mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC | ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย
No Result
View All Result
สวทช.-สพฐ.-สถ. พัฒนาแพลตฟอร์มด้านภาวะโภชนาการของนักเรียนและอาหารกลางวันในโรงเรียนทั่วประเทศ

สวทช.-สพฐ.-สถ. พัฒนาแพลตฟอร์มด้านภาวะโภชนาการของนักเรียนและอาหารกลางวันในโรงเรียนทั่วประเทศ

0

              กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลด้านภาวะโภชนาการของนักเรียนและอาหารกลางวันในโรงเรียนเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตั้งเป้าหมายบูรณาการข้อมูล และพัฒนาแพลตฟอร์ม Big Data Analytics ด้านภาวะโภชนาการของนักเรียนและอาหารกลางวันในโรงเรียนทั่วประเทศ ให้หน่วยงานพันธมิตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีฐานข้อมูลภาวะโภชนาการที่มีคุณภาพ ครอบคลุมประชากรเด็กปฐมวัยและวัยเรียนโดยอ้างอิงเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน เพื่อสนับสนุนการวางแผนนโยบายด้านอาหารในโรงเรียนและสุขภาพนักเรียน นำไปสู่การบริหารจัดการให้เด็กไทยมีสุขภาวะที่ดี

              นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะพัฒนาแพลตฟอร์ม  Big Data Analytics ด้านภาวะโภชนาการของนักเรียนและอาหารกลางวันในโรงเรียน โดยเชื่อมโยง ข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนรายบุคคลจากต้นสังกัดและจาก KidDiary Platform ร่วมกับข้อมูลการจัดอาหารกลางวันจากระบบ Thai School Lunch เนคเทคจะนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรอง ติดตามและแจ้งเตือนเมื่อพบเด็กที่มีความเสี่ยง และส่งผลการวิเคราะห์กลับไปยังต้นสังกัด โดยจะเปิดให้บุคคลทั่วไปและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลการวิเคราะห์อาหารกลางวันและภาพรวมภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำมาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับอย่างยั่งยืน

              นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการเสริมสร้างสุขภาพของเด็กและการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของการจัดการศึกษา  ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการจัดบริการอาหารกลางวันที่เป็นอาหาร มื้อสำคัญสำหรับเด็กวัยเรียนภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 29,642 โรงเรียน  มีจำนวนนักเรียนรวม 6,612,199 คน ด้วยเมนูอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ อีกทั้งนำระบบแนะนำสำรับอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ (Thai School Lunch) มาใช้ในสถานศึกษา นอกจากนี้ยังได้เชื่อมโยงระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับโปรแกรมบันทึกและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กสำหรับโรงเรียน (KidDiary School) เพื่อการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและสามารถจัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าครบถ้วน ครอบคลุม ตามหลักโภชนาการ มีความเหมาะสมกับสุขภาวะของเด็ก ซึ่งจะมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ ทำให้ผู้ปกครองและครอบครัวสามารถเข้าถึงข้อมูลทางโภชนาการและพัฒนาการของบุตรหลานเพื่อร่วมกันดูแลพัฒนาสุขภาพของเยาวชนต่อไป

             นายประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กล่าวว่า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดการศึกษา มีความตระหนักอย่างยิ่งที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในการเสริมสร้างสุขภาพของเด็กให้สอดคล้องกับการพัฒนาการเรียนรู้ โดยได้ส่งเสริมให้สถานศึกษาในสังกัด ให้ความสําคัญกับการจัดอาหารกลางวัน ที่เป็นอาหารมื้อสําคัญสําหรับเด็กวัยเรียน ด้วยเมนูอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ และสามารถเข้าถึงข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการของเด็ก โดยใช้โปรแกรมบันทึกและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กสําหรับโรงเรียน (KidDiary School) เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและจัดอาหารกลางวันให้เหมาะสมกับสุขภาวะของเด็ก นําระบบแนะนําสํารับอาหารกลางวันสําหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ (Thai School Lunch) ซึ่งเป็นโปรแกรมความร่วมมือระหว่างเนคเทคและสถาบันโภชนาการมาใช้ในสถานศึกษา เพื่อให้การจัดอาหารกลางวันมีความครอบคลุมทั้งหลักโภชนาการ และคุณค่าทางโภชนาการ และจะมีการเชื่อมโยงระบบดังกล่าวกับฐานข้อมูลรายบุคคลของเด็กเล็กและนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น (LEC) เพื่อให้ผู้ปกครองและครอบครัว สามารถเข้าถึงข้อมูลทางโภชนาการและพัฒนาการของบุตรหลานได้

ShareTweetShare
Previous Post

“ล็อกซซิม” ชูนวัตกรรม “เครื่องฝึกจำลองแทรกเตอร์เสมือนจริง” ช่วยพัฒนาทักษะ พลิกวิกฤตปูทางสู่อาชีพเกษตรกรรม

Next Post

วช. ร่วมกับ ม.มหิดล พัฒนาอาหารเสริมผู้สูงอายุ ให้คุณค่าสูงทางอาหารและช่วยป้องกันการสำลัก

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

10 months ago
58
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

10 months ago
32
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

10 months ago
127
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

10 months ago
62
Load More
Next Post
วช. ร่วมกับ ม.มหิดล พัฒนาอาหารเสริมผู้สูงอายุ ให้คุณค่าสูงทางอาหารและช่วยป้องกันการสำลัก

วช. ร่วมกับ ม.มหิดล พัฒนาอาหารเสริมผู้สูงอายุ ให้คุณค่าสูงทางอาหารและช่วยป้องกันการสำลัก

“ออคิเดเตอร์” แอปพลิเคชันจำแนกสายพันธุ์กล้วยไม้ มีความแม่นยำถึงร้อยละ 95

"ออคิเดเตอร์" แอปพลิเคชันจำแนกสายพันธุ์กล้วยไม้ มีความแม่นยำถึงร้อยละ 95

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    100 shares
    Share 40 Tweet 25
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    82 shares
    Share 33 Tweet 21
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    79 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    73 shares
    Share 29 Tweet 18
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    72 shares
    Share 29 Tweet 18

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
196

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
80

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
40

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
54

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
48
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.