mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
มจธ.-รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ตรียมพัฒนา “คลังเวชภัณฑ์อัจฉริยะแบบครบวงจร” แก้ปัญหาเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยโควิดขาดสต๊อก

มจธ.-รพ.ธรรมศาสตร์ฯ ตรียมพัฒนา “คลังเวชภัณฑ์อัจฉริยะแบบครบวงจร” แก้ปัญหาเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยโควิดขาดสต๊อก

0

              ศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ (Login) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เตรียมพัฒนาคลังเวชภัณฑ์อัจฉริยะแบบครบวงจร (Smart Medical Supplies) เพื่อแก้ปัญหาเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เช่น ชุด PPE, หน้ากาก N95 ฯลฯ ขาดสต๊อก ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โดยนำนวัตกรรมโลจิสติกส์ และกลุ่มเทคโนโลยีของ IoT มาออกแบบให้คลังเวชภัณฑ์ทำงานอัตโนมัติ, สร้างระบบเก็บ-รับ-ส่ง-ประมวล-แสดงผลข้อมูลการเข้า-ออก และตำแหน่งปัจจุบันของเวชภัณฑ์แต่ละชนิดอย่างละเอียด เรียลไทม์ ในรูปแบบดิจิทัล ทำให้โรงพยาบาลสามารถวางแผนและจัดเตรียมเวชภัณฑ์ให้เพียงพอต่อการใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ

            ผศ.ดร.กานดา บุญโสธรสถิตย์ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มจธ. และหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาคลังเวชภัณฑ์อัจฉริยะฯ กล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล โดยเฉพาะชุด PPE, หน้ากาก N95 และเวชภัณฑ์อื่นๆ ที่มีกว่า 130 ชนิด (SKU) ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีไม่เพียงพอ หรือ ขาดสต๊อก มาจากปัญหาข้อมูลเวชภัณฑ์ในระบบไม่อัปเดต เพราะต้องใช้แรงงานคนในการติดตามการใช้งานและนับสต็อก ก่อนการคีย์ข้อมูลเข้าระบบจำนวนมาก ใช้เวลานาน และไม่สามารถอัปเดตได้ตลอดเวลา ข้อมูลปริมาณการใช้งานและจำนวนคงเหลือที่มีอยู่ในระบบจึงไม่สะท้อนความจริง ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถจัดสรรจำนวนเวชภัณฑ์ให้โรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม รวมถึงประชาชนที่ต้องการบริจาคเวชภัณฑ์เพื่อช่วยสนับสนุนการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ก็ไม่สามารถบริจาคได้ตามความขาดแคลนที่แท้จริง นี่จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาคลังเวชภัณฑ์อัจฉริยะ ที่เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้

             “เรานำนวัตกรรมโลจิสติกส์มาพัฒนาคลังเวชภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัยขึ้น โดยอัปเกรดอุปกรณ์ในคลัง เช่น รถเข็น, ตะกร้า, กล่องรักษา-ควบคุมอุณหภูมิ, ชั้นวางของ, ตู้แช่เย็น ด้วยกลุ่มเทคโนโลยี IoT ได้แก่ เทคโนโลยี RFID ที่ติดตั้งแท็กบนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ ทำให้สามารถรับและส่งข้อมูลเวชภัณฑ์ได้อัตโนมัติ เช่น ประเภทของเวชภัณฑ์ หมายเลขล็อตหรือแบ็ทช์, สถานที่ผลิต, วันผลิต, วันหมดอายุ, ตำแหน่งการวางและหยิบเวชภัณฑ์ในคลัง เป็นต้น ทดแทนการใช้คนจดบันทึกและคีย์ข้อมูลเข้าระบบ โดยโรงพยาบาลสามารถนำไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล (Hospital Information System: HIS) สำหรับการจัดการเวชภัณฑ์คงคลัง ด้วย Economic Order Quantity (EOQ) เพื่อมาคำนวณว่า ควรสั่งเวชภัณฑ์แต่ละประเภทปริมาณเท่าใด และเมื่อไหร่ ทั้งนี้ ข้อมูลเวชภัณฑ์จะอัปเดตทันทีเมื่อมีการนำเวชภัณฑ์เข้าและออกจากคลัง ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถเช็คข้อมูลสต๊อกได้ถูกต้อง ตรงกัน และสั่งเวชภัณฑ์ได้ทันเวลา” ผศ.ดร.กานดา กล่าวเพิ่มเติม

             โดย ทีมวิจัยฯ เลือกใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสาน เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งาน แก้ปัญหาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ กำลังเผชิญ ด้วยงบประมาณที่สมเหตุสมผล เช่น การบันทึกปริมาณการใช้เวชภัณฑ์ สามารถเลือกใช้การติดตั้งตราชั่ง หรือ โหลดเซลล์ บนอุปกรณ์ ร่วมกับแท็ก RFID บนชั้นวางสำหรับเวชภัณฑ์ราคาสูงและ/หรือมีขนาดเล็ก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาแพง ส่วนเวชภัณฑ์อื่นๆ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดหรือบาร์โค้ด ซึ่งมีราคาย่อมเยากว่าได้

             ด้าน รศ.นพ. พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างคลังเวชภัณฑ์ใหญ่ กับคลังย่อยของวอร์ดต่างๆในโรงพยาบาลยังไม่เชื่อมต่อกัน ทำให้การตรวจสอบปริมาณที่แท้จริงของเวชภัณฑ์แต่ละชนิดที่มีและใช้อยู่เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด-19 เวชภัณฑ์อย่างชุด PPE, หน้ากาก N95 เป็นเวชภัณฑ์ป้องกันที่จำเป็นและขาดไม่ได้ การพัฒนาคลังเวชภัณฑ์อัจฉริยะ จะเข้ามาช่วยให้การบริหารจัดการเวชภัณฑ์ทั้งระบบดีขึ้น ทำให้รับรู้ปริมาณของที่มีถูกต้อง และช่วงเวลาที่ควรสั่งซื้อ จนถึงความเหมาะสมในการนำเวชภัณฑ์แต่ละชนิดไปใช้ ซึ่งหากระบบนี้สำเร็จจะช่วยป้องกันปัญหาเวชภัณฑ์ขาดแคลนได้ เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการรักษาผู้ป่วย และการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์

           “นอกจากประโยชน์โดยตรงต่อการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของโรงพยาบาล คลังอัจฉริยะยังส่งผลดีต่อการบริหารจัดการภายในโรงพยาบาล ช่วยลดภาระงานของบุคลากรในงานด้านข้อมูล หมดปัญหาเวชภัณฑ์หมดอายุ เพราะมีการบันทึกวันเข้าและวันออกจากคลังแบบเรียลไทม์ ขณะเดียวกันก็ยังเชื่อมโยงสู่ระบบโลจิสติกส์ เพราะภายในโรงพยาบาลจะมีคลังย่อยต่างๆ แต่การบริหารจัดการแบบภาครัฐ จะให้ความสำคัญกับคลังใหญ่เป็นหลัก มีการเช็คข้อมูลสต๊อก ของเข้าและออกในคลังใหญ่ แต่ยังไม่มีระบบจัดการข้อมูลในคลังย่อย หากเป็นไปได้ก็อยากเห็นทุกโรงพยาบาลในประเทศไทยมีระบบคลังอัจฉริยะที่เชื่อมโยงข้อมูลไปถึงคลังย่อยแบบครบวงจร สามารถดูภาพรวมของที่มีอยู่ในโรงพยาบาลได้ทั้งหมด จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน” รศ.นพ. พฤหัส กล่าวเพิ่มเติม

             โครงการพัฒนาคลังเวชภัณฑ์อัจฉริยะ เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และบริษัททำน้อยได้มากจำกัด ผู้ให้บริการด้านระบบการจัดการคลังสินค้า และผู้ให้คำปรึกษาด้านลีน ที่มาร่วมกันพัฒนาคลังเวชภัณฑ์เพื่อรองรับการทำงานของโรงพยาบาลต่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยขณะนี้ยังอยู่ในช่วงหาทุนสนับสนุนวิจัย เมื่อได้รับทุนแล้วก็พร้อมลงมือพัฒนาคลังเวชภัณฑ์อัจฉริยะได้ทันที

ShareTweetShare
Previous Post

จุฬาฯ วิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลและกรดอะมิโนในก้านทุเรียน เล็งพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดทุเรียนสุก

Next Post

ไบโอเทค พัฒนาชุดตรวจ “COVYD-19 Ab test kit (ELISA)” ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด รวดเร็ว แม่นยำ ราคาถูกกว่าการนำเข้า

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

7 months ago
42
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

7 months ago
26
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

7 months ago
101
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

7 months ago
56
Load More
Next Post
ไบโอเทค พัฒนาชุดตรวจ “COVYD-19 Ab test kit (ELISA)” ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด รวดเร็ว แม่นยำ ราคาถูกกว่าการนำเข้า

ไบโอเทค พัฒนาชุดตรวจ “COVYD-19 Ab test kit (ELISA)” ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด รวดเร็ว แม่นยำ ราคาถูกกว่าการนำเข้า

ม.อุบลฯ โชว์นวัตกรรม “ชุดตรวจแมกนีเซียมภาคสนามในน้ำยางพารา” ตรวจได้เองไม่ต้องพึ่งห้องแล็บ

ม.อุบลฯ โชว์นวัตกรรม “ชุดตรวจแมกนีเซียมภาคสนามในน้ำยางพารา” ตรวจได้เองไม่ต้องพึ่งห้องแล็บ

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
160

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
56

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
29

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
30
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.