mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรมการแพทย์ฝีมือคนไทย  “วีลแชร์ยืนได้” และ  “เครื่องยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย”

นวัตกรรมการแพทย์ฝีมือคนไทย “วีลแชร์ยืนได้” และ “เครื่องยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย”

0

         สุดเจ๋ง! กับผลงานนวัตกรรมการแพทย์ฝีมือคนไทย “วีลแชร์ยืนได้” และ “เครื่องยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย” ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการ ผู้ป่วย รวมถึงผู้ดูแล ผลงานนวัตกรรมร่วมจัดแสดงในงาน APEC BCG Economy Thailand 2022: Tech to Biz (Thailand Tech Show 2022) ซึ่งจัดโดย สวทช. และหน่วยงานพันธมิตรกว่า 40 หน่วยงาน

          นวัตกรรมพร้อมจำหน่ายเชิงพาณิชย์ พัฒนาโดยทีมวิจัยบริษัทซีเมด เมดิคอล จำกัด บริษัทสตาร์ตอัปด้านนวัตกรรมการแพทย์ที่เริ่มต้นจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สู่ตลาดสินค้านวัตกรรมของประเทศ ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรศัพท์มือถือ : 08-7028-4784 เว็บไซต์ : www.cmedmedical.com อีเมล : Teerapong.s@cmedmedical.com หรือไลน์ : @cmed

‘วีลแชร์ยืนได้’ ทางเลือกใหม่ของผู้ป่วยและคนพิการ

          ธีรพงศ์ สมุทรอัษฎงค์ ผู้ก่อตั้งบริษัทซีเมด เมดิคอล จำกัด เล่าว่า ‘วีลแชร์ยืนได้’ หรือ Standing Wheelchair  เป็นนวัตกรรมตัวแรกของบริษัทซึ่งต่อยอดมาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับทุนวิจัยพัฒนา Research Gap Fund จาก สวทช. ในการพัฒนาผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริง เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ป่วยหรือคนพิการที่ต้องนั่งวีลแชร์สามารถลุกยืนได้ โดยเราออกแบบวีลแชร์ให้มีกลไกที่ผู้ใช้งานสามารถปรับยืนได้เองโดยออกแรงเพียงเล็กน้อย หรือให้คนในครอบครัวช่วยปรับเป็นท่ายืนให้โดยที่ผู้ป่วยหรือคนพิการไม่จำเป็นต้องออกแรงหรือขยับแขนเลย นอกจากนี้การยืนยังถือเป็นการกายภาพบำบัดอย่างหนึ่ง ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น และลดปัญหาแผลกดทับ

ธีรพงศ์ สมุทรอัษฎงค์

          จุดเด่นของวีลแชร์ปรับยืนได้ คือสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก คนพิการอัมพาตท่อนล่าง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีแรงแขนสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง โดยใช้แรงแขนช่วยในการยืน ข้างละ 5-8 กิโลกรัม ไม่ต้องใช้แรงขาในการยืน สำหรับผู้ป่วยที่แขนไม่มีแรงหรือผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตระดับสูงกว่า C7 คือแขนไม่มีความรู้สึก จำเป็นต้องให้ผู้ดูแลช่วยในการปรับยืน สามารถใช้ทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยและใช้แทนรถเข็นคนป่วยได้

ผ่อนหนักให้เป็นเบาด้วย “เครื่องยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย”

         หลังจากผลิตและจำหน่ายวีลแชร์ยืนได้แล้วประมาณ 2-3 ปี ธีรพงศ์พบว่าปัญหาของคนพิการและผู้ป่วยไม่ได้มีเพียงแค่นั่งวีลแชร์แล้วต้องการยืนเท่านั้น แต่เริ่มต้นจาก ‘ทำอย่างไรจึงจะให้เขาสามารถเคลื่อนย้ายตัวเองจากเตียงลงมานั่งวีลแชร์ได้’ จึงได้พัฒนานวัตกรรมอีกชิ้นหนึ่งขึ้นมาคือ ‘เครื่องยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย’ หรือ CMED Hoist ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกให้ผู้ดูแลในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงจากเตียง และช่วยให้ผู้ป่วยติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการที่มีโอกาสได้ทำกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการอยู่แต่บนเตียง ปัจจุบันมีการนำไปใช้งานแล้วมากกว่า 600 เครื่อง ในโรงพยาบาลหลายแห่งและศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของภาครัฐขนาดใหญ่ 12 ศูนย์ทั่วประเทศ และแม้ว่าเทคโนโลยีเครื่องยกผู้ป่วยมีการใช้งานมานานกว่า 30 ปีแล้วทั้งในอเมริกาและยุโรป แต่ยังมีอยู่อีกโจทย์หนึ่งที่เทคโนโลยีเดิมยังทำไม่ได้ คือไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ใช้วีลแชร์ไปที่รถยนต์ได้ จึงได้พัฒนา CMED Hoist – Multi Lift ที่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ใช้วีลแชร์ไปนั่งในรถยนต์ได้ เพื่อความสะดวกในการพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลหรือเดินทางไปยังที่ต่างๆ  สามารถเคลื่อนย้ายได้กับรถยนต์ทุกรุ่นและทุกขนาด โดยไม่ต้องดัดแปลงสภาพรถยนต์ ซึ่งนวัตกรรมนี้ได้รับการคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญหาเรียบร้อยแล้ว

           จุดเด่นของนวัตกรรมเครื่องยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย คือสามารถยกผู้ป่วยได้อย่างเอนกประสงค์ ด้วยกลไกการยกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสามารถปรับมุมจัดท่านั่งเป็นท่านอนในระหว่างทำการยก ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายผู้ใช้วีลแชร์ขึ้นลงรถยนต์ได้สะดวก หลักการทำงานก็คือใส่ผ้ายกผู้ป่วยเข้ากับตัวผู้ป่วยในท่านอนบนเตียง ท่านั่งวีลแชร์ หรือในขณะนั่งบนรถยนต์ ควบคุมการยกผู้ป่วยด้วยระบบไฟฟ้าและรีโมท ตัวเครื่องได้รับการออกแบบให้มีโครงสร้างแข็งแรง สามารถยกผู้ป่วยได้สูงสุด 150 กิโลกรัม เข็นเคลื่อนที่ได้ง่ายด้วยระบบล้อ และพับเก็บเพื่อนำเข้ารถยนต์ไปพร้อมกับผู้ป่วยได้

         ‘วีลแชร์ยืนได้’ ได้ผ่านการทดสอบความแข็งแรงและความคงทน ภายใต้เงื่อนไขการทดสอบมาตรฐาน ISO 7176 และ ‘เครื่องยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย’ ได้รับการรับรองมาตรฐาน IEC 60601-1 ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในยุโรป และทั้งสองผลิตภัณฑ์นี้อยู่ระหว่างดำเนินการขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย นับเป็นตัวอย่างความสำเร็จของสตาร์ตอัปด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทย ที่จะช่วยให้คนไทยได้เข้าถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกับสากลในราคาที่ย่อมเยากว่า

ShareTweetShare
Previous Post

AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

Next Post

นวัตกรรมเครื่องสีเปลือกแมคคาเดเมีย เพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับรายได้ชุมชน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 weeks ago
10
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

1 month ago
10
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

1 month ago
39
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

1 month ago
14
Load More
Next Post
นวัตกรรมเครื่องสีเปลือกแมคคาเดเมีย  เพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับรายได้ชุมชน

นวัตกรรมเครื่องสีเปลือกแมคคาเดเมีย เพิ่มศักยภาพการผลิตและยกระดับรายได้ชุมชน

นวัตกรรม “หุ่นฝึกฉีดยา” ฝึกทักษะนศ.พยาบาลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มความแม่นยำ และชำนาญ

นวัตกรรม “หุ่นฝึกฉีดยา" ฝึกทักษะนศ.พยาบาลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มความแม่นยำ และชำนาญ

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    49 shares
    Share 20 Tweet 12
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    44 shares
    Share 18 Tweet 11
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    44 shares
    Share 18 Tweet 11

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
8

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
10

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
15

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
10

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

February 21, 2023
10
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.