mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
ม.มหิดล ผลักดัน 3 ผลงานนวัตกรรมคุณภาพตอบโจทย์สังคม ภายใต้ MIND Center

ม.มหิดล ผลักดัน 3 ผลงานนวัตกรรมคุณภาพตอบโจทย์สังคม ภายใต้ MIND Center

0

          จะดีต่อประเทศไทยเพียงใด หากสามารถผลิตนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นใช้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการช่วยโลกประหยัดการใช้ทรัพยากรได้ต่อไปอีกด้วย

          เป็นเวลากว่า 3 ปีที่ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (Medical Innovations Development Center หรือ MIND Center)ได้มุ่งมั่นผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมคุณภาพสู่สังคมไทย และนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ จนล่าสุดสามารถคว้า 3 รางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2564 จาก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

          รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่ผ่านมา คณะฯ ได้ผลักดันและส่งเสริมให้บุคลากรสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคม ภายใต้การสนับสนุนโดย MIND Center ซึ่ง 3 ผลงานล่าสุดที่สามารถคว้ารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2564 จาก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้แก่ “อุปกรณ์เก็บและล้างสายสวน (Endovascular Basin)” “อุปกรณ์ช่วยเดินกำหนดจังหวะในผู้ป่วยพาร์กินสัน” และ “ปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สู่ลูก” โดยนอกจากช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งทรัพยากรบุคคล องค์ความรู้ และเครื่องมืออุปกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          ผลงานนวัตกรรม “อุปกรณ์เก็บและล้างสายสวน (Endovascular Basin)” สามารถคว้ารางวัลบริการเลิศรัฐ ระดับดีเด่น ประเภทนวัตกรรมการบริการ โดยที่มาเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการทำงานในห้องผ่าตัด ที่ต้องใช้สายสวนขนาดต่างๆ เพื่อการสอดอุปกรณ์เข้าไปนำทางในหลอดเลือด เช่น ในการผ่าตัดหัวใจ ด้วยผลงานนวัตกรรมที่สามารถจัดระเบียบสายสวนที่ยุ่งเหยิงให้ง่ายต่อการหยิบจับสำหรับศัลยแพทย์ในห้องผ่าตัดนี้ ทำให้การผ่าตัดทำได้โดยสะดวก รวดเร็ว สามารถเติมลมหายใจให้กับชีวิตผู้ป่วย

          เช่นเดียวกับผลงาน “อุปกรณ์ช่วยเดินกำหนดจังหวะในผู้ป่วยพาร์กินสัน” ที่คว้ารางวัลบริการเลิศรัฐ ระดับดี ประเภทนวัตกรรมการบริการ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นจากโจทย์ที่มุ่งคืนคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความบกพร่องของระบบประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้กับอุปกรณ์ช่วยเดินกำหนดจังหวะซึ่งนำทางด้วยแสงเลเซอร์นี้ สามารถทำให้ฝันของผู้ป่วยพาร์กินสันที่จะกลับมาก้าวเดินได้ดีขึ้นอีกครั้งกลายเป็นจริง ผลลัพธ์ที่ดีเหล่านี้ส่งผลให้ทีมงานมีแผนจะขยายต่อยอดในผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเดินจากความบกพร่องของการควบคุมการเคลื่อนไหวจากสาเหตุอื่นต่อไป

          และอีกผลงานนวัตกรรมที่สร้างชื่อให้กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มานานกว่า 2 ทศวรรษ คือ “ปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สู่ลูก” ที่คว้ารางวัลบริการเลิศรัฐ ระดับดี ประเภทพัฒนาการบริการ โดยเป็นการสร้างนวัตกรรมจากโจทย์ปัญหาการเข้าถึงการเปลี่ยนตับของผู้ป่วยเด็ก ส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กเหล่านี้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งการปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สู่ลูก นับเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่เติมความหวังให้กับครอบครัว โดยพบว่าลูกที่ได้รับการปลูกถ่ายตับจากพ่อแม่สามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง และเป็นกำลังของชาติที่ดีต่อไปได้ในอนาคต ผลลัพธ์ที่ดีของทีมงานจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้กองทุนสปสช.บรรจุเป็นสิทธิการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้ทั้งประเทศ

          ในช่วงวิกฤติ COVID-19 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีบทบาททางการแพทย์ในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การระบาดระลอกแรกในปี 2563 จนถึงรอบปัจจุบันในปี 2564 นี้ ไม่ว่าจะเป็น การบริการตรวจ Lab ไวรัสวิทยาบริการแก่สถานพยาบาลอื่นๆ การรักษาดูแลผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลการรักษาแบบกักโรคที่บ้าน (Home Isolation) การรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับ 22 ชุมชนในเขตราชเทวีให้การดูแลผู้ป่วยแบบ Community Isolation ทั้งนี้ รวมจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ทั้งหมดที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ดูแลในปี 2564 กว่า 11,120 ราย

          นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้สนับสนุนให้ประเทศไทยได้เข้าสู่ “COVID-19 Free Setting” เพื่อให้คนไทย “อยู่ร่วม COVID-19” อย่างปลอดภัย โดยร่วมให้บริการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 แก่ประชาชนรวมกว่า 300,000 เข็ม เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 เพื่อการเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยว และช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้โดยเร็ว

          ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

 

ShareTweetShare
Previous Post

วช. ร่วมกับ มจธ. สำรวจแนวทางความคุ้มค่าการลงทุนผลิตพลังงานจากธุรกิจเหมืองบ่อขยะ

Next Post

กรรมาธิการการพลังงาน หนุน “ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน” ปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว สร้างความปลอดภัย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

10 months ago
58
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

10 months ago
32
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

10 months ago
127
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

10 months ago
62
Load More
Next Post
กรรมาธิการการพลังงาน หนุน “ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน” ปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว สร้างความปลอดภัย

กรรมาธิการการพลังงาน หนุน “ระบบสายไฟฟ้าใต้ดิน” ปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยว สร้างความปลอดภัย

เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เสริมจุดเด่น “ถาดพลาสติกชีวภาพ”

เพิ่มมูลค่าเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เสริมจุดเด่น “ถาดพลาสติกชีวภาพ”

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    99 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.