mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
Albupro Plus อาหารฟังก์ชันสำหรับผู้รักสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไตกินดี คนสุขภาพดีกินได้

Albupro Plus อาหารฟังก์ชันสำหรับผู้รักสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไตกินดี คนสุขภาพดีกินได้

0

              น้ำดื่มผสมไฟเบอร์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มวิตามิน หรือกาแฟผสมคอลลาเจน เหล่านี้เป็นอาหารฟังก์ชันที่กำลังมาแรงและมีรูปแบบหลากหลายในตลาดผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ แต่อาหารประเภทนี้ไม่ได้เหมาะกับทุกคน โดยเฉพาะผู้ทีมีโรคเรื้อรังอย่างผู้ป่วยโรคไต ที่ต้องใส่ใจอาหารที่บริโภคเป็นพิเศษ

รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล ทรัพย์วโรบล ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ

               “ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องได้รับการบำบัดโดยวิธีล้างไตมีความจำเป็นต้องควบคุมสารอาหารหลากหลายชนิด เพื่อให้ชะลอความเสื่อมของไตและภาวะแทรกซ้อนของโรค ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต้องได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับการปฏิบัติตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโภชนาการ โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตจำเป็นต้องได้รับพลังงานและโปรตีนในปริมาณสูง ในขณะเดียวกันก็ต้องจำกัดปริมาณแร่ธาตุหลายชนิดให้เหมาะสมด้วย ดังนั้น อาหารสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต้องให้พลังงานและโปรตีนสูง แต่มีโซเดียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัสในปริมาณต่ำ” รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล ทรัพย์วโรบล ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโปรตีนไข่ขาวสูง “Albupro Plus” ที่เป็นได้ทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้บริโภคทั่วไปและผู้ป่วยโรคไต

อาหารฟังก์ชัน และ อาหารทางการแพทย์ แตกต่างอย่างไร

              รศ.ดร.สุวิมล อธิบายว่าอาหารฟังก์ชัน คือ อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทั่วไป (basic food) เพียงแต่มีการเพิ่มหรือลดสารอาหารบางอย่างให้เหมาะกับความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการบริโภคอาหารนั้นมากขึ้น เช่น นม น้ำเต้าหู้ น้ำผลไม้ โยเกิร์ต รวมถึงน้ำเปล่าที่มีการเติมวิตามิน เกลือแร่ คอลลาเจน โพรไบโอติก หรือสารอาหารต่างๆ อาหารฟังก์ชันนอลเหล่านี้เหมาะกับผู้บริโภคทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว

             ส่วนอาหารทางการแพทย์เป็นอาหารที่นำมาดัดแปลงด้วยการลด-เพิ่ม สารอาหารบางอย่าง เช่น โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่น้ำตาล ฯลฯ เพื่อให้เหมาะกับผู้ป่วยโรคต่างๆ ตามคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์

ผลิตภัณฑ์ Albupro Plus

ที่มาของการวิจัยผลิตภัณฑ์ Albupro Plus

              ผู้ป่วยโรคไตเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องใส่ใจเรื่องการรับประทานอาหารให้เหมาะสมเป็นพิเศษ แต่อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยล้างไตที่มีจำหน่ายในประเทศยังมีค่อนข้างจำกัด และส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาค่อนข้างสูง ผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากที่มีข้อจำกัดทางเศรษฐานะจึงขาดโอกาสที่จะเข้าถึงอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสมได้

             “ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องล้างไตส่วนใหญ่มักประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากทุกครั้งที่มีการล้างไต โปรตีนส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปในกระบวนการล้างไต ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้น้อย รวมถึงต้องมีการจำกัดบางชนิดอาหารด้วย สาเหตุทั้งหลายเหล่านี้มีผลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ลดลงจึงทำให้มวลกล้ามเนื้อและน้ำหนักตัวของผู้ป่วยลดลงเรื่อยๆ เราจึงอยากช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้”

               ในฐานะนักวิจัยทางด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร รศ.ดร.สุวิมล จึงริเริ่มวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Albupro Plus เพื่อช่วยผู้ป่วยโรคไตให้เข้าถึงอาหารทางการแพทย์ในราคาที่จับต้องได้

Albupro Plus ผลิตภัณฑ์สัญชาติไทย สนับสนุนเกษตรกร

              รศ.ดร.สุวิมล กล่าวด้วยความภูมิใจว่า Albupro Plus ไม่เพียงช่วยเหลือผู้ป่วยไตให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เหมาะสมในราคาที่เข้าถึงได้แล้วยังสนับสนุนเกษตรกรไทยด้วย โดยวัตถุดิบหลักของผลิตภัณฑ์เป็นผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศทั้งหมด ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตจากมอลโตเด็กทรินซ์จากแป้งมันสำปะหลัง  โปรตีนจากไข่  ไขมันจากน้ำมันรำข้าว ซึ่งล้วนเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย

              “เราตั้งใจที่จะช่วยเกษตรกรไทย จึงเลือกใช้วัตถุดิบหลักทุกชนิดจากผลิตผลทางการเกษตรในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายหลักของทีมวิจัย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์  เราเริ่มการวิจัยตั้งแต่การกำหนดชนิดและปริมาณสารอาหารเพื่อให้เหมาะกับสภาวะของโรค ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสารอาหารครบถ้วน เพีงพอ เหมาะสม และมีราคาที่ผู้ป่วยเข้าถึงได้” รศ.ดร.สุวิมล กล่าว

Albupro Plus ใครๆ ก็กินได้

               แม้จุดเริ่มต้นการวิจัยจะมุ่งดูแลภาวะโภชนาการให้ผู้ป่วยโรคไต แต่ Albupro Plus ก็เป็นอาหารฟังก์ชันที่ผู้บริโภคทั่วไปกินได้เพื่อบำรุงสุขภาพ

               “เราพัฒนา Albupro Plus ให้เป็นทั้งอาหารฟังก์ชันและอาหารทางการแพทย์ โดยผู้ที่สุขภาพดี หรือผู้ป่วยโรคไตก็สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์นี้ได้ นอกจากโปรตีนสูงแล้ว ยังมีสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยสามารถใช้ทดแทนมื้ออาหารได้เลย”

                รศ.ดร.สุวิมล เผยว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์ Albupro Plus มี 2 สูตร คือ สูตรสำหรับชงดื่ม เมื่อชงกับน้ำอุ่นแล้วจะมีลักษณะคล้ายนม ใช้ดื่มระหว่างมื้ออาหาร และสูตรซุป ชงในน้ำอุ่นรับประทาน ลักษณะเป็นซุปข้น ซึ่งสูตรนี้จะให้พลังงานและโปรตีนในปริมาณสูงตามที่ร่างกายต้องการใช้ทดแทนมื้ออาหารได้

ผลิตภัณฑ์ Albupro Plus มี 2 สูตร คือ สูตรสำหรับชงดื่ม เเละสูตรซุป

วอนเอกชนหนุนงานวิจัยอาหารฟังก์ชัน “จากหิ้งสู่ห้าง”

              ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ Albupro Plus อยู่ระหว่างการขอการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่ง รศ.ดร.สวิมล กล่าวว่า “เมื่อได้รับอนุญาตจาก อย. แล้วก็จะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของอาหารฟังก์ชันก่อน โดยผู้สนใจสามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป คาดว่าราคาจะต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่จำหน่ายอยู่ประมาณ 20- 30 % ในขณะนี้ผลิตภัณฑ์ได้เข้าสู่ขั้นตอนการวิจัยทางคลินิก (Clinical Trial) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไต เพื่อที่จะขึ้นทะเบียนเป็นอาหารทางการแพทย์เต็มรูปแบบต่อไป”

                งานวิจัยผลิตภัณฑ์ Albupro Plus สำเร็จได้ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ภายใต้โครงการวิจัย พัฒนา และทดสอบทางคลินิกสำหรับอาหารฟังก์ชัน ซึ่งต่อจาก Albupro Plus รศ.ดร.สุวิมล เผยว่ากำลังดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบอาหารฟังก์ชันด้านเมตาบอลิกซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่เป็นความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึมในร่างกาย เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

               “หากงานวิจัยพัฒนาอาหารฟังก์ชันได้รับความสนใจและแรงหนุนจากภาคเอกชนก็จะยิ่งทำให้งานวิจัยมีโอกาสออก ”จากหิ้งไปสู่ห้าง” เพื่อให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงและได้ประโยชน์จากอาหารเพื่อสุขภาพอย่างกว้างขวาง” รศ.ดร.สุวิมล กล่าวทิ้งท้าย

ShareTweetShare
Previous Post

ม.มหิดล ชุบชีวิตวิกฤติโรคท้องร่วงในประชากรโลก ส่งเสริมปลูก “พริกไทยดำ” ทำยาใหม่เสริมวิจัยรักษาตรงจุดเฉพาะราย

Next Post

มจธ.พัฒนานวัตกรรมวัสดุนาโนสีเขียว ตัวช่วยพิสูจน์ปลอมแปลงเอกสาร

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
82
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
มจธ.พัฒนานวัตกรรมวัสดุนาโนสีเขียว ตัวช่วยพิสูจน์ปลอมแปลงเอกสาร

มจธ.พัฒนานวัตกรรมวัสดุนาโนสีเขียว ตัวช่วยพิสูจน์ปลอมแปลงเอกสาร

ม.มหิดล มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพิ่มความเชื่อมั่นไทยสู่ประเทศอุตสาหกรรม

ม.มหิดล มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เพิ่มความเชื่อมั่นไทยสู่ประเทศอุตสาหกรรม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.