เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2565 ภายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 30 ประจำปีงบประมาณ 2565 ภายใต้หัวข้อ “80 ปี : วิทยาศาสตร์การแพทย์และการสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (80 Years : Medical Sciences and Networking for Sustainable Development)นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวชุดตรวจ Test Kunn ว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาการตรวจพิสูจน์วิเคราะหืปริมาณสารสำคัญในกัญชา โดยมีการตรวจ 2 ส่วน ประกอบด้วย 1.ตรวจพืช สารสกัด ผลิตภัณฑ์ แยกเป็นตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เช่น เครื่องสำอาง ตรวจคุกกี้ ช็อกโกแลต ให้ทราบว่ามีปริมาณสารในกัญชามากน้อยแค่ไหน มีกี่มิลลิกรัม แต่ราคาค่อนข้างแพง ค่าตรวจ 5,000 บาทต่อครั้ง
ชุดทดสอบกัญชา เรียกว่า THC test kit ใช้ตรวจวัดพืชกัญชาและสารสกัดกัญชา แต่ยังไม่เหมาะกับชาวบ้านทั่วไป เพราะต้องลงทุนตั้งต้น 4,000 บาทสำหรับ 1 กระเป๋า จะได้อุปกรณ์ทั้งหมด ทั้งการให้ความร้อน ชั่งน้ำหนักให้แม่นยำ น้ำยาต่างๆ ตรวจได้ 20 เทสต์ หลังจากนั้นซื้อแบบเติมหรือรีฟิล ราคา 1,000 บาทต่อ 20 เทสต์จะถูกลงมาอยู่ที่ 50 บาทต่อเทสต์ หากชาวบ้านจะใช้ตรวจแค่ตัวอย่างเดียวก็ไม่คุ้ม แต่จะเหมาะกับกรณีที่มีการรวมเป็นกลุ่มหรือโรงงานที่ตรวจบ่อย เมื่อตรวจออกมาจะแสดงผลขึ้นเป็นแถบสี จากนั้นใช้สายตาเทียบเคียงกับแถบสีที่ระบุปริมาณTHCไว้ ถ้าสีเข้มมากก็เกิน 0.2% ถ้าจางลงก็ต่ำกว่า 0.2% อยู่ระหว่างการพัฒนาแอปพลิเคชันในการอ่านสี จะได้แม่นยำมากกว่าใช้ตา
ล่าสุด ได้พัฒนาชุดทดสอบอย่างง่าย มีการพัฒนา “Test Kunn” เป็นวิธีง่ายๆที่ตอบโจทย์ชาวบ้านสามารถตรวจเองได้ เป็นลักษณะตลับเหมือนชุดตรวจATK โดยใช้ตรวจสาร THC ในสารสกัดกัญชาและน้ำมันกัญชา ลักษณะการตรวจเป็นชุดทดสอบเบื้องต้น โดยใช้เทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟิ(Immunochromatography) หรือ IC ซึ่งอาศัยหลักการจับกันระหว่างแอนติบอดี้และแอนติเจนแบบแข่งขัน (Competitive immunoassay) วิธีใช้สะดวก รวดเร็ว ทราบผลภายใน 15 นาที มีประสิทธิภาพและใช้ในภาคสนามได้ มีความไว้ในการตรวจวัดสารTHC ที่ความเข้มข้น 2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร(mg/m/ (0.2%) ผลการทดสอบจะต้องปรากฎแถบสีม่วงที่บริเวณตำแหน่ง C ทุกครั้ง จึงสามารถอ่านผลได้
ขั้นตอนการใช้ 1.นำตัวอย่างสารสกัดหรือน้ำมันกัญชาใส่ช้อนจนเต็ม 1 ช้อน 2.เทตัวอย่างจากช้อนทั้งหมดลงในหลอดสารสกัด 3.เขย่าหลอดสารสกัดจนสารผสมเป็นเนื้อเดียวกัน 4.ใช้หลอดหยดดูดสารสกัดขึ้นมาจนถึงขีดที่กำหนด และปล่อยลงในหลอดสารสกัดอีกหลอด 5.ดูดขึ้นลงและผสมสารในหลอดสารสกัดให้เข้ากัน จากนั้นดูดสารสกัดขึ้นมาจนถึงขีดที่กำหนด และ6.ปล่อยสารสกัดลงในหลุมของตลับทดสอบและรอผลการทดสอบเป็นเวลา 15 นาที
สำหรับการแปลผล หากผลบวก จะปรากฏแถบสีม่วงแดงเพียง 1ขีด บริเวณตำแหน่ง C ที่ตลับชุดทดสอบ แสดงว่ามี THC ทดสอบเกิน 0.2% และผลลบ ปรากฏแถบสีม่วงแดง 2 ขีด บริเวณตำแหน่ง ( และ T ที่ตลับชุดทดสอบ (โดยความเข้มสีอาจจะเข้มหรือจางกว่าตำแหน่ง C ก็ได้) แสดงว่ามี THC ในตัวอย่างที่ทดสอบไม่เกิน 0.2%
ทั้งนี้ ชุดทดสอบดังกล่าวเป็นการตรวจเบื้องตัน (Screening test) เท่านั้น ไม่สามารถนำไปผลไปดำเนินการทางคดีได้ โดยกรมจะผลิตจำนวน 15,000 ชุดเพื่อแจกจ่ายฟรี ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะแจกจ่ายให้กลุ่มใดและเริ่มเมื่อไหร่ นอกจากนี้ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนที่สนใจนำไปผลิตจำหน่าย ซึ่งราคาที่กรมดำเนินการอยู่ที่ราว 100 บาทต่อเทสต์
และ2.การตรวจในคน หากมีการใช้แล้วเกิดอาการ เช่น ประสาทหลอน ใจสั่น หัวใจหยุดเต้น ต้องพิสูจน์ว่าเกิดจากได้รับกัญชามากไปหรือไม่ เดิมที่กัญชายังผิดกฎหมาย จะตรวจในปัสสาวะ จะระบุว่ามีญชา ไม่ได้แยกสารว่าเป็นตัวไหน ซึ่งแม้จะตรวจง่ายแต่มีข้อเสีย คือ อยู่ในปัสสาวะได้ยาวเป็นเดือน แม้จะหยุดใช้แล้วก็จะเจอผลเป็นบวก แต่ปัจจุบันที่กัญชาไม่ผิดกฎหมาย จะต้องตอบคำถามของแพทย์ที่รักษาว่า คนนี้มีอาการเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นเพราะฤทธิ์จากกัญชาหรือไม่ มิเช่นนั้นจะมีการเหมารวม จึงต้องใช้วิธีการตรวจเลือดขณะมีอาการป่วย เพื่อให้ทราบว่ามีสารกัญชาในเลือดมากน้อยแค่ไหน ทั้ง THC CBD เพื่อเอาไปประกอบการวินิจฉัยของแพทย์
อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนงานวิชาการทั่วโลก ยังไม่มีข้อมูลบอกว่าความเข้มข้นในเลือดเท่าไหร่ถึงจะมีปัญหา เพราะกัญชาจะมีผลต่อแต่ละคนแตกต่างกันไป บางคนกินผสมคุกกี้ ก็มีอาการเวียนหัวใจ ใจสั่น บางคนกินเป็นกล่องก็สบายดี กรมจึงมีแผนทำวิจัยเรื่องนี้ ร่วมกับ รพ.ใหญ่ทั่วประเทศ ที่มีคนไข้เข้ารับรักษาที่คาดว่าจะมีผลจากกัญชา โดยตัวอย่างจากเลือดแล้วส่งมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการกรม มีความแม่นยำสูง สามารถบอกได้ว่ามีสาร THC CBD หรืออื่นๆ กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 15 แห่งทั่วประเทศ พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2565 ใช้ระยะเวลาการตรวจ 1-3 วันทำการ ค่าตรวจราว 1,400 บาทต่อเทสต์ แต่ที่ร่วมในงานวิจัยนี้จะตรวจฟรี ผลที่ได้จะทำให้ทราบว่าปริมาณสารTHCเท่านี้ ส่งผลให้เกิดอาการแบบใดต่อผู้ใช้ ปริมาณเท่าไหร่ถึงควรระวัง ช่วยแพทย์รักษาคนไข้มากขึ้น
สำหรับชุดทดสอบสารTHC ในอาหารขายทั่วไปนั้น นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า การตรวจในอาหารไม่ง่ายในทางวิทยาศาสตร์กาแรพทย์ เพราะมีองค์ประกอบอาหารมาก มีผลต่อวิธีตรวจ ปัจจุบันในอาหารสามารถส่งมาตรวจได้ในห้องปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ ราคาราว 5,000 บาท โดยต้องกำจัดไขมันในอาหารออกไปก่อน ชาวบ้านไม่สามารถตรวจเองได้ อย่างไรก็ตาม อยู่ระหว่างการพัฒนาชุดทดสอบ เพื่อให้สามารถเอาไปจุ่มในอาหารแล้วรู้ว่ามีสารTHC เกินหรือไม่ แต่คงไม่สามารถบอกระดับปริมาณได้ เป็นเรื่องยากและยังไม่มีบริษัทไหนในโลกทำออกมาได้ ถือว่าเป็นโจทย์ต้องช่วยกันคิด ขอเวลาในการพัฒนา
กรณีที่มีห้องปฏิบัติการเอกชนเปิดให้บริการตรวจปริมาณกัญชาหรือสารTHC นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบตีกรมวิหยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้สารสกัด THC ยังเป็นยาเสพติด การครอบครองของห้องแล็ปต่างๆยังไม่ได้ แต่ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กำลังปรับกฎหมายเพื่อให้แล็ปเอกชนครอบครองสารมาตรฐาน THC ในการทำแล็ปได้ ซึ่งจะทำให้แล็ปมีสารอ้างอิงในการตรวจแล็ปได้ แต่การตรวจสารCBD แล็ปเอกชนสามารถทำได้ เพราะ ไม่ถือเป็นสารเสพติดก่อนหน้านี้แล้ว และกรมจะดำเนินการรับรองแล็ปที่ตรวจด้วย
Discussion about this post