mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นักวิจัย ม.อ. คิดค้นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก”

นักวิจัย ม.อ. คิดค้นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก”

0

             ปัจจุบันปัญหาจากขยะพลาสติกประเภทแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหาร และสินค้าอุปโภคที่มีการใช้งานปริมาณมาก หากไม่มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยจะไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง และท้ายที่สุดก็จะไหลรวมกันลงสู่ทะเล สร้างปัญหากับระบบนิเวศทางทะเล

               มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ร่วมกับคาเฟ่อเมซอน โออาร์ ศึกษาแนวทางการ upcycling พลาสติกเหลือทิ้งผสมร่วมกับยางพารา โดยใช้องค์ความรู้งานวิจัยเป็นฐานเพื่อผลิตเป็นวัสดุจักรสานสำหรับเฟอร์นิเจอร์จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ตอบโจทย์ BCG Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ภายใต้แนวคิดนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม “ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก” ซึ่งเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบแก่คาเฟ่อเมซอน โออาร์ โดยมี ผศ.ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะผู้บริหาร และนักวิจัยร่วมส่งมอบ

             ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยถึงที่มาของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกว่า นวัตกรรมดังกล่าวเกิดจากแนวคิดในการนำตัวขยะพลาสติกกลับมา Upcycle เพื่อลดผลกระทบของขยะพลาสติกที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำขยะพลาสติกไปผสมกับตัวยางธรรมชาติหรือยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ จึงเกิดเป็นพัสดุเทอร์โมพลาสติกอิลาสโตเมอร์ ซึ่งเป็นวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษ เหมาะที่จะนำมาออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ จุดเด่นของวัสดุตกแต่งยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก คือมีคุณสมบัติคล้ายยาง แต่มีความสามารถในการแปรรูปซ้ำแบบเทอร์โมพลาสติก ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ยางโดยทั่วไป และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำกลับมาแปรรูปซ้ำได้

               สำหรับผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ร่วมทดลองใช้กับคาเฟ่อเมซอน โออาร์ เป็นเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปเทอร์โมพลาสติกเหลือทิ้งผสมกับยางธรรมชาติให้เป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน วัสดุที่เตรียมได้สามารถแปรรูปได้เหมือนเทอร์โมพลาสติก คือใช้เวลาในการแปรรูปสั้นเพียงขั้นตอนเดียว มีความนิ่มคล้ายยาง ไม่สะสมความร้อน ใช้งานได้ทนทาน ออกแบบสีสันได้ตามต้องการ และไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ สามารถใช้งานได้ทั้งในอาคาร และพื้นที่กึ่งร่มกึ่งแจ้ง โดยส่วนหนึ่งของงบประมาณการสนับสนุนงานวิจัยนี้ได้รับการอุดหนุนจากการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นแนวทางการลดขยะ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือกลุ่มเปราะบางให้ได้มีอาชีพเสริมอีกด้วย

             ด้าน ผศ.ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ กล่าวว่า นวัตกรรมจากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เป็นผลงานของนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยการนำยางพารามาผสมกับขยะพลาสติก เพื่อผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือกระเป๋า นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แก่คนในชุมชนในพื้นที่ภาคใต้แล้ว ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs ขององค์การสหประชาชาติ งานวิจัยนี้ถือเป็นการตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ และพร้อมขับเคลื่อนงานวิจัยใหม่ๆ ให้กับชุมชนต่อไป

              ขณะที่ ผศ.ดร.มัทนชัย สุทธิพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมานักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มุ่งทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์ และแก้ปัญหาต่างๆ ของสังคม ซึ่งเป้าหมายสำคัญที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญในขณะนี้ คงเป็นเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ที่เกิดจากองค์ความรู้งานวิจัยในครั้งนี้สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบของสิ่งแวดล้อม การเพิ่มมูลค่าให้สินค้า และพร้อมพัฒนาสู่ระดับภาค ประเทศ และระดับโลกต่อไป

               อาจารย์วรสันต์ โสภณ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีบทบาทในการเป็นตัวเชื่อมการทำงานระหว่างนักวิจัยกับภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีงานวิจัยและองค์ความรู้มากมาย นอกจากเรื่องยางพารา หรือนวัตกรรมยางพารา ซึ่งผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์จากยางพาราและพลาสติก เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยและภาคเอกชน และการต่อยอดไปยังชุมชน ตลอดจนยังทำให้เห็นว่า สิ่งที่ได้คิดค้นในมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงอีกด้วย

ShareTweetShare
Previous Post

มธ. เปิดให้บริการ “รถไฟฟ้าไร้คนขับ” เพื่อพัฒนาสู่การเป็น Smart University

Next Post

มหิดล คิดค้น “เนื้อเยื่อเทียมจากวัสดุสังเคราะห์” รักษาแผลผ่าตัด ลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

3 months ago
30
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

4 months ago
36
แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

4 months ago
19
วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล

4 months ago
29
Load More
Next Post
มหิดล คิดค้น “เนื้อเยื่อเทียมจากวัสดุสังเคราะห์” รักษาแผลผ่าตัด ลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์

มหิดล คิดค้น “เนื้อเยื่อเทียมจากวัสดุสังเคราะห์” รักษาแผลผ่าตัด ลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์

“อุปกรณ์ประเมินความเสี่ยงมะเร็งจากลมหายใจ” นวัตกรรมช่วยคัดกรองโรคมะเร็ง ฝีมือคนไทย

"อุปกรณ์ประเมินความเสี่ยงมะเร็งจากลมหายใจ" นวัตกรรมช่วยคัดกรองโรคมะเร็ง ฝีมือคนไทย

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.