mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
รพ.เชียงคำ ใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์ AI ช่วยแพทย์และพยาบาลช่วงโควิด-19

รพ.เชียงคำ ใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์ AI ช่วยแพทย์และพยาบาลช่วงโควิด-19

0

               โรงพยาบาลเชียงคำ ยกระดับการให้บริการและป้องกันสุขภาพประชาชนรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์จากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ AI ช่วยแพทย์พยาบาลช่วงโควิด – 19 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ สร้างความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับผู้มาใช้บริการ รวมถึงลดความเสี่ยงและภาระหน้าที่ของแพทย์และพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             โครงการหุ่นยนต์ AI ช่วยแพทย์และพยาบาลช่วงโควิด – 19 ของโรงพยาบาลเชียงคำ เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

             พ.ญ.ลดาวรรณ หาญไพโรจน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนปัจจุบัน กล่าวว่า รพ.เชียงคำ เป็นโรงพยาบาลทั่วไประดับทุติยภูมิ – ตติยะภูมิ (M1) ขนาด 231 เตียง ให้บริการประชาชนแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตรวจวินิจฉัย บำบัด รักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยแบบองค์รวมให้แก่ประชาชนใน 2 อำเภอหลัก คือ เชียงคำและภูซาง รวมถึงการรับส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่เครือข่าย มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของประชากรตามพื้นที่รับผิดชอบกว่า 108,831 คนต่อปี มีบุคลากรการแพทย์จำนวน 347 คน รองรับผู้ป่วยนอก (OPD) เฉลี่ยกว่า 1,000 คนต่อวัน และยิ่งในสถานการณ์แพร่ระบาดในหลายระลอก มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่ โรงพยาบาลต้องปรับตัวและเพิ่มมาตรการในการรับมือกับจำนวนผู้ป่วยและความรุนแรงของการแพร่ระบาด

              การนำหุ่นยนต์ AI ช่วยแพทย์และพยาบาลช่วงโควิด – 19 เป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ เป็นการประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหาและลดอุปสรรคในการทำงานได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากในสถานการณ์โควิด โดยหุ่นยนต์ที่ได้รับการสนับสนุนในโครงการ ประกอบด้วย หุ่นยนต์ดินสอ 3 รุ่น นวัตกรรมจากฝีมือคนไทย ทั้งหมดจำนวน 25 ชุด ประกอบด้วย

  1.  หุ่นยนต์ดินสอคัดกรองผู้มีไข้ จำนวน 7 ชุด ประจำ ณ จุดคัดกรอง 7 แห่งของโรงพยาบาล สามารถทำงานอัตโนมัติแบบครบวงจรโดยไม่ต้องใช้กำลังคน ทำหน้าที่ในการคัดกรองผู้มีไข้ออกจากผู้มารับบริการ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่มาใช้บริการและบุคลากรในโรงพยาบาล โดยหุ่นยนต์สามารถสแกนใบหน้าผู้มารับบริการ ตรวจการสวมใส่หน้ากาก วัดอุณหภูมิและบันทึกข้อมูลผู้มาใช้บริการในระบบ พร้อมแจ้งเตือนกรณีพบผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ไม่ให้ผ่านเข้าในพื้นที่

  2.  หุ่นยนต์ดินสอมินิดูแลผู้ป่วยโควิด – 19 จำนวน 16 ชุด ประจำ ณ หอผู้ป่วยโควิด และวอร์ดผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง โดยหุ่นยนต์จะสามารถดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดที่ข้างเตียง มีหน้าจอเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วย แพทย์และพยาบาลสามารถวีดีโอคอลซักถามอาการของผู้ป่วยได้ตลอดเวลา หุ่นยนต์สามารถแจ้งเตือนการรับประทานยา สนทนาโต้ตอบกับคนไข้ ให้ความเพลิดเพลิน และให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยได้ เพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่และป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  3.  หุ่นยนต์ดินสอ Lite Arm รุ่น 4 จำนวน 2 ชุด ประจำ ณ หอผู้ป่วยโควิด และหอผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง โดยหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ตามแผนที่พื้นที่และเตียงผู้ป่วยที่ได้ลงโปรแกรมไว้ สามารถช่วยแพทย์และพยาบาลในการนำส่ง อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ไปให้ผู้ป่วย มีหน้าจอให้แพทย์และพยาบาลพูดคุยและอธิบายการรักษากับคนไข้ รวมถึงสามารถพูดคุยและโต้ตอบง่าย ๆ กับผู้ป่วยได้ เพื่อลดความเครียดของผู้ป่วย ลดภาระของแพทย์และพยาบาล และเพิ่มความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างตรงจุด

             ผลลัพธ์จากโครงการถือเป็นอีกก้าวของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยพัฒนางานด้านการบริการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงสถานการณ์โควิด ช่วยลดอัตราการติดเชื้อ ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่และบุคลากรการแพทย์ ลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองในการป้องกันโรค สร้างความมั่นใจและความพึงพอใจต่อผู้มารับบริการ เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนที่ช่วยผลักดันให้คนไทยก้าวพ้นวิกฤตโควิด – 19 ได้อย่างยั่งยืน

ShareTweetShare
Previous Post

สวทช. -พันธมิตร คิดวิธีสกัดสารพันธุกรรมเชื้อโควิด จากตัวอย่างแบบง่าย สำเร็จ!

Next Post

ม.มหิดล – ม.ลอนดอน คิดค้นและพัฒนา “LangArchive-TH” คลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

7 months ago
42
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

7 months ago
26
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

7 months ago
101
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

7 months ago
56
Load More
Next Post
ม.มหิดล – ม.ลอนดอน คิดค้นและพัฒนา “LangArchive-TH” คลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย

ม.มหิดล – ม.ลอนดอน คิดค้นและพัฒนา “LangArchive-TH” คลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย

นวัตกรรมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคโควิดใน 1 นาที ฝีมือคนไทย การันตรีสิทธิบัตรระดับชาติ

นวัตกรรมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคโควิดใน 1 นาที ฝีมือคนไทย การันตรีสิทธิบัตรระดับชาติ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
160

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
56

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
29

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
30
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.