mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
ระบบจัดการน้ำสวนไม้ผลแบบ Smart farming เพิ่มผลผลิตชาวสวนมังคุดเมืองคอน

ระบบจัดการน้ำสวนไม้ผลแบบ Smart farming เพิ่มผลผลิตชาวสวนมังคุดเมืองคอน

0

               มังคุด ถือเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกของมังคุดในเดือนมกราคมถึงตุลาคมที่ผ่านมา มีมูลค่ากว่า 17,059 ล้านบาท หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเริ่มต้นนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรให้สูงขึ้น ลดต้นทุน และเพิ่มรายได้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ผลิตอาหารด้านการเกษตรต่อไป ทำให้คณะนักวิจัยของ รศ.ดร.ปานจิต มุสิก จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้เริ่มต้นการวิจัยโครงการพัฒนาระบบจัดการน้ำสวนมังคุดแบบ Smart farming เพื่อการผลิตมังคุดให้มีคุณภาพ ในพื้นที่ตำบลเกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ประจำปีงบประมาณ 2563

               รศ.ดร.ปานจิต ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดทำงานวิจัยโครงการนี้ว่า มาจากปัญหาของเกษตรกรที่ต้องการนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาเพิ่มผลผลิตมังคุดให้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมังคุดถือเป็นผลไม้ที่มีการปลูกมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นรายได้หลักของจังหวัด ดังนั้น การจัดทำงานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพทั้งในด้านของผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้น

               งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ทำในแปลงวิจัยสวนมังคุดของเกษตรกร 3 แปลง บริเวณแหล่งน้ำมีไว้ใช้ตลอดทั้งปี ผ่านระบบท่อจ่ายน้ำภายในสวนเพื่อส่งน้ำจากแหล่งน้ำสู่ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำสู่ท่อหลักและท่อรองไปยังสปริงเกอร์จ่ายน้ำให้มังคุด โดยมีระบบควบคุมการจ่ายน้ำ ที่เชื่อมต่อกับวงจรเซ็นเซอร์ความชื้นและอุณหภูมิ และยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อสั่งการให้เปิด-ปิดปั๊มน้ำ หรือสามารถตั้งเวลาได้ตามความต้องการของเกษตรกรผ่านสมาร์ทโฟน พร้อมกันนี้ ยังมีระบบการอ่านและบันทึกข้อมูลจากเซ็นเซอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง ส่งผลให้ช่วยลดภาระและระยะเวลาในการดูแลสวนของเกษตรกร จากเดิมที่ต้องใช้เวลารดน้ำถึง 7 วันในแต่ละแปลง เหลือเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น ซึ่งเกษตรกรก็สามารถนำเวลาไปทำอย่างอื่นได้มากขึ้น เช่น การให้ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่งและทรงพุ่ม ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว และอื่นๆ

                ผลจากการทำงานวิจัยในครั้งนี้พบว่า จำนวนผลผลิตของมังคุดในสวนนั้นดีมากกว่าเดิมซึ่งมาจากการวัดผลการเจริญเติบโตของมังคุดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ในสวนมังคุดทั้ง 3 แปลง เช่น มังคุดสวนนางลำยอง พานทอง พื้นที่ 2 ไร่ ผลผลิต 731 กิโลกรัมต่อไร่มีขนาด 65-74 กรัมต่อผล มังคุดสวนของ นายเธียรวิชญ์ ชูแก้ว พื้นที่ 6 ไร่ ผลผลิต 995 กิโลกรัมต่อไร่มีผลผลิตผิวเป็นมันไม่เกิดลาย ผลสีเขี่ยวทั้งลูกและมีขนาดมากกว่า 90 กรัมต่อผล และมังคุดสวนนางสุณีย์ วีระปัญญา พื้นที่ 6 ไร่ ได้ผลผลิต 817 กิโลกรัมต่อไร่ มีขนาด 75-89 กรัมต่อผล

               ขณะเดียวกัน ระบบจัดการน้ำสวนไม้ผลแบบ Smart farming ช่วยในการให้น้ำแก่มังคุดแบบฉีดสเปรย์ละอองน้ำในอากาศเพื่อทำให้อากาศในสวนมังคุดมีอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ตามความเหมาะสมของมังคุด การฉีดละอองน้ำในอากาศสามารถป้องกันการเข้าทำลายและการระบาดของเพลี้ยไฟในสวน ซึ่งเพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูของมังคุดได้ และยังช่วยในการให้น้ำแก่ลำต้นมังคุดเพื่อทำให้มังคุดเจริญเติบโตทางใบ ควบคุมปริมาณดอก ส่งเสริมการพัฒนาของผล และเพิ่มปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพ การให้น้ำในปริมาณที่เพียงพอ มีความสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่มังคุดติดผล ยังช่วยแก้ปัญหาไม่ให้มังคุดเนื้อแก้วและยางไหลอีกด้วย และยังส่งผลให้เกษตรกรต้องการขยายงานวิจัยชิ้นนี้ไปยังสวนมังคุดแห่งอื่นมากขึ้น เพื่อให้เกิดการจัดการในรูปแบบของ Smart farming ได้ต่อไป

             ทั้งนี้ การพัฒนาระบบจัดการน้ำสวนมังคุดแบบ Smart farming จะมีผลดีต่อระดับจังหวัด ที่สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพของผลผลิตมังคุด ที่เป็นพืชเศรษฐกิจได้ เกษตรกรสวนมังคุดเองก็สามารถพัฒนาตนเองได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือโครงการนี้ควรได้รับการส่งเสริมหรือต่อยอดในปีถัดไปหรือในอนาคต จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการเกษตรหรือการวิจัย เพื่อให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อพัฒนาคุณผลผลิตและชีวิตของเกษตรกรได้ต่อไปในอนาคต และมีรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น

Share1Tweet1Share
Previous Post

ไอเดีย “ชี้เป้าไฟป่าด้วยข้อมูลจากดาวเทียม” ผลงานคนไทย คว้าแชมป์ที่ญี่ปุ่น

Next Post

“กรวยจราจรยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” ยึดเกาะถนนได้ดี ทนทานต่อการแตกหัก

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

10 months ago
40
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

10 months ago
48
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

10 months ago
38
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

10 months ago
16
Load More
Next Post
“กรวยจราจรยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” ยึดเกาะถนนได้ดี ทนทานต่อการแตกหัก

“กรวยจราจรยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” ยึดเกาะถนนได้ดี ทนทานต่อการแตกหัก

AIS 5G จับมือกับ TARA พัฒนาโซลูชั่นบนเครือข่าย 5G ปลดล็อกภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ Smart Factory

AIS 5G จับมือกับ TARA พัฒนาโซลูชั่นบนเครือข่าย 5G ปลดล็อกภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ Smart Factory

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    99 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.