mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
“ตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” นวัตกรรมฝีมือคนไทย พร้อมรับมือเปิดประเทศ

“ตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” นวัตกรรมฝีมือคนไทย พร้อมรับมือเปิดประเทศ

0

               ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานส่งมอบ “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19” ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประเภทรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ,และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มีนางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และพลโทพิเศษ ศิริเกษม รองเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (ผู้แทนสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ 904) เป็นผู้รับมอบฯ

              ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ขอชื่นชมนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ของไทยที่นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาสร้างนวัตกรรมที่ช่วยให้คนไทยได้อยู่รอดปลอดภัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และพร้อมรับการเปิดประเทศ ที่ผ่านมา หลังจากเกิดวิกฤติโควิด คนไทยปรับตัวได้ดีมาก โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เราสามารถเร่งผลิตภาพได้สูงขึ้นมาก ผลิตวัคซีนได้ทันกับประเทศแนวหน้าของโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยที่เราสามารถผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ขณะเดียวกัน ยังผลิตห้องความดันลบ ชุด PPE หน้ากากความดันบวก ฯลฯ ที่ราคาถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศหลายเท่า “นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน” ก็เช่นกัน เป็นอีกหนึ่งฝีมือคนไทยจากสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา หลังจากนี้ ตนหวังว่าจะได้เห็นการนำนวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์นี้ไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนนำไปผลิตและจำหน่ายในท้องตลาด และสำหรับนักวิจัย ขอแจ้งข่าวดีว่า ขณะนี้ อว. เปิดช่องให้นักวิจัยหรืออาจารย์สามารถนำผลงานประดิษฐกรรมหรือนวัตกรรมเหล่านี้มาเสนอขอรับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการได้ โดยไม่ต้องทำเป็นผลงานทางวิชาการหรือตำรา เพื่อเปิดโอกาสให้กับทุกคนที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง

             รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา กล่าวว่า นวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับประกาศเกียรติคุณ ประจำปี 2564 จาก วช. การใช้งานของนวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน สามารถเลือกใช้งานได้ถึง 3 ระบบจากการสั่งงานผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน อาทิ การอบฆ่าเชื้อด้วยก๊าซโอโซน การอบฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV- และการอบฆ่าเชื้อด้วยความร้อน โดยควบคุมการทำงานด้วยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัวร่วมกับระบบการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง จะช่วยให้ผู้ใช้งานควบคุมการทำงานในแต่ละระบบได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานมีความมั่นใจในความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่นำไปฆ่าเชื้อด้วยตนเองได้

              ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา และหน่วยงานบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรมได้ให้การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมด้านเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม แก่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ในการพัฒนานวัตกรรมตู้ล็อคเกอร์ปลอดเชื้อควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19สำหรับการฆ่าเชื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนบุคคลขนาดเล็กทั่วไป เช่น กุญแจ แว่นตา นาฬิกา รวมถึงเหรียญและธนบัตร ซึ่งสามารถลดโอกาสการติดเชื้อ และการแพร่กระจายเชื้อลงได้ซึ่งเป็นอีกแนวทางสำคัญที่ช่วยควบคุมการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ได้

ShareTweetShare
Previous Post

ม.มหิดล วิจัย “ระบบรากพืชเศรษฐกิจ” ช่วยเพิ่มผลผลิต ต่อลมหายใจเกษตรกรไทย

Next Post

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดใหญ่เขื่อนสิรินธร ตอบโจทย์พลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

2 weeks ago
101
ระบบวิเคราะห์เสียงน้ำรั่วด้วย AI ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

ระบบวิเคราะห์เสียงน้ำรั่วด้วย AI ผลงานวิจัยไทยคว้ารางวัลระดับนานาชาติ

5 months ago
22
i FOUND PET แพลตฟอร์มช่วยเจ้าของตามหาสัตว์เลี้ยง
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

i FOUND PET แพลตฟอร์มช่วยเจ้าของตามหาสัตว์เลี้ยง

5 months ago
7
Q-CHANG (คิวช่าง) แพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์รวมช่างแบบครบวงจร
นวัตกรรมด้านความปลอดภัย

Q-CHANG (คิวช่าง) แพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์รวมช่างแบบครบวงจร

6 months ago
18
Load More
Next Post
โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดใหญ่เขื่อนสิรินธร ตอบโจทย์พลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน

โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดใหญ่เขื่อนสิรินธร ตอบโจทย์พลังงานสะอาดช่วยลดภาวะโลกร้อน

สวทช. -พันธมิตร คิดวิธีสกัดสารพันธุกรรมเชื้อโควิด จากตัวอย่างแบบง่าย สำเร็จ!

สวทช. -พันธมิตร คิดวิธีสกัดสารพันธุกรรมเชื้อโควิด จากตัวอย่างแบบง่าย สำเร็จ!

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    52 shares
    Share 21 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
101

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.