mailto:ads@thaiinnovation.center mailto:ads@thaiinnovation.center
THAI INNOVATION CENTER
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    AIS-ZTE ทดสอบ URLLC โชว์ความหน่วงต่ำ 1 มิลลิวินาทีบนเครือข่าย 5G คลื่น 2.6 GHz รายแรกในไทย

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    “อินเทล” ชวนปลดล็อก 4 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ 5G

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    AIS พัฒนาความเร็วของ “5G mmWave” ได้ถึงระดับความเร็วที่ 4 Gbps รายแรกในไทย

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    Ericsson พัฒนาโครงข่าย 5G ให้กับ DTAC

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G NR Physical Cell ID (PCI)

    5G Network Slicing

    5G Network Slicing

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    5G กับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลักของเทคโนโลยี 5G (KPI)

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ส่วนประกอบสำหรับมือถือที่รองรับ 5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

    ในประเทศไทยใช้คลื่นอะไรบ้างสำหรับ5G

  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
TIC
No Result
View All Result
จุฬาฯ เปิดตัว “นวัตกรรมเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ” ประหยัดวัคซีน ช่วยแบ่งเบาภาระบุคลากรแพทย์

จุฬาฯ เปิดตัว “นวัตกรรมเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ” ประหยัดวัคซีน ช่วยแบ่งเบาภาระบุคลากรแพทย์

0

            ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล  รองอธิการบดี จุฬาฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดบริการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 จุฬาฯ (CU VP) ผศ.ดร.จุฑามาศ  รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.ศรันย์ กีรติหัตถยากร สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯร่วมงานเปิดตัวนวัตกรรม”เครื่องแบ่งวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ” (Automate Vaccine) ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชนพัฒนาขึ้น ซึ่งมีการนำมาใช้จริงแล้วที่ศูนย์บริการวัคซีน จุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 

            ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่าปัญหาในการฉีดวัคซีนที่เกิดขึ้นมีอยู่สองประเด็น คือ เรื่องความละเอียดถี่ถ้วนในการฉีดวัคซีน โดยใช้ปริมาณวัคซีนที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันต้องใช้แรงงานคนในการแบ่งบรรจุวัคซีน การนำเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัตินี้เข้ามาใช้จะเป็นประโยชน์ในเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย และอีกประเด็นคือเรื่องของความจำกัดของปริมาณวัคซีนที่กระจายสู่ประชาชน หากเราสามารถแบ่งบรรจุวัคซีนได้แม่นยำ ก็จะช่วยประหยัดวัคซีน ทำให้ไม่เสียเปล่า เป็นการใช้วัคซีนให้คุ้มค่าที่สุด

            ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทางคณะฯ ได้รับโจทย์โดยตรงจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เล็งเห็นปัญหาของการแบ่งบรรจุวัคซีนแอสตราเซเนกาซึ่งเป็นวัคซีนที่บรรจุมาในแบบหลายโดสใน 1 ขวด (multiple dose) โดย 1 ขวด บรรจุ 13 โดส สามารถแบ่งฉีดได้ 10 โดส ซึ่งการดูดวัคซีนขึ้นมาแบ่งบรรจุโดยบุคลากรทางการแพทย์  แต่ละรอบจะมีการสูญเสียวัคซีนเกิดขึ้น หากมีวิธีที่จะรักษาโดสที่เกินมาในแต่ละขวดได้ ก็จะเป็นการเพิ่มจำนวนวัคซีนซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมากในขณะนี้ เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนดังกล่าวสามารถดูดวัคซีนออกจากขวดได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว และสามารถแบ่งบรรจุได้ถึงขวดละ 12 โดส ทำให้มีวัคซีนในการฉีดเพิ่มขึ้น 20% ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการแบ่งบรรจุวัคซีน

              ในการทำงานของเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่จะต้องเตรียมเข็มฉีดยาวางไว้บนแท่นจำนวน 12 หลอด จากนั้นนำขวดวัคซีนวางไว้ในจุดที่กำหนด เครื่องจะดูดวัคซีนออกมาจนหมดขวดโดยใช้หัวดูดสุญญากาศ โดยใช้หลักการดูดของเหลว พร้อม Air Cushion ทำให้วัคซีนไม่สัมผัสกับหัวดูดโดยตรง จากนั้นจะเคลื่อนไปแบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาตามจำนวนที่กำหนด คือ 0.5 มิลลิลิตรเท่ากันทั้ง 12 หลอด ตัวเครื่องทำงานแบบสายพาน ทำให้แบ่งบรรจุวัคซีนลงหลอดฉีดยาอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 4 นาทีเท่านั้น จากนั้นปิดหลอดด้วยเข็มฉีดยา และนำมาเก็บใส่ถาดบรรจุวัคซีนเพื่อนำไปใช้ฉีดต่อไป

            นอกจากนี้ นวัตกรรมเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแบ่งบรรจุวัคซีนทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นประเภทหลายโดสใน 1 ขวดได้ด้วยเช่นกัน 

ที่มา : Chula News

ShareTweetShare
Previous Post

สวทช. หนุน ม.อ. วิทยาเขตภูเก็ต วิจัยแปรรูปเพิ่มมูลค่า “เปลือกจักจั่นทะเล” สู่ “อาหารเลี้ยงปลาช่อนทะเล”

Next Post

ไบโอเทค สวทช. พัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 แบบพ่นจมูก

Wanwisa Chanpraprai

Wanwisa Chanpraprai

Related Posts

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

จุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรม “ถุงมือพาร์กินสันลดสั่น” ลดอาการมือสั่นได้โดยอัตโนมัติ

7 months ago
42
นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรมคัดกรองมวลกระดูกแบบพกพา เครื่องแรกของโลก ฝีมือนักวิจัย มจธ. และ ม.คานาซาวา

7 months ago
26
นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม “โมเลกุลมณีแดง” ต้านเซลล์ชราพร้อมทดสอบในคนปีนี้

7 months ago
101
นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
นวัตกรรมด้านสุขภาพ

นวัตกรรม AICute ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต

7 months ago
56
Load More
Next Post
ไบโอเทค สวทช. พัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 แบบพ่นจมูก

ไบโอเทค สวทช. พัฒนาวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 แบบพ่นจมูก

วว. สร้างศูนย์เรียนรู้จัดการ PPE ใช้แล้วและขยะปลอดเชื้อจากโควิด-19 ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

วว. สร้างศูนย์เรียนรู้จัดการ PPE ใช้แล้วและขยะปลอดเชื้อจากโควิด-19 ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

Discussion about this post

Popular Post

  • Z-SIZE LADIES

    Z-SIZE LADIES II: BMI TIMELINE & โปรแกรมจําลองรูปร่างของสตรี แบบ 3 มิติ

    80 shares
    Share 32 Tweet 20
  • Thai School Lunch ระบบแนะนำเมนูอาหารเที่ยงสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ

    66 shares
    Share 26 Tweet 17
  • 15 คำศัพท์เทคโนโลยี 2020 ! TECH BUZZWORDS

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • รู้หรือยัง iPhone ก็มี Code ลับ สำหรับดูสัญญาณโทรศัพท์

    65 shares
    Share 26 Tweet 16
  • ความแตกต่างของ Stand Alone และ Non-Standalone 5G

    61 shares
    Share 24 Tweet 15

Browse by Tag

Innovation นวัตกรรมการเกษตร

ระบบตรวจจับ และแจ้งเตือนช้างป่า “ดูแล”

May 25, 2023
160

เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมตรวจวิเคราะห์กลิ่นดิจิทัลฝีมือคนไทย

February 23, 2023
56

ชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำ นวัตกรรมเพื่อเกษตรยั่งยืนและปลอดภัย

February 22, 2023
29

SCG จับมือ SC ดันนวัตกรรมเติมอากาศดีให้บ้าน ผลักดันยอดขาย 100 ล้านบาท

February 22, 2023
42

นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์

February 21, 2023
30
No Result
View All Result
  • HOME
  • ข่าวเทคโนโลยี
  • นวัตกรรมโดยคนไทย
    • นวัตกรรมอุตสหกรรม
    • นวัตกรรมพลังงาน
    • นวัตกรรมด้านเกษตร
    • นวัตกรรมด้านสุขภาพ
    • นวัตกรรมด้านขนส่ง
    • นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
  • 5G ในประเทศไทย
  • ติดต่อเรา

© 2020 TIC - ศูนย์รวมนวัตกรรมคนไทยเพื่อคนไทย by Thai innovation TIC.