mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
จุฬาฯ วิจัย นวัตกรรมยับยั้งมะเร็ง “หุ่นยนต์ชีวภาพ” ลำเลียงสารจากถั่งเช่า สำเร็จ !

จุฬาฯ วิจัย นวัตกรรมยับยั้งมะเร็ง “หุ่นยนต์ชีวภาพ” ลำเลียงสารจากถั่งเช่า สำเร็จ !

0

            นักวิจัยจุฬาฯ เผยความสำเร็จ Active targeting นวัตกรรมพลิกวงการแพทย์ ใช้หุ่นยนต์ชีวภาพนำส่งสารสกัดถั่งเช่ายับยั้งมะเร็ง มั่นใจถึงพิกัด ลดผลข้างเคียง

             งานวิจัยหลายชิ้นจากทั่วโลกยืนยันแล้วว่า สาร “คอร์ไดเซปิน” (Cordycepin) ที่สกัดได้จากถั่งเช่าเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญที่ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ แต่ปัญหาก็คือลำไส้ของคนเราดูดซึมสารตัวนี้ได้น้อยมาก 

            อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา อาจารย์ประจำหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร. วรัญญู พูลเจริญ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ทำการวิจัยเพื่อตอบโจทย์นี้ โดยการพึ่งระบบนำส่งที่ทำหน้าที่เสมือนหุ่นยนต์ที่จะนำพาสาร “คอร์ไดเซปิน” ไปยังมะเร็งเป้าหมายได้ตรงจุดมากขึ้น  

อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา

            อ. ดร. ธีรพงศ์ อธิบายว่าการกินถั่งเช่าหรือสารสกัดถั่งเช่าอย่างที่มีขายและนิยมบริโภคในปัจจุบันอาจมีประโยชน์ในแง่การบำรุงร่างกายโดยทั่วไป แต่แทบไม่เห็นผลเลยในแง่การยับยั้งเซลล์มะเร็ง

            “เราต้องสกัดสาร “คอร์ไดเซปิน” ในถั่งเช่าออกมา แล้วดูว่าจะนำเข้าไปยังบริเวณที่เกิดเนื้อเยื่อมะเร็งในร่างกายเราได้อย่างไร เนื่องจากลำไส้ดูดซึมคอร์ไดเซปินได้น้อยมาก ศูนย์นาโนเทคฯ จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ชีวภาพ ที่เรียกว่า “ระบบนำส่งสารด้วยอนุภาคนาโน” เป็นเสมือน delivery system ทำหน้าที่นำส่งสารสกัดไปยังตำแหน่งมะเร็งที่เราต้องการให้สารสกัดออกฤทธิ์”

            ระบบนำส่งนาโนเทคโนโลยีตอบโจทย์เรื่องการรักษามะเร็ง ด้วยการพาตัวยาไปถึงเป้าหมายและช่วยให้ร่างกายดูดซึมคอร์ไดเซปินดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ระบบนำส่งยังลดโอกาสที่ตัวยาจะตกค้างและเกิดเป็นพิษในร่างกายด้วย

           “ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าสารตัวใดในถั่งเช่าที่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือเป็นพิษอันตรายต่อร่างกาย เช่น กระเพาะอาหาร ตับ ไต ดังนั้น ถ้าเรามีตัวนำส่งมาห่อหุ้มเฉพาะสารสำคัญเพื่อให้เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ก็จะช่วยให้ลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะพิษที่อาจเกิดกับตับ ทั้งนี้ “การปลดปล่อยแบบควบคุมได้” ของอนุภาคนาโนจะสามารถลดความเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นกับตับหรือไตได้” ธีรพงศ์ อธิบายเพิ่มเติม

           “งานวิจัย “หุ่นยนต์ชีวภาพ” ยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษากระบวนการ “active targeting” คือการใช้โมเลกุลชี้เป้านำส่งสารสำคัญไปยังจุดหมายอวัยวะที่ต้องการโดยแม่นยำที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากนวัตกรรมหุ่นยนต์แห่งอนาคตตัวนี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อรักษาโรคมะเร็งเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้ห่อหุ้มตัวยาและนำส่งสารให้ถึงบริเวณที่ต้องการรักษา”

            ที่ผ่านมา คณะนักวิจัยได้เริ่มทดลองใช้หุ่นยนต์ชีวภาพขนส่งสารสำคัญ ทั้งยาและวัคซีน ซึ่งสารสำคัญต่างชนิดและช่องทางการให้ ก็ต้องการรายละเอียดของหุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบแตกต่างกันออกไป จึงต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ นอกจากนี้ ปัจจุบันก็ได้มีการนำหุ่นยนต์ชีวภาพไปปรับใช้ในการรักษาสัตว์ด้วย อ.ดร.ธีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : Chula news

ShareTweetShare
Previous Post

สจล. เปิดตัว “ AI ตรวจโควิดกลายพันธุ์” รู้ผลภายใน 30 วินาที แม่นยำถึง 99%

Next Post

เอสซีจี และทีทีซีแอล จับมือ มทส. ติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
23
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

3 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
79
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
22
Load More
Next Post
เอสซีจี และทีทีซีแอล จับมือ มทส. ติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์

เอสซีจี และทีทีซีแอล จับมือ มทส. ติดตั้งโรงไฟฟ้าลอยน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์

มทร.ธัญบุรี พัฒนานวัตกรรมการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์มาควบคุมการปลูกพืชเพื่อการเกษตร

มทร.ธัญบุรี พัฒนานวัตกรรมการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์มาควบคุมการปลูกพืชเพื่อการเกษตร

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.