mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรมจากสารสกัดดอกทองกวาวสู่การพัฒนาสินค้าความงาม “Sleeping Mask ดอกทองกวาว”

นวัตกรรมจากสารสกัดดอกทองกวาวสู่การพัฒนาสินค้าความงาม “Sleeping Mask ดอกทองกวาว”

0

            ดอกทองกวาว หรือดอกจานในภาษาอีสาน ถือเป็นหนึ่งในพืชที่มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศ ทั้งเมียนมา อินเดีย รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นพืชท้องถิ่นที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุดรธานีอีกด้วย ในแต่ละปีดอกทองกวาวจะบานสะพรั่งในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน และดอกทองกวาวก็จะร่วงหล่นลงตามพื้น กลายเป็นอินทรีย์วัตถุสำหรับดินและต้นไม้ที่อยู่ใกล้เคียง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ดอกทองกวาวมีประโยชน์มากกว่านั้น

            ดร.พท.ป.นรินทร์ กากะทุม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์จากสารสกัดของดอกไม้ชนิดนี้ จึงนำมาวิจัยเป็นนวัตกรรมจากสารสกัดดอกทองกวาวสู่การพัฒนาสินค้าความงาม จังหวัดอุดรธานี โดยการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ทำให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสร้างรายได้ให้วิสาหกิจท้องถิ่นสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน และยังได้รางวัลเหรียญเงิน จากการประกวดนวัตกรรมที่สหพันธรัฐรัสเซีย ARCHIMEDES 2021 อีกด้วย

            ดร.พท.ป.นรินทร์ เล่าถึงที่มาของการเริ่มต้นวิจัยโครงการนี้ว่า มาจากการทำงานวิจัยเชิงบูรณาการของมหาวิทยาลัย ที่มีการส่งเสริมกิจการวิสาหกิจท้องถิ่นในเส้นทางท่องเที่ยว ซึ่งจังหวัดอุดรธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มหาวิทยาลัยมีศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ประกอบกับต้นทองกวาวเป็นหนึ่งในต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกันมาช้านาน จึงได้เริ่มต้นยกระดับสินค้าจากพืชที่เห็นอยู่ทั่วไปในจังหวัด เพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้นด้วยการวิจัยทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เพื่อให้เป็นสินค้าโอทอปเป็นของฝาก สามารถสร้างภาพจำให้กับนักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับดอกทองกวาวว่า เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุดรธานี

             เหตุผลที่นำดอกทองกวาวมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงามนั้น เนื่องจากดอกไม้ชนิดนี้มีสารเบซิลเลีย ซึ่งในประเทศอินเดียหรือมาเลเซีย ได้มีนวัตกรรมที่มีสารสกัดชนิดนี้ไปบ้างแล้ว ที่ช่วยในการบำรุงผิว ต้านสารอนุมูลอิสระ โดยการผลิตเป็นเครื่องสำอางทำให้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายมากขึ้น ขณะนี้สินค้าที่ทำออกมาตัวแรกคือ “Sleeping Mask ดอกทองกวาว” เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื้นของใบหน้า สามารถใช้ง่าย ไม่เหนียวเหนอะหนะ ไม่ระคายเคืองผิว จึงได้ขอทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อช่วยสนับสนุนให้เป็นการวิจัยมีผลิตภัณฑ์ออกมาให้กับวิสาหกิจชุมชน

              นอกจากจะมี Sleeping Mask แล้ว ยังได้เตรียมต่อยอดไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอางด้วย เช่น ครีม โลชั่น และเครื่องสำอางแบบเคาน์เตอร์แบรนด์ที่มีการขายในห้างสรรพสินค้า

            ดร.พท.ป.นรินทร์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนเชื่อมโยงกับวิสาหกิจชุมชนที่นำสินค้ามาวางขายเพราะส่งต่อองค์ความรู้ให้กับวิสาหกิจชุมชนสามารถดูแลตนเองได้จากการผลิตด้วยตนเอง ที่ต้องเน้นเรื่องของความสะอาดและปลอดภัย ส่วนงานทางห้องปฏิบัติการพร้อมกับการส่งเสริมการขายนั้น มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ดูแล ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก็พบว่ามีส่วนร่วมทำให้หลายชุมชนพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำลง และยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ชุมชนอื่นๆ อยากมีผลิตภัณฑ์ของตนเองนำมาวางขายเป็นผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นเหมือนกัน

             ขณะเดียวงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเข้าส่งประกวดงานการประกวดนวัตกรรมที่สหพันธรัฐรัสเซีย ผ่านสมาคมนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ไทย ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากการประกวดในครั้งนี้ จนได้รางวัลเหรียญเงิน ซึ่งสะท้อนว่าผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์การรับรองคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ ตรงตามหลักเกณฑ์การประกวดจากต่างประเทศมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

           ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากทองกวาว มหาวิทยาลัยจะรับช่วงต่อ ในการต่อยอดไปยังภาคเอกชนเพื่อสั่งผลิตในรูปแบบ OEM ทำเป็นซีรีส์เครื่องสำอางออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โทนเนอร์ เซรั่ม ต่อไปในอนาคต

           สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่เพจเฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หรือหมายเลขโทรศัพท์ 02-160-1343 ต่อ 14 และหมายเลข 080-572-2715

Share1Tweet1Share
Previous Post

“นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ” เพื่อรองรับการปลูกกัญชง-กัญชา คุณภาพระดับเมดิคอลเกรด

Next Post

STGT เปิดตัว “Spectrum ถุงมือยางธรรมชาติแบบไม่มีแป้ง” ไวต่อการสัมผัส สวมใส่ง่ายสะดวกสบาย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

4 months ago
33
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

เพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกกุ้งด้วย นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง

4 months ago
42
นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมเครื่องปั่นไฟ เสริมแรงพลังงานลมเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

4 months ago
33
Load More
Next Post
STGT เปิดตัว “Spectrum ถุงมือยางธรรมชาติแบบไม่มีแป้ง” ไวต่อการสัมผัส สวมใส่ง่ายสะดวกสบาย

STGT เปิดตัว “Spectrum ถุงมือยางธรรมชาติแบบไม่มีแป้ง” ไวต่อการสัมผัส สวมใส่ง่ายสะดวกสบาย

วว. มุ่งแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรล้นตลาด แนะเทคโนโลยีพร้อมใช้เพิ่มมูลค่า “ลองกอง”

วว. มุ่งแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรล้นตลาด แนะเทคโนโลยีพร้อมใช้เพิ่มมูลค่า “ลองกอง”

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.