mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มหิดลพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเดงกี่ ได้ถึง 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกัน ฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีได้

มหิดลพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกเดงกี่ ได้ถึง 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกัน ฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีได้

0

              ความมหัศจรรย์ของชีวิตมนุษย์ เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนคลอดออกมาเป็นทารกวัย 9-12 เดือน เมื่อพบว่ามีภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติโดยอัตโนมัติจากแม่สู่ลูก ผ่านทางรก

                ในขณะที่วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ที่ใช้ฉีดกันโดยทั่วไปในปัจจุบัน สามารถป้องกันได้เฉพาะในเด็กวัย 9 ขวบขึ้นไปเท่านั้น จึงทำให้เด็ก ๆ ซึ่งหมดภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติแล้วจากมารดาในกลุ่มช่วงวัย 1-9 ปี ต้องเสี่ยงมากต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่

                ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 4 ทศวรรษแล้วที่ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย นักวิจัยของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) ได้คิดค้นและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ โดยเริ่มต้นได้รับการสนับสนุนจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) และนานาประเทศ จนสามารถทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ได้ถึง 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกัน และสามารถฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีได้ โดยทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ยาวนานถึง 5 ปี จนล่าสุดมีบริษัทเอกชนมารับช่วงต่อไป โดยอยู่ระหว่างการทดสอบ และพัฒนาสู่การผลิตให้สามารถใช้ได้จริงอย่างปลอดภัยในวงกว้างทั่วโลก

                แม้จะต้องรอคอยยาวนานเพียงใด ก็ไม่เท่าความภาคภูมิใจที่จะได้เห็นคนไทยในฐานะเจ้าของเทคโนโลยีที่จะสร้างประโยชน์ต่อไปสู่มวลมนุษยชาติ โดยที่คนไทยเองก็จะสามารถเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ในงบประมาณสุขภาพที่จับต้องได้ด้วย

                 ความยั่งยืนของการพัฒนาวัคซีนอยู่ที่ความสามารถควบคุมไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ในพื้นที่ระบาดของโลก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเป็นการมอบโอกาสให้เด็กวัย 1-9 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงที่สุดได้มีโอกาสรอดชีวิต และเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองซึ่งจะกลายเป็นความหวังของโลกแห่งอนาคตได้ต่อไป

              ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สุธี ยกส้าน ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล คือผู้เป็นตำนาน ซึ่งเป็นเบื้องหลังของความสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม จนสามารถป้องกันได้ถึง 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกันเช่นปัจจุบัน

               ข้อมูลที่น่าสนใจซึ่งนำไปสู่การออกแบบเพื่อการพัฒนาวัคซีนได้อย่างตรงเป้าหมาย นอกจากพบว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่กันบ้างแล้ว ในขณะที่เด็กยังคงน่าเป็นห่วงอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่โดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่กัด ร้อยละ 80 ไม่มีอาการ ในขณะที่ร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการ ซึ่งการตรวจภูมิคุ้มกันด้วยวิธีการโดยทั่วไปไม่สามารถใช้ยืนยันผลการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ได้ 100% จะต้องวิเคราะห์ด้วยวิธีทดสอบความสามารถในการลบล้างฤทธิ์ไวรัสหรือ neutralization test ซึ่งเป็นการตรวจพิเศษในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น

                นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สุธี ยกส้าน มองว่า เพียงการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ไม่ให้เกิดการแพร่ขยายพันธุ์ของพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออกเดงกี่ และการรณรงค์ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด (Mosquito Repellents) นั้นอาจไม่เพียงพอ จะต้องมีการผลักดันให้เกิดการเตรียมพร้อมสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ในเชิงนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังต่อไปด้วย

                 อาจารย์ ดร.พร้อมสิน มาศรีนวล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวให้ความเชื่อมั่นทิ้งท้ายถึงบทบาทของศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนฯ ว่า พร้อมเป็นที่พึ่งให้กับคนไทย และมวลมนุษยชาติ ในการคิดค้น และพัฒนาวัคซีนที่จะเป็นต้นแบบเพื่อการป้องกันโรคในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไข้เลือดออกเดงกี่ ไข้ซิกา ตลอดจนโรคไข้สมองอักเสบเจอี

                 โดยเชื่อมั่นว่าจากประสบการณ์ 4 ทศวรรษของศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่จนประสบความสำเร็จ สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ได้ถึง 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกัน และอยู่ระหว่างการทดสอบทางคลินิกคู่ขนานกับการผลักดันสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นบทเรียนสำคัญสู่การพัฒนาวัคซีนที่จำเป็นเร่งด่วนชนิดอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ และเท่าทันได้ต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

ชาวไร่อ้อยเฮ! ดีพร้อมนำทีมผลักดันงานวิจัยสมาร์ทฟาร์มสู่ไร่อ้อย ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต

Next Post

นวัตกรรม PASS อุปกรณ์นำทางเข็มสำหรับเครื่องอัลตราซาวด์ เจาะไขสันหลังแม่นยำ ลดความเสี่ยงและความเจ็บให้ผู้ป่วย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

7 months ago
42
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

7 months ago
26
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

7 months ago
101
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

7 months ago
56
Load More
Next Post
นวัตกรรม PASS อุปกรณ์นำทางเข็มสำหรับเครื่องอัลตราซาวด์ เจาะไขสันหลังแม่นยำ ลดความเสี่ยงและความเจ็บให้ผู้ป่วย

นวัตกรรม PASS อุปกรณ์นำทางเข็มสำหรับเครื่องอัลตราซาวด์ เจาะไขสันหลังแม่นยำ ลดความเสี่ยงและความเจ็บให้ผู้ป่วย

JAXA เลือก 2 ไอเดียของเด็กไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

JAXA เลือก 2 ไอเดียของเด็กไทย เตรียมทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
160

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
56

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
29

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
30
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.