mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
“ฟู้ดพร้อม (FoodPrompt)” แพลตฟอร์มชาญฉลาด ช่วยรังสรรค์อาหารโรงพยาบาลให้ไม่น่าเบื่อ

“ฟู้ดพร้อม (FoodPrompt)” แพลตฟอร์มชาญฉลาด ช่วยรังสรรค์อาหารโรงพยาบาลให้ไม่น่าเบื่อ

0

              ขณะนี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมที่มีประชากรผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น โดยร้อยละ 50 พบว่า ภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุกำลังเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากเมื่ออายุเยอะขึ้นจึงมีการสูญเสียระบบรากฟัน ทำให้การเคี้ยวอาหารเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำได้ยาก ส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลง และอาหารในโรงพยาบาลบางส่วนก็ยังวนอยู่ที่เมนูเดิม ๆ พาลให้การทานอาหารในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่ “น่าเบื่อ” สำหรับใครหลายคน 

              ทีมวิจัยจากคณะวิศกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.เชียงใหม่ จึงคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การผลิตที่ทันสมัย มาผสมผสานกับด้านโภชนาศาสตร์ พัตนาเป็น “ฟู้ดพร้อม (FoodPrompt)” แพลตฟอร์มชาญฉลาดสำหรับการให้โภชนบำบัดและการผลิตอาหารแบบเฉพาะเจาะจง ผ่านกระบวนการพิมพ์อาหารในรูปแบบใหม่ ๆ ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และยังมีปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละคน

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ

             รศ.ดร.วัสสนัย วรรธนัจฉริยา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข และยังพบว่าผู้ป่วยยังเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น การทำให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและสารอาหารที่เพียงพอจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย นอกจากความต้องการด้านโภชนาการที่แตกต่างกันแล้ว ยังต้องมีการติดตามว่าผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้มากน้อยเพียงใด

              ฟู้ดพร้อม เป็นการผสมผสานระหว่างปัญญาประดิษฐ์และโภชศาสตร์ การใช้งานแพลตฟอร์มเริ่มต้นจากการบันทึกข้อมูลผู้ใช้งานร่วมกับการวางแผนการดูแลด้านโภชนาการเฉพาะบุคคล ผ่านแอปพลิเคชั่น Foodflow เพื่อกำหนดปริมาณและสารอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับในแต่ละมื้อ ก่อนจะส่งต่อไปยังฐานข้อมูลเพื่อใช้งานร่วมกับ  Food Scanner ซึ่งมีทั้งในแอปพลิเคชั่นและคีออส โดยแอปพลิเคชั่นจะสามารถใช้งานได้ทั้งในและนอกโรงพยาบาล อัลกอริทึ่มประมวลผลออกมาเป็นรูปภาพอาหารที่ผู้ป่วยทานได้ในแต่ละมื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาหารมื้อหลัก เพื่อคำนวนปริมาณพลังงานและสารอาหารที่ได้รับและต้องการเพิ่มเติม

               ในส่วนของคีออส จะอยู่ในรูปแบบของเครื่องสแกนอาหารแบบชาญฉลาดในชื่อ “ปิ่นโต (Pinto)” ซึ่งจะให้ความแม่นยำในการวัดปริมาณสารอาหารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบจะใช้ข้อมูลก่อนและหลังรับประทานอาหารมาประกอบการประมวลผล หลังจากการประมวลผลสารอาหารที่ผู้ป่วยขาดหายไปแล้ว พยาบาลจะให้ผู้ป่วยเลือกลักษณะของอาหาร และกลิ่นของอาหาร เช่น มีลักษณะเป็นรูปวงกลมคล้ายโอริโอ้ และมีกลิ่นคล้ายขนมเทียน 

หมึกพิมพ์ 3 มิติ

                จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังวิธีการเพิ่มสารอาหารผ่านเทคโนโลยี “เชฟช้อยส์ (ChefChoice)” หรือ “เครื่องพิมพ์อาหาร 3 มิติ (3D Food Printer)” โดยการนำ “หมึกพิมพ์อาหาร (Food Ink)” ที่มีสารอาหารชนิดต่าง ๆ มาใส่ในหลอดเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อการขึ้นรูปอาหารให้มีปริมาณสารอาหารที่เฉพาะเจาะจงกับรายบุคคล โดยเฉพาะสารอาหารในด้านพลังงาน โปรตีน แคลเซียม และวิตามิน D ซึ่งเป็นสารอาหารหลัก ๆ ที่มักพบว่าขาดแคลน

                 เครื่องพิมพ์อาหาร 3 มิติ จะวาดลวดลายต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ และสามารถแต่งกลิ่นได้อย่างที่ผู้ป่วยต้องการ ทำให้ผู้ใช้และผู้สูงอายุเกิดความพึงพอใจในอาหาร ทั้งด้านคุณประโยชน์ที่จะได้รับและด้านสุนทรียภาพในการบริโภคไปพร้อมกัน ผู้ป่วยก็จะได้รับประทานอาหารที่ตนเองได้เลือกไว้ในตอนแรก

              “อาหารที่ได้จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จะเป็นอาหารในรูปแบบที่พร้อมรับประทาน เพราะสารอาหารที่มาจากหมึกพิมพ์นั้นได้ถูกทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทานได้เลย เครื่องพิมพ์จะใช้เวลา 60-80 วินาทีต่อการพิมพ์อาหาร 1 ชิ้น และสามารถพิมพ์ได้ต่อเนื่องจนกว่าหมึกพิมพ์ในหลอดพิมพ์จะหมด” รศ.ดร.วัสสนัย กล่าว

              ผลการทดลองใช้งานจริงกับศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ พบว่า แพลตฟอร์มฟู้ดพร้อมสามารถลดเวลาในการประเมินอาหารของผู้ป่วยลงถึง 50% และมีความคลาดเคลื่อนในระดับที่ยอมรับได้หรือน้อยกว่าร้อยละ 10 และผู้ใช้ก็มีความพึงพอใจในอาหารที่ได้รับ  นอกจากผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุแล้ว โครงการยังสามารถประยุกต์ใช้กับผู้ที่ต้องการสารอาหารที่เจาะจง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาด้านการบริโภค กลุ่มที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือกลุ่มผู้รักสุขภาพ และมีโอกาสต่อยอดไปยังกลุ่มแพลนท์เบส 

               ซึ่ง รศ.ดร.วัสสนัย อธิบายว่า แนวคิดของแพลตฟอร์มได้ผ่านการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาเพื่อให้เกิดความแม่นยำกว่าที่เป็นอยู่ต่อไป 

ShareTweetShare
Previous Post

“ฟัวกราส์จากพืช” นวัตกรรมซูเปอร์ฟู้ดทดแทนตับห่าน อาหารทางเลือกตอบโจทย์คนรักสุขภาพ

Next Post

ม.มหิดล ใส่ “หัวใจผู้ประกอบการ” ผ่าน “สื่อภาษามือ” เตรียมต่อยอดใช้ AI เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้พิการทางการได้ยิน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
ม.มหิดล ใส่ “หัวใจผู้ประกอบการ” ผ่าน “สื่อภาษามือ” เตรียมต่อยอดใช้ AI เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้พิการทางการได้ยิน

ม.มหิดล ใส่ “หัวใจผู้ประกอบการ” ผ่าน “สื่อภาษามือ” เตรียมต่อยอดใช้ AI เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้พิการทางการได้ยิน

AIS จับมือ ZTE เปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center” แห่งแรกในไทย

AIS จับมือ ZTE เปิดตัว “ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center” แห่งแรกในไทย

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.