mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ม.อ. พัฒนาระบบคัดกรอง COVID-19 อัจฉริยะ ด้านทันตกรรมสำเร็จ

ม.อ. พัฒนาระบบคัดกรอง COVID-19 อัจฉริยะ ด้านทันตกรรมสำเร็จ

0

           มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ ตอกย้ำวิสัยทัศน์โรงเรียนทันตแพทย์คุณภาพ เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ ประเดิมเปิดใช้ระบบตรวจคัดกรอง COVID-19 อัจฉริยะก่อนการรักษาด้านทันตกรรม ที่ โรงพยาบาลทันตกรรม ชูประสิทธิภาพสะดวกและปลอดภัย ด้วยระบบคัดกรองประวัติเสี่ยง อุณหภูมิร่างกาย ลดโอกาสสัมผัสระหว่างบุคคล ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ บุคลากรทางการแพทย์ นักศึกษา และผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการ 300 คนต่อวัน เพื่อร่วมลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายการรักษาของประเทศไทย พร้อมเล็งขยายผลไปสู่แผนกอื่นๆ ในโรงพยาบาล

          รศ.ดร.ทพญ. ชิดชนก ลีธนะกุล คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ ได้พัฒนาระบบการตรวจคัดกรองอัจฉริยะก่อนการรักษาด้านทันตกรรม (Smart Screening COVID-19 for Dental Patients) โดยมีกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้ให้การสนับสนุนในครั้งนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์การพัฒนาเพื่อให้ประชาชนที่เข้ามารับบริการได้รับความสะดวก รวดเร็ว มีความปลอดภัย และที่สำคัญลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทั้งจากผู้ป่วยที่เข้ามาใช้บริการ รวมทั้งบุคลากรทางแพทย์ และนักศึกษา

รศ.ดร.ทพญ. ชิดชนก ลีธนะกุล

            ล่าสุดโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำระบบการตรวจคัดกรองอัจฉริยะก่อนการรักษาด้านทันตกรรม เปิดบริการอย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากโรงพยาบาล ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงการแพร่ระบาดโรค COVID-19 ค่อนข้างสูง โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เข้ามารักษาทันตกรรมทั่วไปและเฉพาะทาง รวมทั้งรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีความยากและซับซ้อนจากโรงพยาบาลต่างๆ ภาคใต้ เช่น ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ที่เข้ามารักษาทั้งในเวลาราชการและนอกราชการโดยเฉลี่ย 300 คนต่อวัน และยังเป็นสถาบันฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา

          ทั้งนี้การตรวจคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ถือว่าเป็นมาตรการที่สำคัญสำหรับโรงพยาบาล ก่อนที่จะรับผู้ป่วยเข้ารับบริการทันตกรรมทุกครั้ง เพื่อพยายามแยกผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยระบบการตรวจคัดกรองอัจฉริยะก่อนการรักษาด้านทันตกรรม มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองประวัติเสี่ยง ตั้งแต่ระบบคัดกรองอุณหภูมิร่างกายทั้งผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังมีระบบทำการลงทะเบียนโดยอัตโนมัติ (kiosk) หรือโทรศัพท์ (mobile application) พร้อมกับมีระบบแจ้งคิวการรับบริการ เพื่อช่วยลดโอกาสสัมผัสระหว่างบุคคล ลดความแออัดในพื้นที่รอรับบริการ

           สำหรับการพัฒนาระบบการตรวจคัดกรองอัจฉริยะ เป็นหนึ่งในการมุ่งขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของคณะทันตแพทยศาสตร์ ม.อ. ที่ก้าวสู่การเป็นโรงเรียนทันตแพทย์คุณภาพ เพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ ซึ่งที่ผ่านมาระบบการคัดกรองผู้ป่วยจะเป็นการซักประวัติและประเมินความเสี่ยง พร้อมกับตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ต้องใช้เจ้าหน้าที่ประจำจุดคัดกรอง 8 คนต่อช่วงเวลา และใช้เวลาโดยเฉลี่ย 10 นาที การพัฒนาระบบดังกล่าวช่วยลดระยะเวลาทำงานและลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายของประเทศไทยในกรณีที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยม.อ.มีความพร้อมนำระบบคัดกรองอัจฉริยะขยายผลไปสู่การใช้งานกับแผนกอื่นๆ ภายในโรงพยาบาลต่อไป

ShareTweetShare
Previous Post

ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรมใหม่ “วัคซีนกรดไรโบนิวคลีอิกโควิด-19” และ “วัคซีนซับยูนิตโควิด-19 แบบเฮกซะโปร” เตรียมพัฒนาต่อยอดวิจัยวัคซีนป้องกันมะเร็ง

Next Post

สวทช. พัฒนาเครื่องล้างไตผ่านช่องท้องอัตโนมัติ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

7 months ago
42
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

7 months ago
26
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

7 months ago
103
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

8 months ago
56
Load More
Next Post
สวทช. พัฒนาเครื่องล้างไตผ่านช่องท้องอัตโนมัติ

สวทช. พัฒนาเครื่องล้างไตผ่านช่องท้องอัตโนมัติ

เมื่อนักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลองปลูกโหระพาในอวกาศเทียบกับบนพื้นโลก

เมื่อนักบินอวกาศญี่ปุ่นทดลองปลูกโหระพาในอวกาศเทียบกับบนพื้นโลก

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
163

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
57

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
30

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
32
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.