mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
นวัตกรรม “เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน” ย่อยสลายขยะใน 48 ชม.

นวัตกรรม “เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน” ย่อยสลายขยะใน 48 ชม.

0

               สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดแถลงข่าว “NRCT talk : เปิดบ้านการวิจัย By NRCT” เปิดตัว รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 รางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ผลงาน “เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ” ของ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ แห่ง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยต้นทุนการจัดการต่ำ หนุนชุมชนมีส่วนร่วม สร้างสุขลักษณะที่เป็นมิตร

               ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า กิจกรรม NRCT talk ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 10 เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงาน ภายใต้บทบาทของ วช. ในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ ยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า เพื่อสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้นักวิจัย นักประดิษฐ์ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ผลักดันไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

              โดยในปี 2564 นี้ วช. ได้มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประเภทผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาสังคมวิทยา ให้กับสิ่งประดิษฐ์ “เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม” ของ ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ แห่งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการลดปัญหาขยะ และการปนเปื้อนขยะอินทรีย์กับขยะประเภทอื่นๆ อันเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ช่วยให้ปัญหาการจัดการขยะในชุมชนได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี นับเป็นผลงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือนำไปใช้ในทางอื่นได้ สร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศให้ยั่งยืน

              ด้าน ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า ปริมาณขยะอินทรีย์ ในประเทศไทยมีมากกว่า 40 ตัน ต่อวันในอดีต การกำจัดขยะอินทรีย์ในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผัก จะใช้วิธีการฝังกลบ หรือสร้างถังหมักขยะอินทรีย์ ซึ่งทั้งสองวิธีต้องใช้ระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขลักษณะ ทัศนวิสัย นักวิจัยจึงประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาขยะในครัวเรือนที่ส่งกลิ่นเหม็น และยากต่อการกำจัด โดยสามารถกำจัดขยะอินทรีย์ได้เร็ว ในเวลา 48 ชั่วโมง มีราคาเพียงหลักพัน จากปกติหลักหมื่นบาท มีกรรมวิธีที่เหมาะสม ประหยัดเวลา และพื้นที่ในการจัดการ สามารถลดปัญหาการจัดการขยะที่ต้นทาง ขยะอินทรีย์จึงปนเปื้อนน้อยลง ลดภาระการจัดการของส่วนกลาง ทำให้กระบวนการการคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้รับการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีโดยส่งเสริมให้รับผิดชอบร่วมกัน ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

 

              “หากมีการนำเครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม จะสามารถลดปริมาณขยะโดยรวม กว่า 60% ลงได้ หรือคิดเป็นงบประมาณกว่า 64 ล้านบาทในแต่ละวัน จากการจัดการขยะอินทรีย์ นอกจากนี้ขยะประเภทอื่นๆ ที่ไม่ปนเปื้อนกับขยะอินทรีย์ก็ยังสามารถนำไปใช้งานใหม่ หรือใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ได้ ตัวเครื่องผ่านการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรแล้ว ขณะนี้ ได้นำไปใช้ประโยชน์ตามหน่วยงาน ผู้ประกอบการ และกลุ่มบุคคลต่างๆ รวม 100 กว่าเครื่อง พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้หน่วยงานและชุมชน อาทิ วัด โรงเรียน โรงไฟฟ้า เพื่อให้คนไทยหันมาตระหนักถึงการจัดการขยะมากยิ่งขึ้น ตอนนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ร่วมกับ บริษัท เอ็นไวสมาร์ทเทค จำกัด โดยได้รับการสนับสนุนทุน Pre-Seed จากมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์” ดร.นรินทร์ กล่าว

             เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นระบบอัตโนมัติ ที่สามารถเติมขยะเข้าไปได้ตลอดทุกวัน มีการใช้วงจรไฟฟ้าขนาดเล็กในการทำงาน แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ค่าใช้จ่ายต่ำ ประมาณ 2 บาทต่อวัน และตัวเครื่องมีขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณขยะอินทรีย์จากครัวเรือน วัสดุหาได้ง่าย และกลไกการทำงานไม่ซับซ้อน อาศัยหลักการของการย่อยสลายสารอินทรีย์ทั่วไป โดยอาศัย สารอินทรีย์ (เศษอาหาร) จุลินทรีย์ และออกซิเจน โดยจุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจน ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าวจะมีข้อจำกัด ที่ทำให้ระบบการย่อยสลายส่งกลิ่นเหม็น นักวิจัยจึงปรับมาใช้วิธีการทำให้กระบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการให้เครื่องหมุนกวนส่วนผสมดังกล่าวตลอดเวลา พร้อมกับเติมอากาศเข้าไปในระบบอย่างเพียงพอต่อความต้องการของจุลินทรีย์ ทำให้ความร้อนระบายออกจากระบบ การย่อยสลายก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คงที่ และสมบูรณ์ภายในเวลาเพียง 48 ชั่วโมง โดยไม่เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดยหลังจากใช้เครื่องกำจัดขยะอินทรีย์แล้ว ส่วนที่เหลือจากกระบวนการ สามารถนำไปใช้ทดแทนปุ๋ยอินทรีย์ได้อีกด้วย

Share1Tweet1Share
Previous Post

แอปฯ “ฟ้าฝน” ช่วยเกษตรกรวางแผนการเพาะปลูก รู้สภาพอากาศล่วงหน้า 7 วัน

Next Post

นวัตกรรม “Squeezium – Rehabit” อุปกรณ์เกมจูงใจสูงวัยออกกำลังกาย

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

4 months ago
30
นวัตกรรมด้านพลังงาน

นวัตกรรมดัดแปลงเครื่องยนต์รถเก่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาระยะยาว

4 months ago
37
แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

แมงกานีสเซ็นส์ (Mn Sense) ชุดตรวจไอออนแมงกานีสปนเปื้อนในแหล่งน้ำ นวัตกรรมนาโนเทคตอบโจทย์อุตสาหกรรมชุดตรวจ

4 months ago
19
วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล
นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

วว. จับมือ พันธมิตร ใช้นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะชุมชน สร้างศูนย์ต้นแบบคัดแยกและแปรรูปวัสดุรีไซเคิล

5 months ago
29
Load More
Next Post
นวัตกรรม “Squeezium – Rehabit” อุปกรณ์เกมจูงใจสูงวัยออกกำลังกาย

นวัตกรรม “Squeezium – Rehabit” อุปกรณ์เกมจูงใจสูงวัยออกกำลังกาย

นวัตกรรม “กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ” ลดสูญเสียยาเหลือใช้ – เตือนผู้ป่วยสูงวัยไม่ลืมกินยา

นวัตกรรม “กระเป๋าคืนยาช่วยชาติ” ลดสูญเสียยาเหลือใช้ – เตือนผู้ป่วยสูงวัยไม่ลืมกินยา

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    64 shares
    Share 26 Tweet 16
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    61 shares
    Share 24 Tweet 15
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    57 shares
    Share 23 Tweet 14
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    54 shares
    Share 22 Tweet 14
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    51 shares
    Share 20 Tweet 13

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
99

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
33

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
24

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
30

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
20
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.