mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ITAP หนุนผู้ประกอบการพัฒนา “ระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร”

ITAP หนุนผู้ประกอบการพัฒนา “ระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร”

0

             กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี โปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สนับสนุนด้านวิชาการและเทคโนโลยีนวัตกรรมให้กับธุรกิจก่อสร้างต่อยอดธุรกิจพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร (Plant Factory) มาใช้กับการปลูกพืชออร์แกนิคในห้องพักอพาร์ตเมนต์ใจกลางกรุงเทพฯ โดยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม ITAP จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ถ่ายทอดเทคโนโลยีและให้คำปรึกษาจนเป็นผลสำเร็จ

             โดย บริษัท ลอฟท์ บิวเดอร์ จำกัด ได้ขอรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากโปรแกรม ITAP สวทช. ในการเริ่มพัฒนาธุรกิจการเกษตรในอนาคตด้วยการพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร (Plant Factory) แบบอินทรีย์ ด้วยการนำเทคโนโลยีและระบบควบคุมสภาวะการเพาะปลูกที่ทันสมัย เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ น้ำ และสารอาหารพืชแบบอัจฉริยะ เพื่อให้บริษัทสามารถปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวในเมืองที่มีคุณภาพได้ตลอดทั้งปี ได้นำเทคโนโลยีระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร มาใช้กับการปลูกผักและผลไม้ออร์แกนิคในห้องพักอพาร์ตเมนต์ ทำให้ได้ต้นแบบห้องที่ปลูกผักและผลไม้ออร์แกนิคชนิดต่าง ๆ เช่น ผักเคล สตรอว์เบอร์รี และสมุนไพรเมืองหนาว เป็นต้น พร้อมเป็นสถานที่ดูงานของบริษัทต่างๆ ที่สนใจจะทำระบบฟาร์มเกษตรในอาคารได้ศึกษาต้นแบบ เพราะผักและผลไม้ออร์แกนิคที่ปลูกเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงในตลาด ราคาแพง และการลงทุนของเทคโนโลยีนี้เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถลงทุนได้

            ดร.นันทิยา วิริยบัณฑร ผู้อำนวยการโปรแกรม ITAP สวทช. กล่าวว่า สวทช. หน่วยงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย มีเป้าหมายในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG “เพิ่มคุณภาพชีวิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ต่อยอดจุดแข็งของประเทศในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ประกอบด้วย Bioeconomy (ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากร Circular Economy (ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน) และ Green Economy (ระบบเศรษฐกิจสีเขียว) ที่มุ่งเน้นแก้ปัญหามลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อโลก ด้วยการใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

             สำหรับบริษัท ลอฟท์ บิวเดอร์ จำกัด ได้ขอรับการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากโปรแกรม ITAP สวทช. ในการเริ่มพัฒนาธุรกิจการเกษตรในอนาคตด้วยการพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร (Plant Factory) แบบอินทรีย์ ด้วยการนำเทคโนโลยีฟาร์มเกษตรอัจฉริยะมาปรับใช้ในการปลูกพืชระบบปิดในอาคาร ด้วยระบบควบคุมสภาวะการเพาะปลูกที่ทันสมัย เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ น้ำ และสารอาหารพืชแบบอัจฉริยะ เพื่อให้บริษัทสามารถปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาวในเมืองที่มีคุณภาพได้ตลอดทั้งปี ถือเป็นนวัตกรรมการปลูกผักผลไม้อินทรีย์ที่ตอบโจทย์สังคมเมืองและเป็นต้นแบบการพัฒนาเกษตรยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี โปรแกรม ITAP สวทช. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและถ่ายทอดงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืน นอกจากนี้ยังสนับสนุนผู้ประกอบการด้านโรงเรือนอัจฉริยะในหลากหลายรูปแบบเพื่อหนุนผู้ประกอบการและเกษตรกรพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าการเกษตร รวมถึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศตามแผนโมเดลเศรษฐกิจ BCG

              ด้าน รองศาสตราจารย์วันชัย แหลมหลักสกุล ผู้เชี่ยวชาญ และหัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมระบบไซเบอร์-กายภาพทางการผลิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ผู้เชี่ยวชาญในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรม ITAP สวทช. กล่าวว่า ได้นำความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร มาร่วมพัฒนาธุรกิจเกษตรในอนาคตของบริษัท ลอฟท์ บิวเดอร์ จำกัด ด้วยการพัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร โดยทำโรงงานปลูกพืชระบบปิด Plant Factory ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ทั้งการให้น้ำ แสง อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ยังสามารถปลูกพืชนอกฤดูกาลได้
“การวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบฟาร์มเกษตรในอาคารที่ควบคุมสภาวะการเพาะปลูก ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ลม คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและสารอาหารพืช ด้วยระบบอัตโนมัติประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยตั้งค่าการทำงานผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถปรับตั้ง แก้ไข ควบคุมการทำงานผ่านสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตจากนอกสถานที่ได้ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และในขณะเดียวกันก็ปลดปล่อยของเสียสู่สภาพแวดล้อมน้อยที่สุด

              โดยเทคโนโลยีระบบฟาร์มเกษตรของบริษัทฯ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยระบบอัตโนมัติ เช่น อุณหภูมิ แสงเทียม (LED) เพื่อการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งกระบวนการสังเคราะห์แสงนี้จะผ่านแสงจากหลอดไฟ LED ที่มีการควบคุมความเข้มของแสง คลื่นความถี่และระยะเวลาของแสงในแต่ละช่วงการปลูก เพื่อให้มีความคล้ายคลึงกับการสังเคราะห์แสงจากดวงอาทิตย์ทั้งนี้การใช้แสง LED จะช่วยลดระยะเวลาการปลูกลงได้ครึ่งหนึ่งของระยะเวลาการเติบโต อีกทั้งยังมีการควบคุมลมและความชื้นในอากาศ หากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำกว่ากำหนด ระบบจะเชื่อมต่อกับระบบพ่นละอองน้ำแบบพิเศษเพื่อปรับความชื้นสัมพัทธ์ให้อยู่ในช่วงที่กำหนด ซึ่งโดยภาพรวมระบบจะควบคุมพารามิเตอร์ เพื่อให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด”

             ด้าน นายพีรพงษ์ ตันตยาคม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอฟท์ บิวเดอร์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการ กล่าวว่า เนื่องจากบริษัทดำเนินธุรกิจก่อสร้างเป็นหลัก และมีแนวคิดที่ต้องการปลูกพืชผักและผลไม้เมืองหนาวของต่างประเทศแบบออร์แกนิคไว้กินเอง แต่ด้วยพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นดินที่มีจำกัดเนื่องจากอยู่ในกรุงเทพฯ อีกทั้งปัญหาด้านแมลงศัตรูพืช สภาพดินฟ้าอากาศ และฤดูกาล แต่มีห้องว่างในอพาร์ตเมนต์จึงได้นำแนวคิดนี้ไปขอรับการสนับสนุนจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช.โดยมีรองศาสตราจารย์วันชัย แหลมหลักสกุล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้เชี่ยวชาญและได้ดำเนินโครงการจากการทดลองปลูกผักสลัดได้สำเร็จ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ทดลองปลูกสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์ต่างประเทศ ผักเมืองหนาว เช่น ผักเคล เซเลอรี่ สวิสชาร์ด พาสเลย์ และสมุนไพรต่างประเทศ รวมถึงดอกไม้กินได้ เป็นต้น

             “ผลที่ได้รับจากการนำระบบฟาร์มเกษตรในอาคารมาใช้คือ นวัตกรรมการปลูกผักผลไม้อินทรีย์ในอาคารในพื้นที่จำกัดที่กรุงเทพฯ และยังสามารถปลูกให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ไม่มีฤดูกาล มีคุณภาพทางกายภาพ ทางเคมีของผลผลิต สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารเคมีและยาปราบศัตรูพืช ซึ่งแตกต่างจากการปลูกโดยทั่วไปที่จะออกผลผลิตตามฤดูกาลและต้องใช้น้ำและสารเคมีและยาปราบศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังลดต้นทุนด้านการขนส่งเนื่องจากปลูกใกล้แหล่งจัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดตั้งเป็นศูนย์สาธิตระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร เมื่อดำเนินการโครงการแล้วเสร็จ เพื่อสาธิตระบบฟาร์มเกษตรในอาคารให้กับลูกค้าของบริษัทฯ และผู้สนใจในการนำระบบฟาร์มเกษตรในอาคารไปใช้ในธุรกิจ ร้านอาหาร และบ้านอยู่อาศัย

              จากในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ผู้บริโภคต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) มากขึ้น บริษัทฯ ได้จัดจำหน่ายพืชผักแบบออร์แกนิคที่ปลูกได้จากฟาร์มเกษตรในอาคารได้แก่ ผักเคล และสมุนไพรต่างประเทศ เช่น โรสแมรี่ ไทม์ ออริกาโน โหระพาอิตาเลี่ยน ซึ่งทำการตลาดภายใต้แบรนด์ “Kale Factory” ผ่านหลายช่องทางที่ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น ทั้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook, LINE และผ่านแพลตฟอร์มบริการส่งด่วน เช่น LINE MAN, Robinhood และ AOW”

             นายพีรพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีการปลูกแห่งอนาคตนี้ ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของการปลูกพืชที่ต้องการความปลอดภัยสูง จึงควรเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เช่น พืชผักผลไม้เมืองหนาว สมุนไพร หรือยารักษาโรค โดยใช้เทคโนโลยีการปลูกพืชในอาคารที่มีการควบคุมสภาวะการเพาะปลูก ทำให้สามารถทำการเกษตรได้ทุกเวลา ไม่มีฤดูกาล มีคุณภาพทางกายภาพ-ทางเคมีของผลสะอาดและปลอดภัยตามที่ต้องการ

              ผู้ประกอบการที่สนใจเทคโนโลยีระบบฟาร์มเกษตรในอาคาร สามารถขอรับบริการได้ที่ โปรแกรม ITAP สวทช. โทร 0 2- 564 -7000 ต่อ 1301 หรืออีเมล panita@nstda.or.th

ที่มา : nstda

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรมโคม UV-C “น้องไฟฉาย รุ่นที่ 3” ฆ่าและทำลายเชื้อไวรัส COVID-19

Next Post

“คีเฟอร์จากน้ำมะพร้าว” เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพ สำหรับคนแพ้นมวัว

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

4 months ago
8
Load More
Next Post
“คีเฟอร์จากน้ำมะพร้าว” เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพ สำหรับคนแพ้นมวัว

"คีเฟอร์จากน้ำมะพร้าว" เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพ สำหรับคนแพ้นมวัว

ฟีโบ้ เตรียมพัฒนา “CARVER-Mini หุ่นยนต์ขนส่งอาหารและยา” เพิ่ม รองรับความต้องการใช้งานดูแลผู้ป่วยโควิด

ฟีโบ้ เตรียมพัฒนา “CARVER-Mini หุ่นยนต์ขนส่งอาหารและยา” เพิ่ม รองรับความต้องการใช้งานดูแลผู้ป่วยโควิด

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.