mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
วิศวฯ จุฬาฯ พัฒนา “อุปกรณ์สแกนต้นไม้ด้วยรังสีแกมมา” ป้องกันอุบัติเหตุจากต้นไม้โค่นล้ม

วิศวฯ จุฬาฯ พัฒนา “อุปกรณ์สแกนต้นไม้ด้วยรังสีแกมมา” ป้องกันอุบัติเหตุจากต้นไม้โค่นล้ม

0

              ไม้ใหญ่ที่ยืนต้นเด่นเป็นสง่า มีกิ่งก้านสาขาแผ่ขยายให้ร่มเงา อาจดูว่าแข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่ใครจะรู้ว่าภายในลำต้นอาจจะ “กลวง” หรือ “เป็นโพรง” ซึ่งจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุไม้ล้มทับผู้คนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ดังที่เคยเกิดเหตุต้นหางนกยูงฝรั่งโค่นล้มในจุฬาฯ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว

               อุบัติเหตุในครั้งนั้นเป็นแรงกระตุ้นให้รองศาสตราจารย์นเรศร์ จันทน์ขาว และ อาจารย์ ดร.มนัสวี เลาะวิธี ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาอุปกรณ์สำหรับสแกนต้นไม้โดยใช้รังสีแกมมา (Gamma Ray) เพื่อสแกนตรวจสุขภาพของต้นไม้ วัดความหนาแน่นของเนื้อไม้ เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย

รองศาสตราจารย์นเรศร์ จันทน์ขาว
อาจารย์ ดร.มนัสวี เลาะวิธี

              “รังสีแกมมาเป็นรังสีที่สามารถสแกนทะลุลำต้นของต้นไม้ได้ เปรียบได้กับการตรวจเอกซเรย์ร่างกายคนเราในโรงพยาบาล อุปกรณ์นี้จะช่วยตรวจสแกนสุขภาพของต้นไม้ว่าแข็งแรงดี มีโพรงที่เกิดจากการผุของเนื้อไม้หรือจากการกัดกินของปลวกหรือไม่ มีมากน้อยเพียงใด จริงๆ แล้ว รังสีชนิดอื่น อย่างรังสีเอกซเรย์และรังสีนิวตรอนก็สามารถใช้สแกนต้นไม้ได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นรังสีเอกซ์ต้องใช้เครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งอาจไม่สะดวกในการใช้งาน” รศ.นเรศร์ กล่าว

รังสีแกมมาส่องสุขภาพต้นไม้ ปลอดภัยกับผู้คน

              รศ.นเรศร์ กล่าวว่า อุปกรณ์สแกนต้นไม้ด้วยรังสีแกมมาได้รับการออกแบบเป็นพิเศษให้แสดงผลการตรวจที่แม่นยำ รวดเร็ว โดยไม่ต้องทำลายต้นไม้ ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่ให้รังสีแกมมา หัววัดรังสีที่มีความไวสูงกว่าหัววัดรังสีธรรมดา 3 – 4 เท่า อุปกรณ์วัดรังสีซึ่งต่อกับคอมพิวเตอร์ ระบบขับเคลื่อนสายพานที่ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล ติดตั้งบนรถยกไฮดรอลิก

              “อุปกรณ์สแกนด้วยรังสีแกมมานี้ใช้หัววัดรังสีที่ใช้มีความไวในการใช้งานมากกว่าปกติ 3 – 4 เท่า ทำให้ความเข้มข้นของรังสีต่ำ จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน และตรวจสอบสุขภาพต้นไม้ได้ผลถูกต้องและรวดเร็วในเวลาเพียง 10 นาทีสำหรับการสแกนต้นไม้หนึ่งตำแหน่ง หากต้องการทราบตำแหน่งและขนาดของโพรงที่ละเอียดจะต้องสแกนต้นไม้ในหลายมุม รวมทั้งมีการสแกนซ้ำเพื่อยืนยันผลการตรวจสอบต้นไม้”

              ในการปฏิบัติงานตรวจสุขภาพต้นไม้ พื้นที่บริเวณที่จะทำการสแกนต้นไม้จะต้องเป็นพื้นเรียบและมีบริเวณพอสมควร เพื่อให้รถโฟร์คลิฟท์หรือรถไฮดรอลิกสามารถเข้าไปได้สะดวก และเมื่อตรวจพบว่าลำต้นกลวงก็จะมีการจัดทำอุปกรณ์ค้ำยันต้นไม้เพิ่มความแข็งแรง หรือมีการฉีดซีเมนต์เข้าไปบริเวณโพรงต้นไม้  

ภารกิจสแกนสุขภาพต้นไม้เพื่อชาวจุฬาฯ และสังคม

              ตั้งแต่ปี 2562 ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เริ่มใช้อุปกรณ์สำหรับสแกนต้นไม้โดยใช้รังสีแกมมาตรวจสุขภาพต้นไม้ ในโครงการ Chula Big Tree โดยเริ่มจากต้นจามจุรีทรงปลูกจำนวน 5 ต้น ซึ่งมีอายุกว่า 60 ปีแต่เป็นที่เศร้าสลดที่ต้นจามจุรีทรงปลูกต้นที่ 5 โค่นล้มไปก่อนที่จะทำการตรวจสอบเนื่องจากพายุฝน ผลการตรวจสอบพบว่ามี 2 ต้นที่มีโพรงขนาดใหญ่ แต่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการใช้เหล็กค้ำยันต้นจามจุรีทรงปลูกทั้ง 4 ต้นไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

              ภารกิจตรวจสุขภาพต้นไม้ก็ยังคงเดินหน้าจนทุกวันนี้ โดยได้สแกนต้นจามจุรีบริเวณด้านข้างอาคารมหาจุฬาลงกรณ์จำนวน 4 ต้น  รวมทั้งบริเวณลานเกียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะอื่นๆ รอบรั้วจามจุรีที่มีไม้ใหญ่มากมาย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่นิสิตและบุคลากรชาวจุฬาฯ

             นอกจากนี้ภาควิชาฯ ยังได้รับการติดต่อจากหน่วยงานต่างๆ ให้ออกไปสแกนต้นไม้ภายนอกมหาวิทยาลัย อันเป็นภารกิจการให้บริการวิชาการแก่สังคมที่ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ทำการสแกนต้นจามจุรี 3 ต้นขนาดลำต้น  80 – 95  ซม.ที่ริมคลองในซอยสมคิด ระหว่างเซ็นทรัล เอ็มบาสซีและเซ็นทรัลชิดลม ซึ่งจะมีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และมีการสร้างสะพานคนเดินข้ามคลองแสนแสบ แต่เนื่องจากพื้นที่แคบจึงต้องมีการออกแบบเครื่องสแกนต้นไม้ใหม่ให้มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา โดยใช้เวลาในการผลิตทั้งสิ้นเพียง 5 วัน ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่าต้นไม้ทั้งสามต้นมีโพรงขนาดใหญ่อยู่ภายใน

               “ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ยังใช้อุปกรณ์สแกนรังสีแกมมาพลังงานต่ำเพื่อตรวจสอบรอยแตกและโพรงเพื่อประเมินความแข็งแรงของเสาไม้สักไทยจำนวน 140 ต้นในการสร้างศาลาแก้วซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “สัปปายะสภาสถาน” อาคารรัฐสภาใหม่ ดำเนินการโดย ผศ.จเด็จ เย็นใจ ในอนาคตจะพัฒนาเครื่องมือให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น มีระบบอัตโนมัติที่สามารถมองเห็นเป็นภาพตัดขวางภายในต้นไม้ได้ด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับ” รศ.นเรศร์ กล่าวทิ้งท้าย

               หน่วยงานที่สนใจการสแกนต้นไม้ด้วยรังสีแกมมา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-6781

Email: nutech.chula@gmail.com

Facebook:  https://m.facebook.com/NuclearChulaEngineering/        

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “ตรวจมะเร็งปอดด้วย AI” รู้ผลภายใน 3 นาที ตรวจฟรีที่เซ็นทรัลเวิลด์ 21-24 เม.ย.นี้

Next Post

ต้นแบบฟาร์มเคลื่อนที่ได้ “FlexiFarm” นวัตกรรมการปลูกผักในตู้คอนเทนเนอร์

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

2 weeks ago
99
ระบบวิเคราะห์เสียงน้ำรั่วด้วย AI ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

ระบบวิเคราะห์เสียงน้ำรั่วด้วย AI ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ

5 months ago
22
i FOUND PET แพลตฟอร์มช่วยเจ้าของตามหาสัตว์เลี้ยง
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

i FOUND PET แพลตฟอร์มช่วยเจ้าของตามหาสัตว์เลี้ยง

5 months ago
7
Q-CHANG (คิวช่าง) แพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์รวมช่างแบบครบวงจร
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

Q-CHANG (คิวช่าง) แพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์รวมช่างแบบครบวงจร

6 months ago
18
Load More
Next Post
ต้นแบบฟาร์มเคลื่อนที่ได้  “FlexiFarm” นวัตกรรมการปลูกผักในตู้คอนเทนเนอร์

ต้นแบบฟาร์มเคลื่อนที่ได้ “FlexiFarm” นวัตกรรมการปลูกผักในตู้คอนเทนเนอร์

มช. พัฒนานวัตกรรม VR โลกเสมือนจริง ช่วยการเข้าสังคมสำหรับเด็กออทิสซึม

มช. พัฒนานวัตกรรม VR โลกเสมือนจริง ช่วยการเข้าสังคมสำหรับเด็กออทิสซึม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.