mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
“น้ำอ้อยซินไบโอติก” เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร

“น้ำอ้อยซินไบโอติก” เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร

0

              ทีมนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพยุคใหม่ “น้ำอ้อยซินไบโอติก” ผสมคอลลาเจนและแคลเซียม อุดมประโยชน์ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ล่าสุด คว้าเหรียญเงิน รางวัลประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา จากมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564

              ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมบริโภคอย่างมาก ประชาชนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือ Functional Beverage ในรูปแบบ Plant Base จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ นอกจากนี้ การหยิบยกวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ หรือที่กำลังประสบปัญหามาใช้ประโยชน์ ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทั้งผลิตภัณฑ์และผลิตผลทางการเกษตร เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับคุณประโยชน์สูงสุด

               รองศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นมณี ขวัญเมือง รองคณบดีกำกับดูแลงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาและวิจัย ภาควิชาครุศาสตร์เกษตร ในฐานะที่ปรึกษาโครงการหลัก เปิดเผยว่า ทีมวิจัยเล็งเห็นว่า “อ้อย” เป็นพืชที่มีราคาถูก หาได้โดยทั่วไป และยังไม่พบการนำมาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างจริงจัง ทั้งที่มีคุณประโยชน์อยู่มาก จึงได้คิดค้นน้ำอ้อยซินไบโอติกขึ้น โดยมีลักษณะคล้ายกับนมเปรี้ยว จุดเด่น คือ เป็นเครื่องดื่มที่มาจากพืชแท้ๆ ผสมพรีไบโอติก (อาหารของจุลินทรีย์ฯ) เข้าไว้ด้วยกัน และหมักด้วยโพรไบโอติก (จุลินทรีย์แลคโทบาซิลลัส) ทำให้จุลินทรีย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นาน และเข้าไปช่วยปรับสภาพของระบบทางเดินอาหารให้มีสุขภาพที่ดี โดยใช้น้ำอ้อยแท้เป็นส่วนประกอบถึง 50% โดยไม่เติมน้ำตาล อีกทั้งยังมีส่วนผสมจากพืชอื่นๆ ได้แก่ น้ำแครอท น้ำมันแกว และน้ำสับปะรด นอกจากนี้ยังปราศจากน้ำตาลแลคโตส ดังนั้น ผู้ที่แพ้นมวัวจึงสามารถทานได้ อีกทั้งยังผสมคอลลาเจนและแคลเซียม ทำให้เครื่องดื่มมีคุณประโยชน์สูงสุด โดยน้ำอ้อยซินไบโอติก 1 ขวด ในปริมาณ 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วยสารอาหารที่ควรได้รับต่อวันอย่างเพียงพอ สามารถช่วยเรื่องระบบขับถ่าย และ Detox ลำไส้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย พร้อมทั้ง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อย และภาคเอกชนมีความสนใจให้ทีมวิจัยถ่ายทอดนวัตกรรมให้อีกด้วย

              นางสาวกานต์พิชชา สกุนตศรี หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัย กล่าวเสริมว่า สำหรับรางวัลระดับดีมาก ในการประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร รางวัลเหรียญเงิน ที่ได้รับจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ในการนำเสนอผลงานออกสู่สาธารณะแก่ผู้ที่สนใจนำนวัตกรรมไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ และอนาคตยังมองหาวัตถุดิบอื่นๆ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการแปรรูป ให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้นานยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรในคราวเดียวกัน อย่างไรก็ตาม น้ำอ้อยซินไบโอติก ถือเป็นเครื่องดื่มแนวใหม่ในกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพ (functional beverage) ที่กำลังได้รับความนิยมในสายคนรักสุขภาพ สามารถต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมได้ นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้รับรางวัลเหรียญเงิน (ระดับดี) จากผลงานสแน็คกรอบโภชนาการสูงจากผลพลอยได้ของขนุน ซึ่งเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวโดยใช้เมล็ดและซังขนุน มาเสริมด้วยโปรตีนจากถั่วเหลือง และเมล็ดพืชอื่น ๆ เพื่อเป็นขนมที่ให้สารอาหารอย่างครบถ้วนอีกด้วย

               ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ความสำคัญต่อการสร้างนักวิจัยและนักประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันการศึกษา โดยส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านนวัตกรรม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา อันเป็นการสร้างและพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ มีศักยภาพในการเติบโตเป็นบุคลากรทางการวิจัยของประเทศต่อไปได้ สำหรับน้ำอ้อยซินไบโอติก ผสมคอลลาเจนและแคลเซียม นับเป็นผลงานสร้างสรรค์ โดยนักเรียน นักศึกษารุ่นใหม่ ที่มีความสนใจแก้ไขปัญหาของประเทศด้วยวิจัยและนวัตกรรม วช.จึงได้มอบรางวัลแก่ทีมวิจัยในครั้งนี้

ShareTweetShare
Previous Post

แพทย์จุฬาฯ วิจัยสำเร็จ ! โมเลกุลมณีแดง ต้านเซลล์ชรา คืนความอ่อนเยาว์

Next Post

“เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์” วิ่งคลองดำเนินสะดวก ส่งเสริมการท่องเที่ยว ลดปัญหามลพิษ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
Load More
Next Post
“เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์” วิ่งคลองดำเนินสะดวก ส่งเสริมการท่องเที่ยว ลดปัญหามลพิษ

“เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์” วิ่งคลองดำเนินสะดวก ส่งเสริมการท่องเที่ยว ลดปัญหามลพิษ

“เนื้อหมูจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ” นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต โดยนักวิจัยจุฬาฯ

“เนื้อหมูจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ” นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต โดยนักวิจัยจุฬาฯ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.