mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
NurseSims Kit ชุดฝึกนักศึกษาพยาบาล เชี่ยวชาญทำหัตถการก่อนถึงคนไข้

NurseSims Kit ชุดฝึกนักศึกษาพยาบาล เชี่ยวชาญทำหัตถการก่อนถึงคนไข้

0

             อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา NurseSims Kit นวัตกรรมชุดการเรียนรู้รูปแบบการจำลองสถานการณ์ เตรียมทักษะการทำหัตถการของนักศึกษาพยาบาล ส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพและความฉลาดทางดิจิทัลก่อนลงสนามจริง

              การเรียนออนไลน์ในช่วงโควิด-19 อาจเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนการสอนในหลายสาขาวิชา แต่สำหรับวิชาที่มีภาคปฏิบัติเช่นในสายวิชาชีพแพทย์และพยาบาลที่ต้องมีการฝึกทำหัตถการ ไม่ว่าจะฉีดยาหรือแทงเข็มเข้าเส้นเลือดต่างๆ นักศึกษาจะฝึกภาคปฏิบัติกันอย่างไร?

รองศาสตราจารย์ ดร. ประกอบ กรณีกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            นี่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ รองศาสตราจารย์ ดร. ประกอบ กรณีกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งใจออกแบบและพัฒนา “NurseSims Kit” นวัตกรรมช่วยฝึกทักษะการทำหัตถการให้กับนักศึกษาพยาบาลด้วยชุดอุปกรณ์หุ่นจำลองและแอปพลิเคชัน การันตีความสำเร็จด้วยหลายรางวัลระดับนานาชาติ อาทิ เหรียญทอง จากงาน The International Invention Innovation Competition in Canada, iCAN 2022 และเหรียญทองแดงจากงาน 2022 Japan Design, Idea and Invention Expo (JDIE 2022)

            “ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนได้มากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์และพยาบาล เทคโนโลยีเข้ามาช่วยฝึกทักษะบางอย่างได้อย่างเสมือนจริงผ่านสถานการณ์จำลอง เป็นการส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพและความฉลาดทางดิจิทัลให้กับผู้เรียนไปในเวลาเดียวกัน”

ผ่าขัอจำกัดการฝึกทักษะวิชาชีพการพยาบาล

              รศ.ดร. ประกอบ เล่าถึงข้อจำกัดในการจัดการเรียนสอนออนไลน์ของวิชาชีพพยาบาลในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่นำไปสู่การคิดค้น “NurseSims Kit” ว่า “โดยปกติแล้ว การฝึกทำหัตถการ นักศึกษาพยาบาลจะต้องรวมตัวกันในห้องปฏิบัติการและฝึกจากสถานการณ์ โดยมีผู้สอนดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดและให้ผลป้อนกลับกับผู้เรียนว่าทำถูกต้องหรือไม่ แต่เมื่อต้องเรียนแบบออนไลน์ ก็ยากที่อาจารย์ผู้สอนจะดูแลได้ใกล้ชิดหรือตรวจสอบว่านักศึกษาทำถูกต้องหรือเปล่า และการให้นักศึกษามารวมตัวกันมากๆ ก็ทำไม่ได้”

             “แม้ตอนนี้การจัดการเรียนการสอนสามารถกลับมาทำตามแบบปกติเดิมได้ แต่การฝึกทำหัตถการก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องห้องปฏิบัติการที่มีต้นทุนสูง อีกทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการฝึกทักษะมีราคาแพง บางสถาบันที่สอนการพยาบาลไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้ให้พร้อมสำหรับฝึกนักศึกษาเพื่อจะได้ฝึกกันอย่างเต็มที่”

              NurseSims Kit จึงไม่เพียงตอบโจทย์การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แต่ยังตอบโจทย์ด้านการลดต้นทุนในการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนได้อีกด้วย

NurseSims Kit ผู้ช่วยฝึกทักษะพบาบาลยุคดิจิทัล

            ในการพัฒนา NurseSims Kit อาจารย์ประกอบได้รับความร่วมมือจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้ให้ข้อมูลด้านการฝึกทักษะวิชาชีพพยาบาล และเป็นสถาบันที่ใช้ NurseSims Kit ในการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อนำมาออกแบบและพัฒนานวัตกรรมที่ตรงใจกับผู้ใช้งานที่สุด

            NurseSims Kit เป็นชุดอุปกรณ์ประกอบด้วยหุ่นจำลองที่มีการฝังชุดควบคุมเซ็นเซอร์ไว้ และแอปพลิเคชัน โดยมีบทเรียนเป็นสถานการณ์จำลองที่ผู้เรียนต้องฝึกฝน 5 สถานการณ์ด้วยกัน ได้แก่ 

  1. ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

  2. ฉีดยาเข้าเส้นเลือด 

  3. ให้น้ำเกลือ 

  4. การตรวจระบบทางเดินหายใจ 

  5. การตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือด

              “นักศึกษาพยาบาลจะฝึกทำหัตถการกับหุ่นจำลอง เซ็นเซอร์ที่ประกอบอยู่ในตัวหุ่นจะส่งข้อมูลผลการปฏิบัติไปยังแอปพลิเคชัน เพื่อให้ผูัสอนตรวจสอบผลการปฏิบัติได้ทันทีหรือย้อนหลังก็ได้เพราะแอปพลิเคชันจะบันทึกข้อมูลไว้แล้ว นอกจากนี้ผู้สอนยังสามารถนำข้อมูลผลการปฏิบัติมาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษาคนอื่นๆ ในชั้นเรียนได้อีกด้วย” รศ.ดร.ประกอบ อธิบายการทำงานของชุดอุปกรณ์

             นวัตกรรม NurseSims Kit ได้นำร่องทดลองใช้แล้วในการสอนภาคปฏิบัติกับนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมา ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งในแง่การรายงานผลการฝึกทักษะของนักศึกษาและการเรียนการสอนที่ต้องรักษาระยะห่าง ทำให้ รศ.ดร.ประกอบ มั่นใจว่านวัตกรรมนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสถาบันการศึกษาด้านพยาบาลอีกหลายแห่ง

อนาคตเทคโนโลยีการเรียนรู้

             รศ.ดร.ประกอบ กล่าวว่า NurseSims Kit เป็นหนึ่งในตัวอย่างการออกแบบและบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งในอนาคตน่าจะต้องพัฒนาให้มากขึ้นและหลากหลายสำหรับสาขาวิชาชีพและการเรียนรู้ต่างๆ โดยเฉพาะในสายวิชาชีพทางการแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ซึ่งมีความรู้และทักษะจำเพาะที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

            “ในโปรเจคต่อๆ ไป ผมวางแผนที่จะนำหลักการทางเทคโนโลยีการศึกษาไปบูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ เช่น การแพทย์ ภาษา เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต” รศ.ดร.ประกอบ กล่าวทิ้งท้าย 

              สถาบันการศึกษาที่สนใจ NurseSims Kit สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ prakob.k@chula.ac.th รองศาสตราจารย์ ดร. ประกอบ กรณีกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ShareTweetShare
Previous Post

“deeple” ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ครบวงจร ด้วยเทคโนโลยี AI

Next Post

“AI Chest 4All” นวัตกรรมวิเคราะห์โรคผ่านฟิล์มเอ็กซเรย์

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

7 months ago
42
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

7 months ago
26
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

7 months ago
103
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

8 months ago
56
Load More
Next Post
“AI Chest 4All”  นวัตกรรมวิเคราะห์โรคผ่านฟิล์มเอ็กซเรย์

"AI Chest 4All" นวัตกรรมวิเคราะห์โรคผ่านฟิล์มเอ็กซเรย์

นาโนเทค สวทช. พัฒนาวัสดุเปลี่ยนสถานะ (PCM) ตอบโจทย์อุตสาหกรรมก่อสร้าง โซลาร์เซลล์

นาโนเทค สวทช. พัฒนาวัสดุเปลี่ยนสถานะ (PCM) ตอบโจทย์อุตสาหกรรมก่อสร้าง โซลาร์เซลล์

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    81 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
163

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
57

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
30

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
32
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.