mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
รพ.สงขลานครินทร์ เปิดตัว “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด” เครื่องแรกและเครื่องเดียวในภาคใต้

รพ.สงขลานครินทร์ เปิดตัว “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด” เครื่องแรกและเครื่องเดียวในภาคใต้

0

              คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) จัดกิจกรรมเวทีเสวนาความสำเร็จ และเปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery) เครื่องแรก และเครื่องเดียวในภาคใต้ ที่สามารถใช้ผ่าตัดรักษาผู้ป่วยได้มากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน 190 ราย ตลอดระยะเวลา 1 ปี ยังเป็นแหล่งฝึกฝนเรียนรู้ให้กับแพทย์เฉพาะทาง และเป็นแหล่งศึกษาดูงานให้กับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมี รศ.พญ.มณฑิรา ตัณฑนุช รองคณบดีฝ่ายโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน

              หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า Robotic Surgery เป็นความก้าวหน้า และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทางโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (รพ.ม.อ.) เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของภาคใต้ ที่นำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเข้ามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยให้มีความแม่นยำ และปลอดภัย รวมทั้งลดผลกระทบจากบาดแผลในการผ่าตัดแบบเดิม

ประกอบด้วยอุปกรณ์ 3 ส่วน คือ

  • ชุดควบคุมที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงาน และสั่งการจากศัลยแพทย์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการผ่าตัด ซึ่งเครื่องจะส่งสัญญาณการเคลื่อนไหวของแพทย์ไปยังแขนของหุ่นยนต์ที่อยู่ข้างเตียงผู้ป่วย เพื่อทำการผ่าตัดตามการควบคุมของแพทย์ และแพทย์สามารถมองเห็นการผ่าตัดได้จากจอภาพ 3 มิติ

  • แขนกล เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แทนแขนของศัลยแพทย์ในการผ่าตัด โดยตัวหุ่นประกอบด้วยแขน 4 แขน แขนที่ 1 คือ กล้อง 3 มิติที่มีกำลังขยายสูงที่ทำให้แพทย์มองเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน แขนที่ 2, 3 และ 4 จะเป็นเหมือนเครื่องมือแพทย์ โดยคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถหักงอข้อมือ และหมุนข้อมือได้อย่างอิสระถึง 7 ทิศทาง ช่วยลดการสั่นของมือแพทย์ และสามารถเข้าถึงอวัยวะที่มือแพทย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ และปลอดภัยมากขึ้น

  • และส่วนที่สามเป็นชุดแปลงสัญญาณที่ทำหน้าที่รับสัญญาณจากชุดควบคุมส่งไปยังแขนกลให้ทำงานตามคำสั่ง

             การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์สามารถรองรับการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยได้หลายโรค ทั้งการผ่าตัดช่องท้อง การผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น การผ่าตัดมดลูก การผ่าตัดทางเดินปัสสาวะต่อมลูกหมาก การผ่าตัดด้านนรีเวช การผ่าตัดผู้ป่วยโรคอ้วน รวมถึงการผ่าตัดอื่นๆ ที่พิจารณาโดยแพทย์

             “ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์สำหรับแพทย์คือ ทำให้ใช้ผู้ช่วยผ่าตัดน้อยลง และความนิ่ง เพราะ มือที่ผ่าตัดเป็นมือหุ่นยนต์ที่บังคับโดยหมอผ่าตัด ซึ่งจะมีความเที่ยงตรง แม่นยำ และการผ่าตัด หรือการเย็บแผล สามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วย และจากข้อดีดังกล่าวยังทำให้แพทย์ด้านระบบทางเดินปัสสาวะ นำมาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยต่อมลูกหมาก เนื่องจากต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่อยู่ในพื้นที่ลึก และแคบ มือของศัลยแพทย์เข้าไปได้ลำบาก”

               ขณะที่ข้อดีสำหรับผู้ป่วยในการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ผ่าตัดคือ แผลผ่าตัดจะเล็กลง เจ็บน้อย เลือดออกค่อนข้างน้อย ทำให้ใช้เลือดในการผ่าตัดน้อยตามไปด้วย อีกทั้งระยะการพักฟื้น หรือนอนโรงพยาก็จะน้อยลงตามไปด้วย สามารถกลับไปใช้ชีวิต และทำงานได้เร็วขึ้น และที่สำคัญผู้ป่วยที่สูงอายุสามารถผ่าตัดได้ ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดแบบเปิด

               ผู้ป่วยและผู้สนใจการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่คลินิกศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โทร. 074 451 7601

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรมเครื่องผลิตปุ๋ยหมักลดขยะอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวสามพราน

Next Post

สเปรย์พ่นจมูกฝีมือคนไทย “Besuto Qlears” นวัตกรรมจากเปลือกมะนาวป้องกันเชื้อไวรัส

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
80
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
สเปรย์พ่นจมูกฝีมือคนไทย “Besuto Qlears” นวัตกรรมจากเปลือกมะนาวป้องกันเชื้อไวรัส

สเปรย์พ่นจมูกฝีมือคนไทย “Besuto Qlears" นวัตกรรมจากเปลือกมะนาวป้องกันเชื้อไวรัส

CPF Greenfarm นวัตกรรมต้นแบบฟาร์มรักษ์โลก เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

CPF Greenfarm นวัตกรรมต้นแบบฟาร์มรักษ์โลก เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
19
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.