mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
คลอโรฟิลล์สกัดพร้อมชงจากผักตบชวา เพิ่มมูลค่าวัชพืชไร้ค่าเหลือทิ้ง สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

คลอโรฟิลล์สกัดพร้อมชงจากผักตบชวา เพิ่มมูลค่าวัชพืชไร้ค่าเหลือทิ้ง สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

0

              ผักตบชวาเป็นวัชพืชน้ำที่ก่อปัญหาในแม่น้ำลำคลอง ทั้งก่อให้เกิดน้ำเน่าเสีย กีดขวางการไหลของน้ำ รวมไปถึงทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน ทั้งนี้ ผักตบชวาเป็นพืชน้ำมีลักษณะใบเดี่ยว ภายในมีรูพรุนคล้ายฟองน้ำ มีสีเขียวตลอดทั้งลำตัน ซึ่งสีเขียวของผักตบชวา เป็นรงค์วัตถุซึ่งมีคลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบอยู่ จึงทำให้ ผศ.ธนภพ โสตรโยม และทีมวิจัยคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เกิดแนวคิดในการนำประโยชน์จากผักตบชวามาทำเป็นคลอโรฟิลล์สกัดพร้อมชง เพื่อเป็นตัวเลือกของผู้บริโภคที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และใช้ประโยชน์จากผักตบชวาโดยการเพิ่มมูลค่าวัชพืชไร้ประโยชน์ให้หลากหลาย

             ผศ.ธนภพ โสตรโยม ตัวแทนทีมวิจัยกล่าวว่า ปัจจุบันสามารถพบเห็นคลอโรฟิลล์ทั้งชนิดน้ำและผงออกมาจำหน่ายในท้องตลาดมากมาย และได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เพราะร่างกายคนเราสามารถนำเอาสารคลอโรฟิลล์ไปเป็นสารตั้งต้นในการสร้างเม็ดเลือดเมื่อร่างกายต้องการ โดยเฉพาะในภาวะที่เกิดความบกพร่องในการสร้างเม็ดเลือดแดง เนื่องจากขาดสารอาหาร เช่น ภาวะโลหิตจาง แต่คลอโรฟิลล์สกัดที่วางจำหน่ายในท้องตลาด บางครั้งผู้บริโภคไม่อาจรู้ได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นสกัดมาจากพืชชนิดใด ทำให้บางครั้งอาจเกิดความน่าเชื่อถือลดน้อยลง

              จากการศึกษาคลอโรฟิลล์สกัดพร้อมชงจากผักตบชวา โดยได้วิเคราะห์สมบัติทางเคมีของปริมาณคลอโรฟิลล์ที่สกัดได้ ซึ่งใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย การศึกษาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการอบสารสกัด การวิเคราะห์คุณภาพทางประสาทสัมผัส การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ การศึกษาปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสม รวมถึงสารตกค้างที่อาจเป็นอันตราย 

            โดยขั้นตอนการผลิตคลอโรฟิลล์สกัดพร้อมชงจากผักตบชวา ประกอบด้วย คัดเลือกใบผักตบชวาออกจากก้าน นำมาล้างด้วยน้ำสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ และบดให้ละเอียด แล้วจึงนำมาแช่เอทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วนผักตบชวา 1:1 เป็นเวลา 7 ชั่วโมง แล้วจึงกรองเอากากออก และนำส่วนที่ได้เข้าเครื่องระเหยสุญญากาศ นำสารสกัดของเหลวข้นที่ได้กรองด้วยกระดาษกรอง แล้วนำมาแผ่ลงบนถาด และนำไปอบด้วยเครื่องอบลมร้อน จากนั้นนำไปบดเป็นผงให้ละเอียด นำผงที่ได้มาละลายน้ำ นำไปตั้งไฟ และนำไปทำให้เข้มข้นโดยผสมกับน้ำตาลทรายขาว เมื่อเริ่มตกผลึกจึงเติมมอลโตเดกซ์ตริน เพื่อป้องกันการเกาะเป็นก้อน จากนั้นนำมาบดเป็นผง และบรรจุใสถุงอลูมิเนียมฟอยล์

              ผศ.ธนภพ โสตรโยม กล่าวว่า จากการทดลองพบว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายในการสกัด คือ 5 ชั่วโมง จะได้ปริมาณคลอโรฟิลล์สีแดง-เขียว (a) = 0.56±0.54 และคลอโรฟิลล์สีเหลือง-น้ำเงิน (b)= 0.82±0.64 ส่วนการศึกษาคุณภาพทางประสาทสัมผัสที่มีผลต่ออุณหภูมิในการอบแห้ง 3 ระดับ คือ 50 60 และ 70 องศาเซลเซียส พบว่า อุณหภูมิที่ 60 องศาเซลเซียส ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับมากที่สุดในทุกๆ ด้าน

              ส่วนการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ค่าความสว่าง จาก 0-100 ค่าสีดำ-เขียว (L*) =74.40±2.80 ค่าสีแดง (a*) = -1.03±0.32 และค่าสีเหลือง (b*) = 23.91±1.01 ค่าแสดงระดับพลังงานของน้ำ (Water Activity) aw = 0.42±0.05 และค่าความชื้น = 3.99±0.42 และไม่พบสารเคมีตกค้างที่เป็นอัตรายต่อผู้บริโภค ส่วนการศึกษาปริมาณน้ำตาลที่ใส่ลงในคลอโรฟิลล์สกัดพร้อมชง พบว่า สูตรที่มีปริมาณน้ำตาลทรายต่อน้ำคลอโรฟิลล์สกัด ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบในด้านรสชาติ ที่มีปริมาณน้ำตาลทรายที่ร้อยละ 20 มากที่สุด

             “ในอนาคตผมมองว่า จะมีผู้วิจัยนำผลิตภัณฑ์คลอโรฟิลล์สกัดพร้อมชงจากผักตบชวา ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงนำผลิตภัณฑ์ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารอาหารอื่น ๆ อีก ซึ่งเป็นการต่อยอดในการเพิ่มมูลค่าวัชพืชไร้ค่าเหลือทิ้งที่มีมากมายในประเทศไทย และสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพใหม่ ๆ ที่หลากหลายเพื่อเป็นตัวเลือกในการบริโภคให้กับประชาชนที่มองหาผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพที่หลากหลายต่อไป” ผศ.ธนภพ โสตรโยม กล่าว

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “เครื่องฟอกอากาศแบบผลิตออกซิเจนบวก-ลบ” ป้องกัน PM 2.5 ดักจับและทำลายเชื้อโรค

Next Post

นวัตกรรม “VirionQ PPE” ชุดป้องกันทางการแพทย์กำจัดไวรัสใน 30 นาที ฝีมือคนไทย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
นวัตกรรม “VirionQ PPE” ชุดป้องกันทางการแพทย์กำจัดไวรัสใน 30 นาที ฝีมือคนไทย

นวัตกรรม “VirionQ PPE” ชุดป้องกันทางการแพทย์กำจัดไวรัสใน 30 นาที ฝีมือคนไทย

ม.มหิดล ร่วมพัฒนานวัตกรรม “เครื่องวัดรังสีคอสมิกในอวกาศ” รับภารกิจส่งดาวเทียมไทยโคจรรอบโลก

ม.มหิดล ร่วมพัฒนานวัตกรรม “เครื่องวัดรังสีคอสมิกในอวกาศ” รับภารกิจส่งดาวเทียมไทยโคจรรอบโลก

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.