mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
“หุ่นฝึกตรวจจอตา” ฝีมือนักวิจัย จุฬาฯ ฝึกนิสิตแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจโรค

“หุ่นฝึกตรวจจอตา” ฝีมือนักวิจัย จุฬาฯ ฝึกนิสิตแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจโรค

0

              สุดยอดฝีมือคนไทย! หุ่นฝึกตรวจจอตา “Oph-Sim” โดยทีมวิจัยคณะแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ ฝึกนิสิตและแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจจอตา ประหยัดงบนำเข้าหุ่นฝึกตรวจจากต่างประเทศถึงหลายเท่า!

               การตรวจวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับจอตาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำเพื่อความสบายตาของคนไข้ที่ไม่ต้องจ้องแสงจ้านานเกินไป ซึ่งตรงนี้ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแพทย์ผู้ตรวจ

หุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim

              ในการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ปัจจุบัน มีการใช้หุ่นฝึกตรวจจอตาอยู่แล้ว แต่เป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพง และไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการฝึกและเรียนรู้กรณีศึกษาได้มากนัก ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ พญ.สุภรัตน์ จริยโกศล รองศาสตราจารย์ นพ.ศุภพงศ์ ถิรคุณวิชชะ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงร่วมกันพัฒนา “Oph-Sim” หุ่นฝึกตรวจจอตา ฝีมือคนไทย เพื่อให้นิสิตและแพทย์ที่สนใจฝึกฝนทักษะการตรวจจอตาได้อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง

รศ.พญ.สุภรัตน์ จริยโกศล

              “ทักษะการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของขั้วประสาทตาและจอตา เป็นทักษะสำคัญของแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา เนื่องจากจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับตาและโรคอื่นๆทางระบบประสาทที่สำคัญได้ เช่น ขั้วประสาทตาบวมจากความดันในสมองสูง จอตาเสื่อมเหตุเบาหวาน และต้อหิน” รศ.พญ สุภรัตน์ กล่าว

การฝึกตรวจจอตาด้วยหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ผ่านอุปกรณ์ direct ophthalmoscope

               “ที่ผ่านมา นิสิตแพทย์ฝึกการตรวจจอตาด้วยเครื่อง direct ophthalmoscope กับหุ่นฝึกตรวจตาที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาสูงและมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากแผ่นสไลด์แสดงภาพความผิดปกติของจอตาที่ใช้กับหุ่นมักเสื่อมสภาพเร็วและมีจำนวนภาพให้เรียนรู้น้อย เลยมีความคิดว่าถ้าเรามีหุ่นที่เราพัฒนาเองที่ราคาไม่แพง ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ส่งภาพสู่จอมอนิเตอร์แบบดิจิทัล มีคุณภาพของภาพจอตาที่คมชัด และตอบโจทย์ตามที่เราต้องการก็จะดี นิสิตจะเห็นภาพตัวอย่างจอตาที่ชัดเจนและหลากหลาย อาจารย์ผู้สอนสามารถอธิบายสิ่งตรวจพบในภาพจอตาไปพร้อมๆกับนิสิตส่องตรวจ เพื่อการฝึกวินิจฉัยได้มีประสิทธิภาพขึ้น”

หุ่นฝึกตรวจจอตา เพิ่มกรณีศึกษา ราคาประหยัด
รศ.นพ.ศุภพงศ์ ถิรคุณวิชชะ

              รศ.นพ.ศุภพงศ์ อธิบายว่าหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ประกอบด้วยอุปกรณ์ง่ายๆ ได้แก่ ตัวหุ่น เครื่องส่งสัญญาณ และแอปพลิเคชัน การใช้งานก็ไม่ซับซ้อน เพียงอาจารย์ผู้สอนอัปโหลดภาพจอประสาทตาที่ต้องการศึกษาลงบนแอปพลิเคชัน ภาพนั้นก็จะไปปรากฎบนหน้าจอมอนิเตอร์ของหุ่น จากนั้นนิสิตแพทย์ก็จะส่องไปที่ดวงตาของหุ่นด้วยเครื่องมือ Ophthalmoscope เพื่อฝึกตรวจจากการดูภาพจำลองนั้น

              “ภาพจอตาเป็นภาพจากมอนิเตอร์แบบดิจิทัล ซึ่งคมชัดกว่าภาพสไลด์และไม่มีแสงสะท้อน แถมยังมีจอยสติ๊กที่สามารถควบคุมหุ่นให้กลอกตาได้เพื่อจำลองการกระทำของคนไข้ นอกจากนี้ ถ้าอาจารย์พบเคสที่น่าสนใจจากคนไข้ ก็สามารถใส่ภาพจอประสาทตาเพิ่มเข้ามาในแอปพลิเคชันได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องซื้อสไลด์ที่มีอายุการใช้งานสั้นและราคาสูง ผู้เรียนก็จะได้เรียนเคสได้หลากหลายยิ่งขึ้นด้วย” รศ.นพ.ศุภพงศ์ กล่าวถึงจุดเด่นของนวัตกรรม  

หุ่นฝึกจอตาออกปฏิบัติการฝึกสอนแล้ว

              ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นมา บริษัท เมดเกตเวย์ จำกัด ซึ่งทีมวิจัยก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตและจำหน่ายหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ได้ส่งมอบหุ่นเพื่อฝึกสอนนิสิตแพทย์และแพทย์ที่สนใจแล้วในหลายโรงพยาบาล อาทิ โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลสงขลา และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผศ.ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช

              “สิ่งที่อยากจะพัฒนาในอนาคต มีความคิดที่จะเพิ่มฟีเจอร์การใช้งาน เช่น เพิ่มมินิควิซ (Mini Quiz) เพื่อให้นิสิตได้ทดสอบและประเมินความสามารถของตัวเองได้ นอกจากนี้อยากให้มีเครือข่ายของจักษุแพทย์ เมื่อเจอเคสคนไข้ที่น่าสนใจก็สามารถแบ่งปันภาพเข้าไปในกลุ่ม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยกันแสดงความเห็นกับเคสที่เจอ เรียนรู้ไปด้วยกัน แล้วนำภาพเคสมาใช้ในการเรียนการเรียนการสอนต่อไปเพื่อพัฒนาศักยภาพของแพทย์” ผศ.ดร.วีระยุทธ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความหวังของทีมวิจัยที่ต้องการสร้างเครือข่ายจักษุแพทย์ที่จะเรียนรู้ร่วมกันต่อเนื่องต่อไป

                 โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่สนใจนวัตกรรมหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim โดยคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เมดเกตเวย์ จำกัด โทร. 084-754-9493

ShareTweetShare
Previous Post

“หุ่นจำลองปฏิสัมพันธ์กายวิภาคหัวสุนัขเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” นวัตกรรมจากอาจารย์สัตวแพทย์ จุฬาฯ

Next Post

“กฟผ.” เปิดตัว “Supernova” เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วรุ่นใหม่สุดอัจฉริยะ

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

3 months ago
23
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

3 months ago
17
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

4 months ago
79
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

4 months ago
22
Load More
Next Post
“กฟผ.” เปิดตัว “Supernova” เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วรุ่นใหม่สุดอัจฉริยะ

"กฟผ." เปิดตัว “Supernova” เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วรุ่นใหม่สุดอัจฉริยะ

มธ. เปิดให้บริการ “รถไฟฟ้าไร้คนขับ”  เพื่อพัฒนาสู่การเป็น Smart University

มธ. เปิดให้บริการ “รถไฟฟ้าไร้คนขับ” เพื่อพัฒนาสู่การเป็น Smart University

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    63 shares
    Share 25 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    60 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    56 shares
    Share 22 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    53 shares
    Share 21 Tweet 13
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    50 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
90

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
31

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
23

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
18
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.