mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
นักวิจัย ม.นเรศวร พัฒนา “เครื่องออกกำลังกาย พร้อมแอปฯเกมสำหรับผู้สูงอายุ” ช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนลำตัว

นักวิจัย ม.นเรศวร พัฒนา “เครื่องออกกำลังกาย พร้อมแอปฯเกมสำหรับผู้สูงอายุ” ช่วยบริหารกล้ามเนื้อส่วนลำตัว

0

              ในปี 2564 ประเทศไทยมีประชากรที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ประมาณ 9 ล้านคน ถ้าคิดเป็นสัดส่วนจะอยู่ที่ประมาณ 12.8% เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) หรือมีสัดส่วนจำนวนประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ มากกว่า 7% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศ

              การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เช่นนี้ ทำให้หลายภาคส่วนพยายามที่จะออกแบบรูปแบบการใช้ชีวิตให้ผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ผ่านองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสุขภาพที่พบมากที่สุด คือ การเคลื่อนที่ โรคในระบบกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง และปัญหาด้านการทรงตัว ดังนั้น การมีอุปกรณ์ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกต่างๆ และสามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงการป้องกัน และรักษาสุขภาพของตนทั้งสุขภาพกายและจิตใจ จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ เหมะวัฒนะชัย อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึงงานวิจัยเครื่องออกกำลังกาย และวัดความแข็งแรง พร้อมแอปพลิเคชันเกมสำหรับผู้สูงอายุ ว่า เมื่อผู้สูงอายุเริ่มมีอายุมากขึ้น การทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจะเริ่มเสื่อมลง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จากเหตุผลดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องออกกำลังกาย สำหรับบริหารกล้ามเนื้อส่วนลำตัว หรือ Trunk muscle exercise machine (TMx ) โดยมีส่วนประกอบหลายส่วน เช่น 1) แผ่นปรับมุม 2) Rotary Encoder 3) Microcontroller 4) โหลดเซลล์และชุดสปริง 5) เบาะรองนั่ง และ 6) ก้านจับ เป็นต้น โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

                 หลักการทำงานของเครื่อง คือ ก้านจับจะสามารถยึดติดกับแผ่นปรับมุมที่องศาต่างๆ ตามต้องการ ด้วยการยึดหมุดเข้ากับรูที่แผ่นปรับมุมตามโหมดการออกกำลังกาย โดยเมื่อผู้ใช้ดันก้านหมุนไปข้างหน้า หรือดึงก้านหมุนมาด้านหลัง จะทำให้แผ่นหมุนซึ่งเชื่อมต่อกับกลไกสายสลิงมีการหมุนตาม ทำให้สายสลิงดึงชุดสปริงให้ยืดขึ้น ซึ่งเป็นแรงต้านระหว่างการออกกำลังกาย โดยปลายอีกด้านของชุดสปริงมีการยึดติดกับโหลดเซลล์ เพื่อใช้วัดแรง นอกจากนี้มุมของแผ่นหมุนที่หมุนไปจะมีการวัดด้วยเซ็นเซอร์วัดมุม (Rotary encoder) ทำให้ระบบสามารถรับรู้ว่าผู้ใช้งานดันก้านจับไปที่มุมเท่าไร โดยตัวเครื่องสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม

              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ กล่าวด้วยว่า ชุดเบาะรองนั่งปรับมุมได้ 5 ระดับ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถออกกำลังกายกล้ามเนื้อได้หลายส่วน ตามมุมองศาที่เลือก ปรับแรงต้านได้ง่ายด้วยการปรับความตึงเริ่มต้นจากการยึดหมุดที่รูต่างกัน รวมทั้งการปรับระยะช่วงมุมที่ดันก้านจับระหว่างการออกกำลังกาย โดยจะมีไมโครคอนโทรลเลอร์ทำหน้าที่รับสัญญาณจากโหลดเซลล์และเซ็นเซอร์วัดมุม (rotary encoder) เพื่อส่งค่าแรงและมุมให้กับคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ทำการประมวลผล

              ทั้งนี้ จากการทดสอบกล้ามเนื้อเมื่อใช้งานเครื่อง TMx พบว่า กล้ามเนื้อส่วนของลำตัวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงกล้ามเนื้อแขนและลำคอมีการออกแรงในขณะใช้เครื่อง โดยการออกแรงในแต่ละกล้ามเนื้อมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการปรับหมุดในแต่ละโหมด นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการออกกำลังกายส่วนอื่นๆ เช่น แขน หรือขาได้ด้วย

             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ กล่าวด้วยว่า ได้พัฒนาแอปพลิเคชันเกม สำหรับการใช้งานกับเครื่องออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนลำตัว (TMx) ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านคอมพิวเตอร์ และ ผ่านสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยเกมที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกสนุกกับการออกกำลังกาย สามารถแข่งขันกับเพื่อนผ่านระบบอินเตอร์เน็ทได้ด้วย โดยเมื่อเล่นเกมด้วยเครื่องนี้ จบด่านจะมีหน้าจอแสดงผลพลังงานที่ใช้ระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อจูงใจให้ผู้สูงอายุหันมาออกกำลังกายมากขึ้น 

             “การใช้งานอุปกรณ์ TMX ร่วมกับเกมนั้นสามารถใช้งานได้หลายท่าและออกกำลังกายได้หลายส่วนของร่างกาย ในแต่ละท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นท่าแขนหรือท่าท้อง ท่าดึงหรือท่าดัน ผู้ใช้จะเริ่มท่าจากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้ายของท่า โดยใช้สัญญาณจากมุมองศาของเครื่อง TMx เป็นตัวควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวละครภายในเกม โดยมีเกมย่อยในงานวิจัยนี้สามแบบคือ เกมวิ่งแข่ง เกมกระโดดหลบสิ่งกีดขวาง และเกมหลบระเบิด” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเมธ กล่าว

             ขณะนี้มีการทดสอบการใช้เครื่อง ในหน่วยวิจัยเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมความเที่ยงตรงและการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีนิสิตจากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาทดลองและวิจัยเพิ่มเติม ซึ่งจากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเครื่อง TMx มีความปลอดภัย ในการใช้งาน และ คณะผู้วิจัยมีแผนที่จะทดลองใช้ในผู้สูงอายุต่อไป

              ทั้งนี้ ในอนาคตจะต่อยอด และพัฒนาตัวเครื่องให้มีระบบเพิ่มเติม เพื่อบริหารกล้ามเนื้อได้ครบทุกส่วน มีเกมให้เลือกมากขึ้น พร้อมมองไปถึงการสร้างเครือข่ายพัฒนาแอปพลิเคชันออกกำลังกายเพื่อผู้สูงอายุให้เป็นระบบที่ดูแลครบวงจร

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “กำแพงกันคลื่นแบบลอยตัว” ลดแรงของคลื่นน้ำที่เกิดจากการวิ่งของรถ

Next Post

มข. ร่วมกับเอกชน ผลิตวัสดุนาโนจากแกลบ นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่อพลังงานโลก

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

10 months ago
58
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

10 months ago
32
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

10 months ago
127
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

10 months ago
62
Load More
Next Post
มข. ร่วมกับเอกชน ผลิตวัสดุนาโนจากแกลบ นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่อพลังงานโลก

มข. ร่วมกับเอกชน ผลิตวัสดุนาโนจากแกลบ นวัตกรรมแบตเตอรี่ยุคใหม่เพื่อพลังงานโลก

ม.กาฬสินธุ์ คิดค้นนวัตกรรม “เครื่องขอดเกล็ดปลาตะเพียน” ลดต้นทุน เพิ่มกำลังการผลิต

ม.กาฬสินธุ์ คิดค้นนวัตกรรม “เครื่องขอดเกล็ดปลาตะเพียน” ลดต้นทุน เพิ่มกำลังการผลิต

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    100 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    82 shares
    Share 33 Tweet 21
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.