mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย

สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย

0

              อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ โดยเฉพาะกุ้งและปลา นับเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้อันดับต้นๆ ของประเทศ เพื่อหนุนเสริมให้คนไทยทำอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ทั้งการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์คุณภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงด้วยระบบอัจฉริยะ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอาหารและสารเสริมสุขภาพสัตว์น้ำจากวัตถุดิบที่มีภายในประเทศ รวมถึงการป้องกันโรคระบาดด้วยการพัฒนาวัคซีนและชุดตรวจคัดกรองโรค

ผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งปลอดโรคและโตเร็ว ลดความเสียหายเกษตรกร

              หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเลี้ยงกุ้งกุลาดำคือ การขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์คุณภาพดี ในปี 2546 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกองทัพเรือ จัดตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง (Shrimp Genetic Improvement Center: SGIC)” เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตพ่อแม่พันธุ์ปลอดโรคให้แก่เกษตรกร โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือศูนย์การดำเนินงานในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาการผลิตพ่อแม่พันธุ์ปลอดโรคจากรุ่นสู่รุ่น แล้วจัดส่งลูกกุ้งคุณภาพสูงไปให้แก่ส่วนการดำเนินงานที่ 2 คือ ศูนย์การดำเนินงานที่อยู่ในพื้นที่ของกองทัพเรือ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ตัวอย่างภารกิจสำคัญของศูนย์ SGIC คือ การเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำปลอดโรค เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์ที่มีในธรรมชาติน้อย และแก้ปัญหาการติดเชื้อไวรัสก่อโรคจากพ่อแม่พันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งผลการดำเนินงานของศูนย์นี้ทำให้ได้พ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำที่โตเร็ว ต้านทานโรค ทนทานต่อสภาพแวดล้อม เป็นที่พึงพอใจของเกษตรกรทั้งในและต่างประเทศ

              นอกจากนี้ในปี 2548 ยังได้มีการตั้ง “ทีมวิจัยและพัฒนาบริการด้านเลี้ยงสัตว์น้ำ (Aquaculture Service Development Research Team: AQST)” เพื่อสนับสนุนการทำอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ทั้งด้านการให้คำปรึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยง การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการต่อยอดการวิจัย และให้บริการรับจ้างทำวิจัย

รายละเอียดเพิ่มเติม :

  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง (https://bit.ly/2SrBywd หน้า 53-54)

  • ทีมวิจัยและพัฒนาบริการด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำ (https://bit.ly/2SrBywd หน้า 54-55)

ระบบอัจฉริยะเพื่อการเพาะเลี้ยง “กุ้ง” สัตว์น้ำเศรษฐกิจอย่างปลอดภัย

                ที่ผ่านมาการเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศเคยเผชิญปัญหาโรคระบาดจนเกิดการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลมาแล้วหลายครั้ง เช่น ช่วงปี 2538-2540 มีการระบาดของโรคไวรัสตัวแดงขาวและโรคหัวเหลือง และในปี 2555 มีการระบาดของโรคที่ทำให้กุ้งมีอาการตายด่วน (Early Mortality Syndrome) ฯลฯ เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมสูงอย่างกุ้ง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้พัฒนา “Aqua Grow” ระบบอัจฉริยะเพื่อการดูแลคุณภาพน้ำแบบ Real-time

              Aqua Grow ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ระบบบริหารจัดการคุณภาพน้ำ อุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณสารเคมี และอุปกรณ์ตรวจวัดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลการประเมินคุณภาพน้ำเบื้องต้นรวมถึงคำแนะนำในการปรับสภาพบ่อได้ผ่านสมาร์ตโฟน และสามารถบริหารจัดการฟาร์มผ่านแพลตฟอร์ม โดยแพลตฟอร์มนี้เป็นแพลตฟอร์มแรกของไทยที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันแบบครบวงจร ทั้งนี้นอกจากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแล้ว Aqua Grow ยังสามารถใช้ตรวจวัดคุณภาพน้ำในอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ โรงงานผลิตอาหาร และโรงงานสินค้าแปรรูป เป็นต้น

                ไม่เพียง Aqua Grow ปัจจุบัน เนคเทค สวทช. ยังขยายผลสู่ Aqua-IoT นวัตกรรมอัจฉริยะเพื่อฟาร์มสัตว์น้ำ พัฒนาระบบตรวจสอบสภาพบ่อเพาะเลี้ยงทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อลดความเสี่ยงต่อความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากสภาวะต่างๆ ในบ่อเลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลและปลากะพง สำหรับเทคโนโลยีหลักของ Aqua-IoT ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ระบบตรวจวัด ติดตาม แจ้งเตือน ค่าออกซิเจน (DO) ที่ละลายในน้ำแบบทันท่วงที รวมทั้งสถานีวัดอากาศ (Weather Station) 2. ระบบกล้องตรวจจุลชีวะขนาดเล็กในน้ำ 3. ระบบอ่านค่าสารเคมีแทนการดูด้วยตาสำหรับตรวจคุณภาพน้ำบ่อเลี้ยง และ 4. ระบบตรวจรูปแบบของจุลินทรีย์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งนี้มีการติดตั้งทดสอบใช้งานจริง ณ พื้นที่ภาคตะวันออก คือ จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา

รายละเอียดเพิ่มเติม :

  • Aqua Grow ระบบอัจฉริยะเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (https://bit.ly/3D5lO5a)

  • Aqua-IoT นวัตกรรมอัจฉริยะเพื่อฟาร์มสัตว์น้ำ (https://bit.ly/3sM90Mb)

เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระบบปิด ปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

              การเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบปิด เป็นเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะเป็นระบบที่ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและสามารถควบคุมโรค (Biosecure) ได้ดี โดยทั่วไปกลไกสำคัญของระบบนี้คือการบำบัดน้ำให้สะอาดด้วย “ถังตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชัน (Nitrification biofilter)” เพื่อเปลี่ยนแอมโมเนียซึ่งเป็นสารที่มาจากการขับถ่ายของสัตว์น้ำให้เป็นไนเตรตที่มีความเป็นพิษต่ำกว่า ทำให้สามารถนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำในระบบการเลี้ยงได้ อย่างไรก็ตามระบบนี้ยังจำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยครั้ง เพราะหากมีปริมาณไนเตรตสะสมในน้ำมากจะส่งผลให้สัตว์เกิดความเครียดและกระทบต่อการเจริญพันธุ์

ระบบบำบัดไนเตรตแบบท่อยาว (Tabular denitrification reactor: TDNR)

             ไบโอเทคพัฒนา “ระบบบำบัดไนเตรตแบบท่อยาว (Tabular denitrification reactor: TDNR)” สำหรับเสริมการใช้งานระบบบำบัดด้วยถังตัวกรองชีวภาพไนตริฟิเคชัน ในส่วนของการบำบัดไนเตรตออกจากน้ำ เพื่อให้สามารถนำน้ำกลับมาใช้งานซ้ำได้จำนวนครั้งมากขึ้น โดยบำบัดได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับบริษัทพรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทฟาร์มสตอรี่ จำกัด หรือ ป.เจริญฟาร์ม พัฒนา “ถังเลี้ยงปลานิลหนาแน่นสูงระบบน้ำหมุนเวียน” หรือระบบ Recirculating aquaculture system (RAS) โดยการพัฒนาให้ระบบ RAS มีการใช้งานที่ง่ายขึ้น ซึ่งระบบนี้โดดเด่นเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำน้อยกว่าการเลี้ยงแบบบ่อดินถึงร้อยละ 95 ช่วยลดการใช้สารเคมี ลดการปลดปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม และยังดูแลระบบทั้งหมดด้วยคนงานเพียงคนเดียว ผลการทดสอบใช้งานจริงที่ ป.เจริญฟาร์ม พบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถเลี้ยงปลานิลได้หนาแน่นสูง 30 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร มากกว่าการเลี้ยงด้วยบ่อดิน 20-30 เท่า

ระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบน้ำไหลเวียน

              สำหรับระบบ RAS ยังมีอีกหนึ่งเทคโนโลยีเพื่อผู้ประกอบการที่มองหาระบบอัตโนมัติแบบครบวงจร สามารถควบคุมการทำงานจากทางไกลได้สะดวก เป็นต้นแบบ “ระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบน้ำไหลเวียน” พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ร่วมกับบริษัท ท็อป อะควา เอเชีย เทรดดิ้ง แอนด์ คอนซัลแทนท์ จำกัด โดยการสนับสนุนของกลุ่มบริหารการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม (RDI) จุดเด่นของเทคโนโลยีต้นแบบนี้มีอยู่ 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือมีซอฟต์แวร์ในการคำนวณระบบการเลี้ยงให้มีประสิทธิภาพ สามารถติดตามและประเมินผลระหว่างการเลี้ยง ส่วนที่สองคือระบบตรวจวัดและควบคุมอัตโนมัติเพื่อควบคุมคุณภาพการเลี้ยงให้ได้มาตรฐาน และส่วนสุดท้ายคือการออกแบบอุปกรณ์ให้สามารถผลิตได้ในประเทศ เพื่อให้มีราคาที่เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงได้ โดยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้ได้ทั้งการเลี้ยงปลาน้ำจืด น้ำเค็ม รวมถึงกุ้ง

               การเลี้ยงด้วยระบบนี้สามารถเลี้ยงปลากะพงที่ความหนาแน่น 40 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และเลี้ยงปลานิลได้ที่ความหนาแน่น 60-80 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร ใช้น้ำเพียงร้อยละ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงด้วยรูปแบบบ่อดินหรือแบบกระชังที่ปริมาณผลผลิตเท่ากัน และด้วยปริมาณผลผลิตที่สูงกว่าการเลี้ยงแบบกระชังและแบบบ่อดินมากจึงทำให้การเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบนี้ได้กำไรมากกว่าแม้จะลงทุนสูงก็ตาม

รายละเอียดเพิ่มเติม :

  • ระบบบำบัดไนเตรตแบบท่อยาว (https://bit.ly/2SrBywd หน้า 49)

  • ถังเลี้ยงปลานิลหนาแน่นสูงระบบน้ำหมุนเวียน (https://bit.ly/2SrBywd หน้า 50-51)

  • ระบบอัตโนมัติสำหรับเพาะเลี้ยงปลากะพงในระบบน้ำไหลเวียน (https://bit.ly/3wD7xcb)

สัตว์น้ำแข็งแรงด้วยเทคโนโลยีอาหารและสารเสริมสุขภาพ

              ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยปี 2561 ระบุว่าประเทศไทยมีความจำเป็นต้องใช้อาหารในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมาณ 1 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 32,000 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของค่าอาหารกุ้งสูงถึง 19,000 ล้านบาท ดังนั้นหากประเทศไทยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพสูง นอกจากจะช่วยให้ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยลดปริมาณอาหาร ค่าใช้จ่าย และการสูญเสียสัตว์น้ำระหว่างการเลี้ยงให้แก่ชาวประมงหรือผู้ประกอบการได้อีกด้วย

สูตรอาหารลูกกุ้งแบบไร้ปลาป่น โดยใช้ไฮโดรเจลกักเก็บโปรตีน

             ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) พัฒนา “สูตรอาหารลูกกุ้งแบบไร้ปลาป่น โดยใช้ไฮโดรเจลกักเก็บโปรตีน” จุดเด่นสำคัญของอาหารสูตรนี้มี 2 ส่วน อันดับแรก คือ การใช้กากถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนแทนปลาป่น เนื่องจากสหภาพยุโรปมีนโยบายลดการใช้ปลาเป็นวัตถุดิบในอาหารสัตว์ จึงมีการพัฒนาสูตรนี้ขึ้นเพื่อช่วยลดความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องเผชิญปัญหาการคัดเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมมาทดแทน อันดับที่ 2 คือ การใช้ไฮโดรเจลในการกักเก็บโปรตีน เพื่อช่วยให้กุ้งสามารถดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้ดีมากขึ้น และสามารถเติมสารสำคัญ รวมถึงไขมันเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของกุ้ง จากการทดสอบภาคสนามพบว่ากุ้งที่กินอาหารรูปแบบนี้มีอัตราการเติบโตดีใกล้เคียงกับอาหารทั่วไป และด้วยคุณสมบัติไม่ละลายน้ำของอาหารในรูปแบบไฮโดรเจล ยังช่วยลดการสิ้นเปลืองค่าอาหารโดยเปล่าประโยชน์ได้ถึงร้อยละ 20 ที่สำคัญยังช่วยยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ได้นานกว่าอาหารทั่วไปอีกด้วย ปัจจุบันผลงานนี้มีการขยายผลเทคโนโลยีไปใช้ในเชิงพาณิชย์แล้ว

               ส่วนทางด้านสารเสริมสุขภาพสัตว์น้ำ ไบโอเทค ได้ร่วมมือกับ บริษัท โอโว่ ฟู้ดเทค จำกัด และบริษัท ดีเอ็มเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด พัฒนาสารยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำ “eLYSOZYME-T2/TPC” จากโปรตีนในไข่ไก่หรือไลโซไซม์ (Lysozyme) ที่ผ่านกระบวนการเสริมฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยง อาทิ Vibrio parahaemolyticus, Vibrio harveyi, Vibrio alginolyticus, Streptococcus agalactiae, Staphylococcus aureus และ Aeromonas hydrophila จากการทดสอบภาคสนามพบว่า eLYSOZYME-T2/TPC สามารถลดปริมาณเชื้อ Vibrio ในลำไส้กุ้งและอัตราการตายของกุ้งจากเชื้อ Vibrio ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถกระตุ้นการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันและการต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบันผลงานได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมปศุสัตว์แล้ว

รายละเอียดเพิ่มเติม :

  • สูตรอาหารลูกกุ้งแบบไร้ปลาป่น โดยใช้ไฮโดรเจลกักเก็บโปรตีน (https://bit.ly/2SrBywd หน้า 55-56)

  • eLYSOZYME-T2/TPC (https://bit.ly/36hK4BY)

พัฒนาวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันยับยั้งการติดโรคในกุ้งและปลา

                นอกจากการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์คุณภาพปลอดโรค การเลี้ยงด้วยระบบปิด และการให้อาหารเสริมภูมิคุ้มกันแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยยับยั้งการติดและการแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดีคือการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน ล่าสุด ไบโอเทค และมหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยผลการศึกษาร่วมกันกว่าทศวรรษ เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคในกุ้ง กล่าวคือ กุ้งที่ติดเชื้อไวรัสจะสร้าง Circular viral copies DNA หรือ cvcDNA เพื่อเลียนแบบสารพันธุกรรมจากไวรัส ซึ่งหากนำ cvcDNA ไปฉีดให้กุ้งปกติ cvcDNA จะสามารถทำหน้าที่เป็นเหมือนวัคซีนป้องกันการเพิ่มจำนวนไวรัสในกุ้งได้ นักวิจัยจึงมีแนวคิดนำ cvcDNA ไปเพิ่มจำนวนในหลอดทดลองให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อนำมาใช้ผสมในอาหารกุ้งสำหรับเป็นอาหารเพื่อป้องกันกุ้งในบ่อเลี้ยงที่ติดเชื้อไวรัส

                อีกองค์ความรู้สำคัญที่ค้นพบและได้เปิดเผยออกมาพร้อมกัน คือ กุ้งสามารถสร้าง cvcDNAs จากข้อมูลสารพันธุกรรมของไวรัสที่แทรกอยู่ในจีโนมของกุ้ง หรือ Endogenous viral elements (EVEs) ได้เช่นกัน และ EVEs สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ไบโอเทคจึงกำลังศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในการนำองค์ความรู้มาใช้ในการผลิตพ่อแม่พันธุ์ทนทานต่อโรคที่มีความรุนแรงสูง เช่น ไวรัสตัวแดงขาว โดยมี Dr. DongHuo Jiang เป็นที่ปรึกษา และได้รับทุนวิจัยจาก Guangdong HAID Group Co., Ltd. (China)

             นอกจากนี้ นาโนเทค สวทช. ยังได้ร่วมมือกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนานวัตกรรมนาโนวัคซีนแบบแช่ แก้ปัญหาโรคระบาดและสร้างภูมิคุ้มกันให้ปลา โดยนาโนวัคซีนอยู่ในรูปของอนุภาคนาโนที่มีคุณสมบัติดูดซึมทางเหงือกและเกาะติดเยื่อเมือก จึงสามารถให้วัคซีนปลาแบบแช่ แทนการฉีดด้วยเข็มทีละตัวทั้งบ่อ ซึ่งทำได้ครั้งละจำนวนมาก ต้นทุนต่ำ ประหยัดเวลาและแรงงาน อีกทั้งยังใช้ได้กับปลานิลทุกขนาด ซึ่งพบว่าควบคุมโรคติดเชื้อในปลานิลได้ดี ช่วยให้ปลาแข็งแรง ลดการใช้ยาและสารเคมี ได้เนื้อปลาที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเลี้ยงปลาและผู้บริโภคโดยตรง ทั้งนี้มีการนำไปทดสอบใช้งานจริงแล้วที่ณันต์ธชัยฟาร์ม อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

รายละเอียดเพิ่มเติม :

  • cvcDNAs และ EVEs ในกุ้ง (https://bit.ly/2UvbZvC)

  • นาโนวัคซีนแบบแช่ (https://bit.ly/3yinlRI)

เทคโนโลยีชุดตรวจโรค รู้โรคไว ยับยั้งการแพร่ระบาดเร็ว

              หนึ่งในวิกฤติการณ์ที่สร้างความสูญเสียมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคือการระบาดของโรค เช่น ในปี 2538-2539 ประเทศไทยต้องสูญเสียรายได้ครั้งใหญ่จากโรคไวรัสตัวแดงขาวในกุ้ง ก่อนที่ปี 2540 จะมีการระบาดรุนแรงของโรคหัวเหลืองมาซ้ำเติมอีกระลอก ในช่วงวิกฤตนั้นนักวิจัยไบโอเทคและมหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมกันพัฒนาวิธีตรวจเชื้อไวรัสก่อโรค โดยได้รับความร่วมมือร่วมใจจากหน่วยงานต่างๆ ทำให้ในช่วงเวลานั้นประเทศไทยสามารถลดความเสียหายได้มากกว่าครึ่ง เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเผชิญสถานการณ์เดียวกัน

               ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ไบโอเทคจึงส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมาจนถึงปัจจุบัน โดยในส่วนของการรับมือกับโรคระบาดมีหลายเทคโนโลยีเด่น เช่น การพัฒนาเทคนิคการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมของสัตว์น้ำเพื่อการตรวจสอบเชื้อที่รวดเร็วและแม่นยำ การพัฒนาชุดตรวจที่มีความจำเพาะต่อเชื้อก่อโรคสูง และการพัฒนาชุดตรวจรวดเร็วเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคอย่างทันท่วงที ฯลฯ

              ตัวอย่างชุดตรวจรวดเร็วจากไบโอเทคสำหรับตรวจโรคในกุ้ง เช่น “Amp-Gold” ชุดตรวจโรคตับตายฉับพลัน สาเหตุหนึ่งของโรคตายด่วน (Early Mortality Syndrome: EMS) ชุดตรวจนี้ใช้ตรวจเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ด้วยเทคนิคแลมป์ (Loop-mediated isothermal amplification: LAMP) ซึ่งเป็นเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมที่มีความจำเพาะ ควบคู่กับการใช้เทคนิคการติดฉลากดีเอ็นเอด้วยอนุภาคทองคำนาโน โดยการตรวจทุกขั้นตอนจะใช้เวลารวมกันไม่เกิน 1 ชั่วโมง ตรวจได้เร็วกว่าเทคนิค PCR เท่าตัว ช่วยลดต้นทุนการตรวจโรคให้แก่เกษตรได้เป็นอย่างดี

              ตัวอย่างชุดตรวจรวดเร็วจากไบโอเทคสำหรับตรวจโรคในปลา เช่น  “blueAmp” ชุดตรวจโรคสเตรปโตคอคโคซิส (Streptococcosis) ในปลานิลและปลาทับทิม ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่ทำให้ปลามีอัตราการรอดต่ำและมีร่องรอยของโรคเหลืออยู่บนตัวปลาทำให้ไม่สามารถจำหน่ายได้ กลไกการทำงานของชุดตรวจนี้ใช้เทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของแบคทีเรีย และการผสมด้วยสี Hydroxynaphthol blue (HNB) ทำให้ใช้เวลาในการตรวจเพียง 1 ชั่วโมง และสามารถดูผลตรวจได้จากสีที่เปลี่ยนไปได้ด้วยตาเปล่า เหมาะแก่การใช้ตรวจคัดแยกพ่อแม่พันธุ์ ไข่ปลา และลูกปลาที่เป็นพาหะนำโรค และใช้เฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรค

              ตัวอย่างสุดท้ายเป็น “ชุดตรวจเชื้อไวรัส Tilapia lake virus (TiLV) ในปลานิลและปลาทับทิม” ด้วยเทคนิค RT-LAMP nanogold ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเท่าวิธี semi-nested RT-PCR ใช้เวลาตรวจเพียงประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะแก่การใช้ตรวจคัดแยกพ่อแม่พันธุ์ ไข่ปลา และลูกปลาที่เป็นพาหะนำโรค และใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาด ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำไปทดสอบในภาคสนามเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบระดับภาคสนามต่อไป

 รายละเอียดเพิ่มเติม :

  • การวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ (https://bit.ly/3wkXs2K)

  • Amp-Gold (https://bit.ly/2SrBywd หน้า 57)

  • blueAmp (https://bit.ly/3xoEqd1)

             ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ สวทช. พัฒนาขึ้นเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยให้เข้มแข็ง ควบคู่กับการให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy Model) ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ที่มุ่งใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียกระดับการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม ลดการสร้างของเสีย และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

               หากสนใจเทคโนโลยีการเกษตรอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ “หนังสือ 3 ทศวรรษ สวทช. กับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่มเกษตรและอาหาร” ที่เว็บไซต์ https://bit.ly/2SrBywd

ที่มา : nstda

ShareTweetShare
Previous Post

มวล. คิดค้น Nora serum “เซรั่มจากสารสกัดเปลือกมังคุดและส้มแขก” ช่วยลดริ้วรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ

Next Post

ม.มหิดล คิดค้น “นวัตกรรมน้ำยาบ้วนปากยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19” แม้ในเชื้อที่กลายพันธุ์

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

4 months ago
24
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

4 months ago
20
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

4 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

4 months ago
8
Load More
Next Post
ม.มหิดล คิดค้น “นวัตกรรมน้ำยาบ้วนปากยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19” แม้ในเชื้อที่กลายพันธุ์

ม.มหิดล คิดค้น “นวัตกรรมน้ำยาบ้วนปากยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19” แม้ในเชื้อที่กลายพันธุ์

กฟผ.ร่วมโชว์ “นวัตกรรมพลังงานหมุนเวียนไฮบริด” นำคนไทยขับเคลื่อนอาเซียนมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กฟผ.ร่วมโชว์ “นวัตกรรมพลังงานหมุนเวียนไฮบริด” นำคนไทยขับเคลื่อนอาเซียนมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.