mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
“กรีน บับเบิล” สครับผิวใส ห่วงใยสิ่งแวดล้อม

“กรีน บับเบิล” สครับผิวใส ห่วงใยสิ่งแวดล้อม

0

              นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนา “กรีน บับเบิล” ต้นแบบสครับเซลลูโลสจากพืช ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ หวังส่งต่อผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ที่ดีต่อผิวหน้าและสิ่งแวดล้อม

              สครับ (Scrub) หรือการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วด้วยการขัดถู เป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมของคนรักผิว บริษัทเครื่องประทินผิวต่างๆ จึงพยายามตอบโจทย์ความงามของผู้บริโภคด้วยนวัตกรรม “เม็ดบีดส์” สครับนาโนที่มีอนุภาคขนาดเล็กสามารถขจัดสิ่งสกปรกได้อย่างล้ำลึก ผลัดผิวใหม่กันเลยทีเดียว แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือเม็ดบีดส์เหล่านี้ไม่ย่อยสลายและเป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อม

               เมธีรัตน์ ธานีรัตน์ นิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงวิจัยและพัฒนาตัวเลือกที่เป็นคำตอบให้กับผิวหน้าและสิ่งแวดล้อม จนประสบความสำเร็จในการผลิตต้นแบบ “กรีน บับเบิล : ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าประสิทธิภาพสูงจากเซลลูโลสอสัณฐาน”

เมธีรัตน์ ธานีรัตน์

             “เม็ดสครับที่มีอยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าส่วนใหญ่จะเป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์ ซึ่งได้มาจากการสังเคราะห์ปิโตรเลียม ไม่สามารถกรองได้ 100% ทำให้สครับพวกนี้หลุดไปสู่ระบบนิเวศและย้อนกลับมาสู่มนุษย์ในที่สุด เราจึงพัฒนาตัวเม็ดบีดส์ไมโครขึ้นมาจากธรรมชาติ ซึ่งก็คือเซลลูโลสจากพืช 100% ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์” เมธีรัตน์ เผยถึงความสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมความงาม “กรีน บับเบิล”

                พลาสติกไมโครบีดส์ (Plastic microbeads) ที่นิยมใช้ในเครื่องสำอางต่างๆ ถูกห้ามผลิตและห้ามจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2563 สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ห้ามผลิต ห้ามนำเข้าหรือจัดจำหน่าย พลาสติกสังเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ที่ใช้ในการทำความสะอาด เนื่องจากเป็นพลาสติกขนาดเล็กที่ไม่ละลายน้ำ ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ สามารถหลุดรอดผ่านตะแกรงกรองน้ำและฝาท่อไหลลงสู่แหล่งน้ำกลายเป็นอาหารของสัตว์ทะเลและย้อนกลับมาเป็นอาหารของมนุษย์

“กรีน บับเบิล” เศษจากกระบวนการผลิตกระดาษ สู่สครับผิวใส

เมธีรัตน์ พัฒนานวัตกรรม “กรีน บับเบิล” จากเยื่อยูคาลิปตัสเหลือใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ

              “เราใช้เพียงเซลลูโลสอสัณฐานที่สกัดแยกส่วนคริสตัลไรด์ออก เนื่องจากมีคุณสมบัติดักจับสิ่งสกปรกได้ดีกว่าคริสตัลไรด์ และแปรรูปเป็นเม็ดบีดส์ หรือ “บับเบิล” เพื่อนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทั้งเจลล้างมือ โฟมล้างหน้า หรือ สครับผิว”

               เซลลูโลสอสัณฐานเป็นโครงสร้างโมเลกุลที่มีคาร์บอนและไฮโดรเจนที่ต่อกันเป็นสายยาว เป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งที่สามารถดูดจับสิ่งสกปรกได้ และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับพอลิเมอร์สังเคราะห์ ผลิตได้จากวัสดุธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

               เมธีรัตน์ กล่าวถึงจุดเด่นของ “กรีน บับเบิล” ว่ามีประสิทธิภาพในการขจัดเซลล์ผิวแห้ง และสามารถเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆ ที่ผู้บริโภคต้องการ เช่น บรรจุซิงค์ออกไซด์หรือทองคำเพื่อยับยั้งการเกิดสิว และเพิ่มความอ่อนเยาว์ให้กับผิวหน้า เป็นต้น

               นอกจากผลิตภัณฑ์ความงามแล้ว เมธีรัตน์ เล็งต่อยอดนวัตกรรมเม็ดบีดส์จากธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ด้วย โดยจะพัฒนาเป็นยาสมานแผล

              “เม็ดบีดส์แบบนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายฟังก์ชัน อย่างยาสมานแผล เราอาจจะเติมตัวยาเข้าไปในบับเบิล เมื่อทายาแล้ว ตัวยาจะแตกตัวออก แทรกซึมเข้าไปในแผลได้ดีกว่าการทายาทั่วไป ซึ่งประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับตัวยาที่จะใส่ในเซลลูโลส  ทั้งซิงค์ออกไซด์หรือยาที่ใช้สมานแผล” เมธีรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่าปัจจุบัน นวัตกรรมนี้ยังเป็นต้นแบบ ซึ่งต้องรอการวิจัยขยายผลสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป

อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติม : คำชี้แจง ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562

ShareTweetShare
Previous Post

ม.มหิดล คิดค้น “เซนเซอร์ตรวจวัดกลิ่นแบบ ioT” เพื่อโรงงานสีเขียวของไทย

Next Post

แอปฯ “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจเด็กและเยาวชน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

10 months ago
58
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

10 months ago
32
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

10 months ago
127
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

10 months ago
62
Load More
Next Post
แอปฯ “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจเด็กและเยาวชน

แอปฯ “MU MyMind” ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจเด็กและเยาวชน

“ถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1” จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

"ถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1" จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    100 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    82 shares
    Share 33 Tweet 21
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.