mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรม “เครื่องตรวจวัดการทรงท่าและการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง”

ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรม “เครื่องตรวจวัดการทรงท่าและการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง”

0

         หลายคนใช้ชีวิตอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์จนลืมไปว่าผ่านไปแล้วนานเท่าใด จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปีที่กระดูกสันหลังต้องอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุลเป็นเวลานาน สะสมจนร่างกายส่งสัญญาณแห่งความเจ็บปวดจนเกินต้านทานในที่สุด

         รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.พีร์มงคล วัฒนานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชากายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาผลงานนวัตกรรมที่ได้ร่วมสร้างสรรค์และพัฒนากับนักศึกษาของคณะกายภาพบำบัด เรื่อง “เครื่องตรวจวัดการทรงท่าและการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง” ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการยื่นจดอนุสิทธิบัตร กล่าวเตือนผู้ที่อยู่ในวัยทำงานไม่ให้ปล่อยปละละเลยเรื่องการดูแลตัวเองในเรื่องสุขภาพของ “กระดูกสันหลัง” ซึ่งเปรียบเหมือน “เสาหลักของร่างกาย” หากใช้งานอวัยวะดังกล่าวอย่างไม่ทะนุถนอมอาจเสื่อมถอยก่อนวัยอันควร ไม่แข็งแรงดังเดิม และส่งสัญญาณแห่งความเจ็บปวด จนเป็นเหตุให้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณปีละเป็นจำนวนมหาศาลในการดูแลผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวได้

         จากการคิดค้นนวัตกรรม “เครื่องตรวจวัดการทรงท่าและการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง” ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากอุปกรณ์อย่างง่าย ไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ในราคาไม่กี่พันบาท โดยใช้เซนเซอร์ประกอบกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้โปรแกรม “Lab View” ที่ใช้แสดงผลในห้องปฏิบัติการ กับผู้เข้ารับการทดสอบในวัยทำงาน กลุ่มอายุไม่เกิน 40 ปี เพื่อเปรียบเทียบผลทดสอบการทรงท่าระหว่างผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง และผู้เข้ารับการทดสอบที่มีอาการปกติ

         หลักการทำงานของนวัตกรรม “เครื่องตรวจวัดการทรงท่าและการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง” ซึ่งใช้ในทางคลินิก ทำงานโดยใช้เซนเซอร์ตรวจจับความเร็วในการเคลื่อนไหวติดไว้ที่บริเวณ “กระดูกสันหลัง” และ “กระเบนเหน็บ” หรือส่วนหลังของร่างกายระดับบั้นเอวของผู้เข้ารับการทดสอบ แล้วให้ลองยกแขน นั่งลง และยืน เพื่อดูผลทดสอบจากจอมอนิเตอร์ ที่แสดงความสมดุลของการทรงท่า บันทึกและรายงานผลโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อใช้วินิจฉัยประกอบการบำบัดรักษา และแนะนำท่าออกกำลังกายเพื่อการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยต่อไป

          รองศาสตราจารย์ ดร. กภ.พีร์มงคล วัฒนานนท์ อธิบายว่า “การทรงท่า” คือการยืน หรือนั่งอยู่ในท่าที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และประสาททำงานประสานกัน พบว่าการยืนปกติโดยใช้ข้อเท้าเป็นหลักในการทรงท่า จะทำให้ไม่ล้มง่าย และปวดหลัง นอกจากนี้ หากลงน้ำหนักที่ข้อสะโพกด้วย จะทำให้การทรงท่าเกิดความสมดุล มีจำนวนไม่น้อยของผู้ป่วยในวัยทำงานเข้ารับการบำบัดด้วยอาการปวดหลัง ด้วยสาเหตุ “หมอนรองกระดูกเสื่อม” เกิดจากการนั่งไม่ถูกท่าเป็นเวลานาน จนเกิด “แรงเฉือน” เนื่องจากกระดูกสันหลังเรียงตัวผิดปกติจนเกิดอาการอักเสบ ซึ่งระดับของความปวดที่เกิดขึ้น จะเป็นไปตามอาการที่สะสมจากการทรงท่าที่ผิดวิธีนั้นๆ ต่างจากอาการปวดหลังในผู้สูงวัยที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังตามกาลเวลา

          และยังได้แนะนำวิธีง่ายๆ สำหรับใช้ในการผ่อนคลายไม่ให้เกิด “ออฟฟิศซินโดรม” สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน โดยไม่ลืมที่จะเปลี่ยนอิริยาบถทุกครึ่งชั่วโมง ยืดเหยียดแผ่นหลังในท่านั่ง โดยการก้มลงขณะอยู่บนเก้าอี้ทำงาน เหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้า แล้วเอามือแตะพื้น หรือยืดเหยียดในท่ายืนโดยการยืนชิดผนังและออกแรงดันให้แผ่นหลังแนบไปกับผนังให้ได้มากที่สุด

          ในอนาคตทีมวิจัยเตรียมพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม “เครื่องตรวจวัดการทรงท่าและการเคลื่อนไหวสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดหลัง” จากการใช้เฉพาะในคลินิก สู่รูปแบบที่สามารถพกพาและเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ดูแลตัวเองที่บ้านได้ และจะผลักดันให้การตรวจวัดการทรงท่าและการเคลื่อนไหวอยู่ในรายการตรวจร่างกายประจำปี เพื่อประชาชนชาวไทยทุกคนจะได้ห่างไกลปัญหาปวดหลังจากภาวะ “เนือยนิ่ง” ที่จะก่อให้เกิดความเจ็บป่วย จนต้องกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการบำบัดรักษา ซึ่งอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่ากระดูกสันหลังจะกลับมาทำหน้าที่ “เสาหลักของร่างกาย” ได้ดีดังเดิม

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ www.mahidol.ac.th

ShareTweetShare
Previous Post

“ICON KASET” แอปพลิเคชั่นเรียกโดรนแบบครบวงจร ยกระดับเกษตกรรมไทย

Next Post

ม.บูรพา พัฒนา “ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหารแบบพกพา” มีความแม่นยำ รู้ผลไว ได้มาตรฐานสากล

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 weeks ago
10
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

1 month ago
10
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

1 month ago
39
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

1 month ago
14
Load More
Next Post
ม.บูรพา พัฒนา “ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหารแบบพกพา” มีความแม่นยำ รู้ผลไว ได้มาตรฐานสากล

ม.บูรพา พัฒนา “ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหารแบบพกพา” มีความแม่นยำ รู้ผลไว ได้มาตรฐานสากล

Q-CHANG (คิวช่าง) แพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์รวมช่างแบบครบวงจร

Q-CHANG (คิวช่าง) แพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์รวมช่างแบบครบวงจร

Discussion about this post

Popular Post

  • Thai School Lunch

    Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    49 shares
    Share 20 Tweet 12
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    44 shares
    Share 18 Tweet 11
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    44 shares
    Share 18 Tweet 11

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
8

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
10

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
15

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
10

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

February 21, 2023
10
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.