mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
วิศวะฯ มน. ร่วมคิดค้น “หุ่นยนต์น้องเมนู” ลดสัมผัส ลดเสี่ยงโควิด 19

วิศวะฯ มน. ร่วมคิดค้น “หุ่นยนต์น้องเมนู” ลดสัมผัส ลดเสี่ยงโควิด 19

0

        ดร.เศรษฐา ตั้งค้าวนิช รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตัวแทนผู้ร่วมคิดค้น นวัตกรรม MENU Delivery Robot หรือ น้องเมนู หุ่นยนต์เพื่อการขนส่งและการสื่อสารทางไกล (MENU ย่อมาจาก Medicine + Engineer + Naresuan University) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติคอยติดตามอาการผู้ป่วย และเรื่องการให้บริการ เช่น การส่งอาหาร การส่งยา หรือการพูดคุยกับผู้ป่วยแบบที่เห็นหน้ากัน ใช้หุ่นยนต์เป็นตัวเชื่อม ตัวลดการสัมผัสระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย นั้น ได้เล่าให้ฟังว่า “ครั้งแรกที่ได้รับโทรศัพท์จาก รศ.ดร.สุชาติ แย้มเม่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เกี่ยวกับโปรเจคหุ่นยนต์ เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะนำมาแก้ไขสถานการณ์โควิด 19 ในปัจจุบัน ก็ดีใจมากก็รับทำ จำได้ว่าตอนนั้นอาจารย์ทุกท่านช่วยกันฟอร์มทีมแล้วก็เขียน Proposal ขึ้นมา จำได้ว่าน่าจะเที่ยงคืน 2 วัน เราทำงานกันหลังบ้านหลายท่านมาก ผมเป็นเพียงผู้ประสานตรงกลางเลยขออนุญาตมานำเสนอตรงนี้

        สำหรับรูปแบบเดิมตอนที่ได้โจทย์มา เราวิเคราะห์ว่าอยากจะทำเป็นหุ่นยนต์ในเชิงลักษณะเป็นคีออส ตั้งอยู่ที่หน้า ARI คลินิค ตอนนั้นเราพยายามจะลดในเรื่องของปัญหาคอขวดที่เข้ามากองอยู่ตรงหน้า ARI คลินิก แล้วก็พยายามจะดูแลป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งคุณหมอ เภสัช บุคลากร เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ เพราะว่าต้องดูแลป้องกันทุก ๆ ท่านไว้ ซึ่งในช่วงนั้น เรากำลังพยายามหาเรื่องของ distancing ตามนโยบาย ก็เลยคิดว่าจะสร้างเป็นตัวคีออสก่อน คือเป็นหุ่นยนต์ที่อยู่กับที่ ก็จะมีคอมพิวเตอร์ และมีการดีไซน์ในเรื่องของการใช้งานของเสียง เพราะว่าตอนนั้นทุก ๆ ท่าน จะกลัวหมดในเรื่องการสัมผัส เราก็จะดูคีย์เวิดร์ดสามารถแก้ไขตรงนี้ได้เราก็ไปนั่งดูว่ามีอะไรบ้าง

        ในเรื่องของซาวด์เสียงพูด เราก็เลยดีไซน์และฟอร์มทีมขึ้นมาว่าหุ่นยนต์ตัวนี้จะต้องติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย หรือคนที่ต้องการมาคัดกรองโดยที่ไร้การสัมผัส พอมาประชุมในที่ประชุมกับอาจารย์ทุก ๆ ท่านก็มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจาก รศ.ดร.สุชาติ แย้มเม่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ว่า ไหน ๆ จะเป็นหุ่นยนต์แล้ว ทำให้มันเคลื่อนที่ได้

        นอกจากนี้ ศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และ รก.ผอ.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร, ศ.ดร.ไพศาล มุณีสว่าง คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร บอกต่ออีกว่าดีเลย จะได้เอามาส่งน้ำ ส่งยาต่าง ๆ ต่อ เลยเป็นที่มาว่ามันก็จะเปลี่ยนจากดีไซน์เดิมที่ตั้งใจเพียงวางไว้ข้างหน้าเพื่อลดปัญหาคอขวดในการคัดกรอง กลายเป็นการอัพเกรดมาเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งก็ตรงกับโจทย์ที่เราพยายามลดละการสัมผัส แล้วก็เพิ่มระยะห่าง แต่ก็ยังมีการควบคุมและดูแลจากทางบุคลากรทางการแพทย์อย่างไม่ขาดสายเลยจึงมีการดีไซน์ใหม่ จึงเปลี่ยนจากลักษณะของตัวคีออสกลายเป็นหุ่นยนต์ แล้วใช้รถเข็นที่มีอยู่ในสถานพยาบาลอยู่แล้วเป็นตัวตั้งต้น เพราะว่าโจทย์ตรงนี้ที่ได้รับมาจากกองทุนฯ ต้องทำเป็นต้นแบบเพื่อให้เอาตัวนี้เป็น open source นำไปให้โรงพยาบาลอื่น สถาบันอื่นพัฒนาต่อยอดแล้วไปใช้งานต่อ คีย์เวิร์ดคือต้องตั้งราคาถูก แล้วค่อยมองเห็นว่าเราใช้รถเข็นที่เป็นลักษณะการทำงานอยู่ในโรงพยาบาล แล้วก็เสริมด้วยล้อเข้าไป คือ การเลี้ยวแยกระหว่างซ้ายกับขวา

        อีกประเด็นหนึ่ง คือ จริง ๆ จะเห็นว่าการดีไซน์ เราก็จะใช้การควบคุมจากรีโมทระยะไกล ซึ่งตอนนั้นตอนที่ทีมงานคุยกัน มีการออกแบบกันหลายแบบ เขียนเป็นตัว Application ในมือถือแล้วก็ทำการสื่อสารไร้สาย WiFi Bluetooth ต่าง ๆ สุดท้ายแล้วเรามองถึงเรื่องของการใช้งานที่ค่อนข้างง่าย เราก็เลยมองในเรื่องของตัวโมดุลของอุปกรณ์พวกวิทยุไร้สาย จะเป็นเครื่องบินบังคับหรืออื่น ๆ  ซึ่งจะนำตรงนั้นมาประยุกต์ ข้อดี ก็คือจะเป็นการผูกกันระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร แบบ 1 ต่อ 1 เพื่อลดปัญหาในการใช้งาน ซึ่งจากสเปคนี้ ทดลองแล้วสามารถควบคุมจากระยะไกลได้ประมาณ 70 – 100 เมตร แต่ถ้าจากการทดลองจะไกลกว่านี้ได้อีก ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ถ้าเป็นพื้นที่โล่ง พื้นที่ต่าง ๆ ก็จะมีแปรผันกันไป

        ด้านอุปกรณ์ทำการประยุกต์แล้วสามารถทำงานได้ดีมาก เราสามารถหาอุปกรณ์มาประกอบได้ง่าย อีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้จะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ อุปกรณ์ชุด Tablet จะเป็นตัวบรรจุโปรแกรมในเรื่องของการคัดกรอง กล้องเทอร์โมสแกน เทอร์มอร์เซ็นเซอร์ เราก็เลยเลือกใช้เทอร์มอร์เซ็นเซอร์เป็นกล้องสแกนเข้าไป เขียนโปรแกรมติดต่อ ทำการอัพเดทข้อมูลร่วมกับตัวโปรแกรมคัดกรอง โดยในช่วงงานพระราชทานรับปริญญาที่ผ่านมา หุ่นยนต์ทุกตัวของโครงการฯ นี้ ทั้ง 5 ตัว ได้ถูกนำไปติดตั้งเพื่อทำการคัดกรองอุณหภูมิของผู้สำเร็จการศึกษาที่เข้ามารับพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งสามารถใช้งานได้ดีทุกอย่างเป็นอย่างดี หลาย ๆ คนดูแล้วทันสมัย สามารถตอบโจทย์นในเรื่องของการคัดกรองได้อย่างรวดเร็ว

       สำหรับโครงสร้างของปุ่มฉุกเฉิน Emergency Stop และมีเซ็นเซอร์เอาไว้ในการป้องกันการชน หุ่นยนต์นี้สามารถตั้งค่าได้ว่าระยะเวลาที่จะบังคับไปแล้วจะเช็คสิ่งกีดขวางด้านหน้าจะไม่ให้เกินเท่าไหร่ ก็สามารถตั้งค่าได้ผ่านโปรแกรม ที่สำคัญ คือตัวโปรแกรมที่อยู่บรรจุภัณฑ์ใน Tablet เป็นโปรแกรมที่ทำกันมาหลายเวอร์ชั่น ปรับเปลี่ยนแก้ไขจนเริ่มเสถียร สามารถแปลงเสียงได้ เหมือนเราติดต่อสื่อสารกันอยู่ พูดคุยกันอยู่

        เราพยายามจะใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ที่สุด เราไม่ได้เจาะอะไรรถเข็นเลย รถเข็นนี้ไม่ได้ถูกเจาะล้อ ดีไซน์ให้ถนอมตัวรถเข็นที่สุด ถ้าเสียยังสามารถเข็นแบบปกติได้โดยที่ไม่กระทบกับโครงสร้างใด ๆ ทั้งสิ้น จากนั้นในโครงสร้างจะมีแบตเตอรี่ที่สามารถใช้งานได้นาน

        เครื่องสแกนอุณหภูมิ มีฟีเจอร์ซ่อนอีก 2 – 3 อย่าง เนื่องจากกล้องสามารถใช้ image ได้ทั้งในส่วนของตัวกล้องเทอร์โมสแกนแล้วก็กล้องที่ติดอยู่กับTablet ก็ได้เช่นกัน เพื่อระบุตัวตนด้วยใบหน้าเพื่อลดการสัมผัส นอกจากนี้ มีการอ่านค่าจากบัตรประชาชน มายืนยันตัวตนก่อนทำแบบคัดกรอง หากเป็นผู้ป่วยหรือผู้ที่เข้ามาทำการรักษาแล้วก็มีฐานข้อมูลใบหน้าภายใน แค่เอาหน้าไปส่องบอกได้เลยว่าเป็นใครแล้วจากนั้นข้อมูลการวัดไข้ต่าง ๆ ก็ถูกส่งไปยังระบบของโรงพยาบาล สามารถนำข้อมูลไปส่งต่อโดยที่ไม่ต้องสัมผัสใด ๆ ทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าเราได้ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เข้ามาช่วยในเรื่องการใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น

        ส่วนโปรแกรมคัดกรองด้วยเสียง จะมีแบบสอบถามที่แปลงจากตัวชีสกระดาษแปลงให้กลายเป็นเสียง และพูดส่งออกมาผ่านลำโพง แล้วคนไข้หรือคนคัดกรองก็ฟัง แล้วตอบคำถามเป็นข้อ ๆ ลักษณะการตอบคำถาม ก็จะตอบง่าย ๆ ว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ เพื่อลดความคลุมเครือต่าง ๆ โดยจะมี AI ข้างหลังอยู่ชุดหนึ่งในการประเมิน แล้วก็จะส่งผลประเมินไปยังส่วนของ Server เบ็ดเสร็จทั้งหมดจะไม่มีการสัมผัสใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ข้อมูลและทุกอย่างสามารถเดินทางผ่านโลกดิจิตอลได้ทั้งหมด” ดร.เศรษฐา ตั้งค้าวนิช รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่าให้ฟัง

ที่มา : nu

ShareTweetShare
Previous Post

สจล. พัฒนา “AI วัดสัญญาณชีพทางไกล” นวัตกรรมช่วยแพทย์สู้โควิด

Next Post

วว. พัฒนา “วัสดุดูดซับจากยางพารานาโนเทคโนโลยี” สำหรับขจัดน้ำมันปนเปื้อน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
วว. พัฒนา “วัสดุดูดซับจากยางพารานาโนเทคโนโลยี” สำหรับขจัดน้ำมันปนเปื้อน

วว. พัฒนา “วัสดุดูดซับจากยางพารานาโนเทคโนโลยี” สำหรับขจัดน้ำมันปนเปื้อน

วว. เปิดแล็บทดสอบสารสกัด ‘กัญชา-กัญชง’ สำหรับใช้ทางการแพทย์

วว. เปิดแล็บทดสอบสารสกัด 'กัญชา-กัญชง' สำหรับใช้ทางการแพทย์

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.