mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
รพ. พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารฯ สร้าง รพ.วิจัยนวัตกรรม-เครื่องมือแพทย์ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

รพ. พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารฯ สร้าง รพ.วิจัยนวัตกรรม-เครื่องมือแพทย์ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

0

             หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา และล่าสุดในช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 ทำให้ประเทศไทย โดยเฉพาะระบบสาธารณสุขไทย กลับมาเผชิญกับความยากลำบากอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความท้าทายด้านการควบคุมโรค และ รับมือกับจำนวนผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือ ที่ยังสามารถพัฒนาให้มีศักยภาพสูงขึ้นได้อีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในด้านของศักยภาพในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อนำมาแจกจ่ายเองภายในประเทศ รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ ไม่เพียงเพื่อเร่งแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน แต่ยังเพื่อป้องกันและเตรียมตัวให้พร้อมกับวิกฤตสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วย

            ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้เล่าถึงความท้าทายของระบบสาธารณสุขไทยว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่นำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์สูงสุดในอาเซียนถึง 87% โดยเป็นการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ ซึ่งคิดเป็นมูลค่านับแสนล้านบาทต่อปีที่รั่วไหลไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ อุปกรณ์นำเข้าส่วนใหญ่ยังเป็นแบบใช้แล้วทิ้งถึง 80% ไม่เพียงเท่านี้ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทำให้ไทยต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นอีก 6.5% (ข้อมูล: ภาพรวมอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พ.ศ. 2562) ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ดังเช่นครั้งนี้ เนื่องจากเราไม่สามารถผลิตเทคโนโลยีเหล่านี้ได้เองในปริมาณที่เพียงพอ ต้องอาศัยการนำเข้า และเรียนรู้เทคโนโลยีจากต่างชาติเป็นหลัก

            “ในทางกลับกัน หากประเทศไทยเองสามารถผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ปัญหาดังกล่าวก็จะทุเลาลง ซึ่งประเทศไทยเองก็สามารถทำได้เช่นกัน จะดีกว่าหรือไม่!? หากคิดที่จะเริ่มตั้งแต่วันนี้ กับการมีทีมแพทย์นวัตกร ที่ร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม มีโรงพยาบาลที่พร้อมเป็นศูนย์วิจัยและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องมือแพทย์ มีพื้นที่ให้การตรวจรักษาโรคผู้สูงอายุแบบครบวงจร”

             จึงเกิดเป็นแนวคิดในการสร้าง “โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร” (KMCH: King Mongkut Chaokhun Thahan Hospital) ที่ไม่ใช่แค่ศูนย์การแพทย์เท่านั้น แต่เพื่อนำไปสู่ “โรงพยาบาลวิจัย” ในอนาคต ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกับศาสตร์แขนงอื่น สู่นวัตกรรมที่ใช้ได้จริง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนนวัตกรรมทางการแพทย์ประสิทธิภาพสูง เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ได้อย่างเท่าเทียมของคนไทย รวมถึงสนับสนุนรัฐบาลลดการนำเข้าเทคโนโลยีมูลค่าสูง และยกระดับวงการแพทย์ไทยให้สามารถพึ่งพาตนเอง พร้อมทั้งเป็นที่พึ่งให้กับคนไทยได้อย่างยั่งยืน

            โดยที่ผ่านมา สจล. ได้ฉายภาพของแนวความคิดดังกล่าวให้เกิดขึ้น ผ่านความร่วมมือของนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และอื่น ๆ ภายใต้โครงการ “KMITL 60 FIGHT COVID-19” เพื่อรับมือปัญหาการขาดแคลนนวัตกรรมทางการแพทย์ช่วงโควิด-19 พร้อมทั้งส่งมอบให้กับหน่วยงานรัฐและโรงพยาบาล ภายในประเทศไทยและต่างประเทศ เป็นจำนวนมากกว่า 800 ชิ้น อาทิ ตู้ตรวจเชื้อ (Swab Test) แบบความดันลบ (Negative Pressure) แบบความดันบวก (Positive Pressure) และต้นแบบเครื่องช่วยหายใจ (KMITL Mini Emergency Ventilator)

ทั้งนี้ โรงพยาบาลดังกล่าว มาพร้อมกับจุดเด่นใน 5 มิติ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • มีนวัตกรรมทางการแพทย์รองรับผู้ป่วยในทุกบริบท เพราะโรงพยาบาลแห่งนี้ จะขมวดรวมทุกศาสตร์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมเพื่อรักษาพร้อมฟื้นฟูสุขภาพคนไทยทุกคน

  • มีองค์ความรู้เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย เพราะนอกจากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแล้ว โรงพยาบาลแห่งนี้ ยังมุ่งสร้างองค์ความรู้ด้านเครื่องมือแพทย์ เพื่อประยุกต์ใช้ในภาวการณ์ฉุกเฉินจากโรคระบาด

  • เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมไทยและอาเซียน โดยโรงพยาบาลแห่งนี้ พร้อมเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมทางการแพทย์สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย พัฒนาและวิจัยนวัตกรรม/ เครื่องมือแพทย์ด้วยตนเอง ผ่านการผสมผสานองค์ความรู้ของหลากสาขา

  • เป็นโรงพยาบาลที่พร้อมรับมือทุกวิกฤตสุขภาพ โรงพยาบาลฯ มีความตั้งใจในการสร้างความพร้อมของเครื่องมือแพทย์สำหรับรับมือกับทุกวิกฤตสุขภาพในอนาคต ทั้งระดับประเทศและระดับโลก ผ่านการระดมความคิดของทีมแพทย์และนักวิจัยทุกสาขาของ สจล.

  • สร้างโอกาสการรักษาของคนไทย ท้ายที่สุด โรงพยาบาลฯ มุ่งผลิตเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับใช้ภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้คนไทย ในการเข้าถึงการรักษาประสิทธิภาพสูง อย่างเท่าเทียม ด้วยปณิธานของโรงพยาบาลที่ว่า “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยรอด”

ติดตามความเคลื่อนไหวของโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ได้ที่ www.kmchf-pp.org เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://web.facebook.com/KMCHospitalbyKMITL ไลน์ไอดี @KMITLHospital หรือโทร. 092-454-8160 และ 092-548-2640

ShareTweetShare
Previous Post

อีเด็น นวัตกรรมช่วยยืดอายุผักผลไม้

Next Post

โปรแกรมแล็บจำลองเสมือนจริง (Simulation Lab) ลดการใช้สัตว์ทดลอง

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
80
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
โปรแกรมแล็บจำลองเสมือนจริง (Simulation Lab) ลดการใช้สัตว์ทดลอง

โปรแกรมแล็บจำลองเสมือนจริง (Simulation Lab) ลดการใช้สัตว์ทดลอง

นักวิจัยไทยพัฒนา “แบตเตอรี่สังกะสีไอออน” ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นักวิจัยไทยพัฒนา "แบตเตอรี่สังกะสีไอออน" ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
98

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.