คือ กำแพงคลื่นทั่วไปจะสร้างขึ้นเพื่อจัดการกับคลื่นจากทะเลที่มีขนาดและทิศทางที่ค่อนข้างแน่นอนในแต่ละช่วงเวลา แต่กำแพงคลื่นที่จะสร้างขึ้นมานี้ นอกจากต้องทำงานในสภาวะที่ลูกคลื่นที่เกิดจากยานยนต์ที่มีขนาดและความเร็วต่างกันอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานกับน้ำท่วมที่ระดับความสูงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

             “เนื่องจากระดับน้ำท่วมบนถนนแต่ละเส้น หรือในแต่ละวัน จะไม่เท่ากัน และการสร้างกำแพงให้สูงไว้ก่อนนั้น นอกจากต้นทุนที่สูงแล้วยังยากต่อการเคลื่อนย้าย ดังนั้น เราจึงเลือกออกแบบโดยใช้วัสดุที่ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ โดยใช้การสวมเข้าไปบนเสาเหล็กกันสนิมที่ตั้งอยู่บนตัวฐานที่มีน้ำหนัก และออกแบบให้ส่วนรับคลื่นมีความโค้งเหมือนตัวอักษร C ที่จะช่วยลดและเปลี่ยนทิศทางของมวลน้ำที่เข้ามา ซึ่งออกแบบให้มีระยะห่างระหว่างตัวเสากับตัวกำแพงเล็กน้อย ทำให้นอกจากการขยับขึ้นลงได้ตามระดับน้ำ ณ เวลานั้นแล้ว ยังสามารถขยับไปทางด้านหน้า ด้านหลัง เพื่อสร้างคลื่นมา สวนกับคลื่นจากยานยนต์ ทำให้กำแพงกันคลื่นแบบลอยตัวของเรานอกจากสามารถลดแรงของคลื่นได้แล้วยังสามารถสะท้อนและหักล้างพลังของคลื่นลูกใหม่ที่จะเข้ามาได้อีกด้วย ซึ่งจากการวิเคราะห์โดยการนำหลักการพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณมาใช้ในการวิเคราะห์การไหลภายนอกของโมดูล ร่วมกับการทดสอบด้วยแบบจำลองในตู้กระจกทดสอบในมาตราส่วน 1:10 พบว่ากำแพงคลื่นที่สร้างจากโฟมของเรา สามารถลดแรงดันของคลื่นได้ถึง 42.7 เปอร์เซ็นต์” นายปภังกร สุขเพ็ญ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิศวกรรมไฟฟ้า สมาชิกอีกท่านหนึ่งของทีม ที่รับผิดชอบการสร้างโมเดลจำลอง เพื่อทดสอบผลของการออกแบบ กล่าวถึงจุดเด่นของกำแพงคลื่นแบบลอยตัวที่พัฒนาขึ้น

             ด้านนางสาวรุ่งอรุณ คุณสมิตปัญญา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิศวกรรมไฟฟ้า สาววิศวกรรมคนเดียวของทีม ที่รับผิดชอบชุดสร้างคลื่นเพื่อใช้ในการทดสอบ กล่าวเสริมว่า “เมื่อเปรียบเทียบกับแผงกั้นแบริเออร์สีส้มแล้ว อุปกรณ์ของเราที่ประกอบขึ้นมีจุดเด่นหลายประการ ทั้งขนาดที่เล็กกว่า และน้ำหนักที่เบากว่า คือ มีน้ำหนักเพียง 15 กิโลกรัม ในขณะที่แบริเออร์โดยทั่วไปน้ำหนัก 22 กิโลกรัม ทำให้ง่ายต่อการขนย้ายและจัดเก็บ รวมถึงความสูงของแผ่นที่ปรับขึ้นลงได้ ตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร หากน้ำท่วมไม่สูงก็สามารถปรับระดับความสูงให้เหมาะสมได้ คนสัญจรไปมาสามารถก้าวข้ามกำแพงกันคลื่นนี้ได้เลย ขณะที่แผงกั้นแบริเออร์สีส้มมีขนาดความสูง 1 เมตร ปรับระดับไม่ได้และไม่สามารถก้าวข้ามได้”

               และด้วย “ความคิดที่สร้างสรรค์” กับ “ประสิทธิภาพที่พิสูจน์ได้” และ “เป็นนวัตกรรมที่สร้างได้จริง” ทำให้ “โมดูลซับแรงกระแทกน้ำจากการขับรถในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม” ของ 3 นักศึกษาวิศวกรรม มจธ. คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ของการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ Ford+ Innovator Scholarship 2021 มาได้สำเร็จ

             “เนื่องจากรูปแบบคลื่นที่เกิดจากยานพาหนะต่างๆ จะมีลักษณะใกล้เคียงกัน ดังนั้นนอกจากกำแพงกันคลื่นแบบลอยตัวของเราจะใช้ได้จริงกับช่วงน้ำท่วมแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ติดตั้งตามแนวคูคลอง เพื่อการลดแรงของคลื่นที่เกิดจากเรือที่ผ่านไปมาได้อีกด้วย” วชิรวิทย์ กล่าวเสริมถึงจุดเด่นของเครื่อง

              ท้ายที่สุด น้องๆ ทั้ง 3 คน กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของความสำเร็จครั้งนี้ เกิดจากคำแนะนำของ ดร.กำธร เสพย์ธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มจธ. ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาที่แนะนำให้ใช้กระบวนการทางวิศวกรรม ทั้งการคำนวณด้วยโปรแกรม (Simulation) และการทดลองด้วยแบบจำลอง มาทดแทนการสร้างและทดลองจากชิ้นงานจริงที่ไม่สามารถทำได้จากสถานการณ์การระบาดของโควิด และระยะเวลาที่จำกัด รวมถึงขอบคุณทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ที่ให้ใช้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงคอมพิวเตอร์ Workstation ของคณะในการคำนวณทางวิศวกรรมอีกด้วย

Share1Tweet1Share
Previous Post

โมบายแอปพลิเคชัน “ท่องเที่ยวโพธาราม” ส่งเสริมการท่องเที่ยว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

Next Post

นักวิจัย ม.นเรศวร พัฒนา “เครื่องออกกำลังกาย พร้อมแอปฯเกมสำหรับผู้สูงอายุ” ช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนลำตัว

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

2 weeks ago
101
ระบบวิเคราะห์เสียงน้ำรั่วด้วย AI ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

ระบบวิเคราะห์เสียงน้ำรั่วด้วย AI ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ

5 months ago
22
i FOUND PET แพลตฟอร์มช่วยเจ้าของตามหาสัตว์เลี้ยง
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

i FOUND PET แพลตฟอร์มช่วยเจ้าของตามหาสัตว์เลี้ยง

5 months ago
7
Q-CHANG (คิวช่าง) แพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์รวมช่างแบบครบวงจร
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

Q-CHANG (คิวช่าง) แพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์รวมช่างแบบครบวงจร

6 months ago
18
Load More
Next Post
นักวิจัย ม.นเรศวร พัฒนา “เครื่องออกกำลังกาย พร้อมแอปฯเกมสำหรับผู้สูงอายุ” ช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนลำตัว

นักวิจัย ม.นเรศวร พัฒนา “เครื่องออกกำลังกาย พร้อมแอปฯเกมสำหรับผู้สูงอายุ” ช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนลำตัว

มข. ร่วมกับเอกชน ผลิตวัสดุนาโนจากแกลบ นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่อพลังงานโลก

มข. ร่วมกับเอกชน ผลิตวัสดุนาโนจากแกลบ นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่อพลังงานโลก

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.