mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
วช. เปิดตัว “ข้าวอัลตร้าซาวด์” เครื่องมือแพทย์ทำจากข้าวเจ้า

วช. เปิดตัว “ข้าวอัลตร้าซาวด์” เครื่องมือแพทย์ทำจากข้าวเจ้า

0

             นักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คิดค้นนวัตกรรมข้าวอัลตร้าซาวด์ เจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย โดยล่าสุดคว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

             ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในอาเซียน อุปกรณ์การแพทย์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งรวมถึงเจลอัลตร้าซาวด์ ที่แพทย์นำมาใช้ตรวจในช่องท้อง ปัญหานี้เอง นักวิจัยจึงได้คิดค้นเจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ จนเป็นผลสำเร็จ วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ แก่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ “ข้าวอัลตร้าซาวด์” เจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ แก่ นายแพทย์สิทธิพร บุณยนิตย์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

            นายแพทย์สิทธิพร บุณยนิตย์ เปิดเผยว่า ข้าวอัลตร้าซาวด์ เป็นเจลทางการแพทย์ ที่ใช้เป็นตัวกลางส่งผ่านคลื่นเสียงความถี่สูงของคลื่นอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจวิเคราะห์อวัยวะภายในร่างกายผู้ป่วย โดยเจลทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นระหว่างหัวตรวจที่โค้งมนของเครื่องอัลตราซาวด์กับผิวหนังของผู้ป่วย โดยข้าวอัลตร้าซาวด์ เกิดจากการนำข้าวเจ้ามาเป็นวัตถุดิบหลัก ในการผสมร่วมกับสารละลายกลีเซอรีน สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารเมทธิลพาราเบน และน้ำตาลซูโครส ผลปรากฏว่าค่าความเป็นกรด-ด่าง ความชื้นสัมพัทธ์ กับความหนืด ความเหลวของเจลตรงตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ แต่สามารถทำความสะอาดผิวได้ด้วยน้ำเปล่า กลิ่นก็ไม่ฉุน

            คุณภาพของภาพอัลตร้าซาวด์ เมื่อได้นำไปทดสอบใช้งานจริงในมนุษย์ พบว่าเจลอัลตร้าซาวด์จากข้าวเจ้ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สร้างภาพจำลองได้คมชัดมากกว่าเจลอัลตร้าซาวด์จากต่างประเทศ ทั้งนี้แนวคิดที่เลือกข้าวเจ้ามาเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากข้าวเจ้า เป็นสารอินทรีย์ เมื่อมีความชื้นปนอยู่มากจะเกิดปฏิกิริยาเคมีไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลชีพและมอดแมลง ทำให้องค์ประกอบข้าวทุกส่วนบูดเน่าได้โดยเร็ว การลดความชื้นในข้าวเปลือกจะเป็นวิธีพื้นฐาน เพื่อช่วยถนอมข้าวให้เก็บรักษาได้นานขึ้น อีกทั้งการแปรรูปข้าวไปเป็นเครื่องมือแพทย์ ก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวได้อีกหลายสิบเท่าตัว

           สำหรับการต่อยอดทางนักวิจัยได้ร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต มีการขึ้นทะเบียนสินค้าทางการแพทย์ ที่ออกโดย กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไทย และในขณะนี้ ได้เริ่มผลิตสินค้าต้นแบบตามระเบียบเครื่องมือแพทย์ไทย และดำเนินการทางการตลาด โดยทดลองจำหน่าย จ่ายและแจกผลิตภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์คิดค้นให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศได้ทดลองใช้

             ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช.ได้มีการมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 ให้ข้าวอัลตร้าซาวด์ เนื่องจากเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นจากข้าวเจ้ารายแรกของประเทศไทยและของโลก ที่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพทางเคมี และทางชีวภาพตามมาตรฐาน ISO 13485 ว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยเท่าเทียมกับเจลอัลตร้าซาวด์ของต่างประเทศ สามารถผลิตและจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ตามกฎระเบียบกระทรวงสาธารณสุขไทย และช่วยลดการนำเข้า เพิ่มการส่งออกเครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันเชิงวิจัยพัฒนาวิชาการของนักวิทยาศาสตร์ไทยไปสู่แนวหน้าของโลกอีกด้วย

ShareTweetShare
Previous Post

เอ็มเทค สวทช. ส่งมอบ “เปลความดันลบ” ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์สู้โควิด-19 ระลอกใหม่

Next Post

วว. เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย ให้บริการวิเคราะห์ความเสียหายชิ้นส่วนวิศวกรรม

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
82
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
วว. เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย ให้บริการวิเคราะห์ความเสียหายชิ้นส่วนวิศวกรรม

วว. เสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทย ให้บริการวิเคราะห์ความเสียหายชิ้นส่วนวิศวกรรม

จุฬาฯ ชูกัญชาเพื่อการแพทย์ ต่อยอดสารพัดผลิตภัณฑ์

จุฬาฯ ชูกัญชาเพื่อการแพทย์ ต่อยอดสารพัดผลิตภัณฑ์

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.