mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มธ.เปิดตัว “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด” หวังช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ

มธ.เปิดตัว “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด” หวังช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ

0

             นักวิชาการธรรมศาสตร์ เปิดตัว “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิดแบบเจาะเลือดปลายนิ้ว”  หวังช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หลังโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น-คนฉีดวัคซีนครอบคลุม คาดอีก 1-2 ปี พัฒนาสมบูรณ์

              ผศ.ดร.จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะหัวหน้าห้องปฏิบัติการศูนย์ตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุล เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้พัฒนา “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว” ขึ้นมา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยคาดว่าชุดตรวจดังกล่าวจะได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ได้ภายใน 1-2 ปี ต้นทุนปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกินชุดละ 100 บาท

              สำหรับชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว จะเป็นชุดตรวจที่จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของการตรวจแบบ RT-PCR และ Antigen Test Kit (ATK) แต่จะมีความแตกต่างอยู่ที่ การตรวจด้วยชุดตรวจแอนติบอดีฯ จะสามารถหาเชื้อในผู้ติดโควิด 19 แบบไม่แสดงอาการได้

              ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าวอีกว่า แอนติบอดีของผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 จะพบได้ในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 แล้วเท่านั้น โดยจะพบได้ทั้งในผู้ที่แสดงและไม่แสดงอาการ และจะไม่พบในส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสชนิดแอนติบอดีนั้นจำเป็นต้องรอเวลา 3-7 วันหลังจากการติดเชื้อ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ติดเชื้อสร้างแอนติบอดีให้ขึ้นสูงถึงระดับที่จะตรวจเจอ โดยจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในสัปดาห์ที่ 2 ของการติดเชื้อ

              “ต้องเข้าใจก่อนว่า RT-PCR เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรม ขณะที่ ATK ใช้ตรวจหาโปรตีนของไวรัส ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะให้ค่าความแม่นยำอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกของการติดเชื้อ ส่วนชุดตรวจแอนติบอดีฯ จะใช้ตรวจหาภูมิต้านทาน ซึ่งให้ค่าความแม่นยำในสัปดาห์ที่สอง ฉะนั้นเราจึงมุ่งหวังว่าในอนาคต เราจะใช้ชุดตรวจนี้ติดตามการติดเชื้อในชุมชน โดยเฉพาะเมื่อโควิด 19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นและผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่ เมื่อติดเชื้อจะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ซึ่งทุกวันนี้เรามักจะตรวจเฉพาะผู้ที่มีอาการ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการเราจะไม่ตรวจ ดังนั้นในอนาคตการสุ่มตรวจด้วย ATK หรือ RT-PCR อาจไม่เหมาะสม เราจึงดีไซน์ชุดตรวจนี้ขึ้นมาเพื่อตรวจหาภูมิแอนติบอดีในเลือด ซึ่งจะพบในผู้ที่ติดเชื้อเท่านั้น” ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าว

               ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเราสามารถตรวจจับผู้ติดเชื้อได้ทั้งในผู้ที่มีอาการและไม่มีอาการ เราก็จะได้ภาพของสถานการณ์การติดเชื้อจริงของประเทศที่มีความครอบคลุมและแม่นยำขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ โดยหนึ่งในนั้นคือผลการตรวจในภาพรวมจะช่วยชี้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ผลดีหรือไม่

             อนึ่ง การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อโควิด 19 ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 หลักการ คือ 1. การหาส่วนประกอบของเชื้อ คือ RT-PCR และ ATK 2. การตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสชนิดแอนติบอดี (antibody detection) โดยวิธี immunoassay ซึ่งใช้เป็นข้อบ่งชี้การติดเชื้อทั้งจากในอดีตและการติดเชื้อปัจจุบัน

              สำหรับวิธีการตรวจแอนติบอดีที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบ ELISA และ lateral flow immunochromatography เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน spike (S) หรือ nucleocapsid (N) ของเชื้อโควิด 19 ซึ่งสามารถพบได้จากการติดเชื้อและจากการได้รับวัคซีนโควิด 19 ดังนั้นชุดตรวจแอนติบอดีที่มีในปัจจุบันจึงยังใช้ตรวจวินิจฉัยแยกภูมิคุ้มกันระหว่างที่เกิดจากการติดเชื้อและวัคซีนโควิด 19 ไม่ได้ จึงนำมาสู่โครงการวิจัยเรื่อง “การคัดเลือกแอนติเจนของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และการผลิตชุดตรวจภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีโดยการศึกษาการตอบสนองทางซีโรโลยีของบุคคลที่หายจากโรคโควิค-19” ที่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

ShareTweetShare
Previous Post

นวัตกรรม “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” พลังงานสะอาดแห่งอนาคต เครื่องแรกของไทย !

Next Post

ผลงานต้นแบบดาวเทียม MINERVA คว้ารางวัลในญี่ปุ่น มุ่งพัฒนา “ยา” ป้องกันดีเอ็นเอมนุษย์จากรังสีอวกาศ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

4 months ago
24
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

4 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
81
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
23
Load More
Next Post
ผลงานต้นแบบดาวเทียม MINERVA คว้ารางวัลในญี่ปุ่น มุ่งพัฒนา “ยา” ป้องกันดีเอ็นเอมนุษย์จากรังสีอวกาศ

ผลงานต้นแบบดาวเทียม MINERVA คว้ารางวัลในญี่ปุ่น มุ่งพัฒนา “ยา” ป้องกันดีเอ็นเอมนุษย์จากรังสีอวกาศ

บพข. เปิดตัว “ต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบา” ฝีมือคนไทย ! ต่อยอดผลิตสำหรับขบวนรถไฟฟ้ากลางเมืองขอนแก่น

บพข. เปิดตัว "ต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบา" ฝีมือคนไทย ! ต่อยอดผลิตสำหรับขบวนรถไฟฟ้ากลางเมืองขอนแก่น

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.