mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
สวทช. หนุนสตาร์ทอัพ Herbs Starter เพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนเกษตร

สวทช. หนุนสตาร์ทอัพ Herbs Starter เพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนเกษตร

0

             แพลตฟอร์มพัฒนาธุรกิจและสร้างนวัตกรรมตลาดสินค้าเพื่อชุมชน ภายใต้ชื่อ “Herbs Starter” ผลงานหนึ่งในสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี 2563 หรือ SUCCESS 2020  ดำเนินงานโดยศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้าชุมชนเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น GI OTOP Organic รายแรกของไทย พัฒนาต่อยอดให้เกษตรกรขับเคลื่อนธุรกิจได้เอง พร้อมเชื่อมโยงลูกค้าให้เข้าถึงชุมชน และสามารถนำองค์ความรู้กลับไปสร้างรายได้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นางสาวอิสรีย์ นิตยสมบูรณ์

            นางสาวอิสรีย์ นิตยสมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท บอร์น อาร์ดีไอ เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า“Herbs Starter” เป็นสื่อกลางที่ช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรทั่วประเทศ ให้สามารถซื้อขาย แลกเปลี่ยน แปรรูปสินค้าได้ตามต้องการ โดยแพลตฟอร์มนี้จะค้นหา ถ่ายทอด และส่งต่อเรื่องราวของสินค้า GI OTOP (Geographical Indications) คือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยในแต่ละพื่นที่ในประเทศไทย จะมีสินค้า OTOP ที่เรียกได้ว่าเป็นสมบัติชิ้นงานประจำพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่สามารถผลิตนอกพื้นที่ได้ เช่น กาแฟในป่า หมากเม่าจากเทือกเขา มะดันริมน้ำ ข้าวบนดอย กระเทียมน้ำแร่ และอีกมากมาย โดยแพลตฟอร์ม Herbs Starter จะค้นหา ถ่ายทอด และส่งต่อเรื่องราวของสินค้า GI OTOP มีอัตลักษณ์โดด เด่นส่งตรงถึงมือลูกค้า เพื่อยกระดับสินค้าเกษตร GI OTOP และ Organic ของไทย และเป็นสื่อกลางสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

             ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทราบความต้องการของผู้บริโภคในท้องตลาด และที่สำคัญคือในการสร้างแพลตฟอร์มนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งตลาดสินค้าชุมชน GI OTOP Organic รายแรกของเมืองไทย ที่สามารถช่วยชุมชนในการพัฒนาสินค้าให้ตรงความต้องการของตลาดได้ และทดสอบตลาดขายจริงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้น้อย เนื่องจากต้องลงทุนมากและเกษตรกรยังไม่มีความพร้อม แต่ในทางกลับกันหากเกษตรกรมีรายได้จากการขายสินค้าเกษตรนั้นๆ ผ่านทางช่องทางการตลาดจริงๆ เขาจะนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดผลผลิตที่มากขึ้น และสร้างรายได้มากขึ้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ GI เช่น กาแฟเทพเสด็จ ต.เทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ที่ปลูกใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ทำให้ต้นกาแฟค่อยๆ สะสมอาหาร เม็ดกาแฟจึงสมบูรณ์ และกาแฟมีกลิ่นหอมดอกไม้ป่า เป็นเอกลักษณ์ของกาแฟเทพเสด็จ ที่สามารถขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) อัตลักษณ์พื้นถิ่น โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นกาแฟที่มีเอกลักษณ์ที่เกิดขึ้นได้เฉพาะพื้นที่นี้เท่านั้น

            “ปัญหาของเกษตรกร ส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน ก็คือปลูกเก่ง แปรรูปขั้นต้นเก่ง แต่ว่ายังขายไม่ค่อยเก่ง แล้วที่สำคัญ เขาไม่รู้ความต้องการว่าตลาดต้องการอะไร ดังนั้นหน้าที่ของ Herbs Starter คือ ไปช่วยเขาคิด ช่วยเขาต่อยอดหรือแก้ปัญหาที่เขาติดขัดเล็กน้อย และเชื่อมโยงเขาสู่ตลาดได้จริงๆ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะทำให้เข้าถึงสินค้าได้มากขึ้นกว่าเดิม เพราะในปัจจุบันโลกของออนไลน์ได้เข้ามาเป็นส่วนนึงของชีวิต ทำให้วิถีการใช้จ่ายได้เปลี่ยนไปมาก ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้เพียงปลายนิ้ว และสามารถดูข้อมูลได้ว่าสินค้านี้มาจากไหน แหล่งผลิตจากที่ใด และสินค้าที่ลูกค้าได้เลือกซื้อก็มีการรับรองและคัดสรรมาอย่างดี”

              นางสาวอิสรีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่าพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปมาก ไม่นิยมออกมาซื้อสินค้าตามสถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้แต่ในชุมชนต่างๆ ต่างหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์ และต้องมีการบริการที่รวดเร็ว และสินค้าต้องมีมาตรฐานเพื่อรับประกันสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ในสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนจากสินค้าที่เป็นของฝาก มาเป็นสินค้าที่สามารถใช้ หรือ รับประทานได้  เช่น มะเขือเทศเชอร์รี่ มะขามคลุกน้ำตาลไร้เมล็ด ขนมปังลำไย และกาแฟเทพเสด็จ ผู้สนใจสามารถเข้าไปรับชมเรื่องราวของสินค้าและสั่งซื้อได้ที่ www.facebook.com/herbsstarter

            นางสาวอิสรีย์ กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี 2563 (SUCESSS 2020) นั้น เพื่อต้องการหาโอกาสและช่องทางเปลี่ยนแปลงธุรกิจจากรูปแบบ SMEs ให้เป็นสตาร์ทอัพด้วยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้และสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างมีทิศทาง พร้อมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนผู้ประกอบการในสายเทคโนโลยีต่างๆ เช่น บริการทางขนส่ง ระบบบริการตลาด และการเงิน รวมถึงได้พบที่ปรึกษาที่สามารถปรับรูปแบบธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการพบปะกับกลุ่มนักลงทุนต่างๆ ทำให้ธุรกิจเติบโตก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้น และปัจจุบันได้มีการทดสอบรูปแบบธุรกิจ Herbs Starter ร่วมกับโครงการ AGTECH4OTOP ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) โดยสามารถสร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลไม้ ต.ท่าทราย ซึ่งจำหน่ายมะดันแช่อิ่มและมะดันอบแห้ง ทำยอดขายได้ถึง 1 แสนบาทต่อเดือน เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ จนปัจจุบัน Herbs Starter จัดอยู่ในส่วนของ e-market place ของ AGTECH Startup Lanscape ของ NIA เรียบร้อย

ShareTweetShare
Previous Post

นศ. ICT มหิดล คิดค้น “สิมิลัน:ระบบประมวลผลสุขภาวะทางจิตโดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์”

Next Post

อว.หนุน SME ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไฟเขียว 3 เทคโนโลยีพร้อมใช้สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย
นวัตกรรมด้านเกษตร

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

3 months ago
23
นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์
นวัตกรรมด้านอุตสาหกรรม

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

3 months ago
18
แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม
นวัตกรรมด้านเกษตร

แผ่นยางพาราปูคอกสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของโคนม

3 months ago
16
เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้
นวัตกรรมด้านเกษตร

เพิ่มคุณภาพ “ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม” ด้วยนวัตกรรมฮอร์โมนเพิ่มดอกเพศผู้

3 months ago
8
Load More
Next Post
อว.หนุน SME ฝ่าวิกฤติโควิด-19  ไฟเขียว 3 เทคโนโลยีพร้อมใช้สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

อว.หนุน SME ฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไฟเขียว 3 เทคโนโลยีพร้อมใช้สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

GISTDA ย้ำ! ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องมี “กฎหมายอวกาศ”

GISTDA ย้ำ! ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องมี “กฎหมายอวกาศ”

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.